ข่าว

เห็นกันไหม ลำแสงปริศนา ทางฟ้าตะวันตก สมาคมดาราศาสตร์ไทย ยังไม่ชัดสาเหตุ เร่งตรวจสอบ

สมาคมดาราศาสตร์ไทยเร่งตรวจสอบ ลำแสงสว่างบนท้องฟ้าไทย เบื้องต้นคาดเป็นจรวดจีน แต่เวลาไม่สอดคล้องกัน

เกิดปรากฏการณ์ที่สร้างความฮือฮาในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เมื่อช่วงหัวค่ำของวันที่ 16 ธันวาคม มีผู้คนบางส่วนรายงานการพบเห็นลำแสงสว่างบนท้องฟ้าทางทิศตะวันตก ทำให้เกิดกระแสความสนใจ ข้อสงสัยในวงกว้างเกิดจากอะไร เป็นอุกกาบาตตกหรือไม่

Advertisements

ด้านเพจเฟซบุ๊ก สมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้ออกมาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว โดยโพสต์ข้อความเพื่อแจ้งให้ทราบว่ากำลังเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงของปรากฏการณ์ดังกล่าว

ระบุว่า “ด่วน เมื่อช่วงหัวค่ำ มีผู้สังเกตเห็นลำแสงสว่าง ทางฟ้าตะวันตก มีท่านใดพบเห็นกรุณาแจ้งในโพสต์นี้ครับ เบื้องต้นคาดว่าเป็นจรวด Long March 5 Y6 ของจีน” พร้อมกันนี้ ทางสมาคมฯ ยังได้ขอบคุณคุณสมชาย คำมี ที่บันทึกภาพปรากฏการณ์ดังกล่าวไว้ได้

อย่างไรก็ตาม สมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจว่า “สมาคมกำลังเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงครับ เพราะเวลาที่พบเห็นในไทย (ราว 19:00) ต่างจากที่จรวด Long March 5 Y6 ขึ้นจากฐาน (17:00) นานถึง 2 ชม” ซึ่งหมายความว่า เวลาที่พบเห็นลำแสงในประเทศไทยนั้น คลาดเคลื่อนจากเวลาที่จรวด Long March 5 Y6 ของจีนถูกปล่อยขึ้นจากฐานถึง 2 ชั่วโมง ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าลำแสงดังกล่าวเป็นจรวดจริงหรือไม่ หรืออาจเป็นปรากฏการณ์อื่น

ทีมข่าว thaiger สันนิษฐานได้ 2 กรณี 1. อาจเป็น จรวด Long March 5 Y6 จริงๆ แม้เวลาจะคลาดเคลื่อน แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ลำแสงดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของจรวดที่แยกตัวออกมา หรือเศษซากที่ตกลงสู่ชั้นบรรยากาศ 2. ปรากฏการณ์อื่น เนื่องจากเวลาที่คลาดเคลื่อน อาจเป็นไปได้ว่าลำแสงที่พบเห็นนั้นเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ดาวตก หรือปรากฏการณ์ทางแสงอื่นๆ ในชั้นบรรยากาศ

Advertisements

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button