ข่าวต่างประเทศ

หมอเตือน อาหารค้างคืน 4 ชนิด ห้ามกิน ทำลายไต เสี่ยงมะเร็ง ทิ้งลงถังขยะไปเลย

ใครชอบทานอาหารเหลือระวังให้ดี หมอเตือนแล้ว อาหารค้างคืน 4 อย่างนี้ไม่ควรกิน ทำลายไต แถมเสี่ยงเป็นมะเร็งอีกต่างหาก

หลายคนมักจะเก็บอาหารที่เหลือไว้ในตู้เย็น แต่นักโภชนาการเตือนว่ามีอาหารค้างคืน 4 ประเภทที่ไม่ควรกินเด็ดขาด มิฉะนั้นอาจส่งผลเสียต่อหัวใจ ไต หรืออาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ นักโภชนาการท่านนี้ยังได้แนะนำวิธีการเก็บรักษาอาหารค้างคืนที่ถูกต้องและปลอดภัยอีกด้วย

Advertisements

นักโภชนาการจากจีนแผ่นดินใหญ่ กู้ชวนหลิง ได้โพสต์วิดีโอเตือนว่าอาหารค้างคืน 4 ประเภทที่ไม่ควรกินเด็ดขาด นั่นก็คือ อาหารค้างคืนที่ไม่ได้เก็บในภาชนะปิดสนิท, ผักใบเขียวที่มีไนเตรทสูง, อาหารที่แช่เย็นค้างคืนเกิน 2 คืน และ อาหารค้างคืนที่อุ่นไม่ร้อนทั่วถึง

อาหารค้างคืนที่ไม่ได้เก็บในภาชนะปิดสนิท

กู้ชวนหลิงอธิบายว่า ผลไม้อย่างแตงโม และอาหารที่ปรุงแบบเย็น ไม่เหมาะที่จะนำมาอุ่นกิน ถ้าเก็บในตู้เย็นโดยไม่ห่อด้วยพลาสติกแรปให้มิดชิด อาจเกิดการปนเปื้อนข้ามกับแบคทีเรียในตู้เย็น ซึ่งทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ง่าย

เธอเล่าว่า พอถึงหน้าร้อนทีไร มักจะมีคนเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการกระเพาะลำไส้อักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย จากการกินแตงโมค้างคืน เธอจึงแนะนำ “วิธีที่ถูกต้อง” คือ ก่อนหั่นแตงโมให้ล้างผลให้สะอาดก่อน ใช้มีดและเขียงที่สะอาด ส่วนที่ยังไม่กินให้ห่อด้วยพลาสติกแรปทันทีแล้วแช่ตู้เย็น โดยต้องแยกเก็บจากเนื้อสดและผักสด และควรกินภายในวันรุ่งขึ้น

Advertisements

ผักใบเขียวที่มีไนเตรทสูง

กู้ชวนหลิงยกตัวอย่างผักปวยเล้ง โดยอ้างถึงผลการทดลองว่า หลังจากลวกผักปวยเล้งแล้วแช่เย็นไว้ 16 ชั่วโมง ปริมาณไนไตรท์จะเกินมาตรฐาน และถ้าเป็นผักที่เหลือจากการคีบด้วยตะเกียบ ระดับไนไตรท์จะยิ่งเกินมาตรฐานหนักกว่าเดิม ดังนั้น “ผักใบเขียว” จึงควรปรุงแล้วกินทันที

อาหารที่แช่เย็นค้างคืนเกิน 2 คืน

กู้ชวนหลิงกล่าวว่า ตู้เย็นไม่ใช่ตู้นิรภัย แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็น แบคทีเรียลิสทีเรียก็ยังสามารถเจริญเติบโตได้ และในสภาพที่ชื้นก็เหมาะกับการเจริญเติบโตของสารพิษอะฟลาทอกซิน ซึ่งถ้าเกิดมีสารพิษนี้แล้ว แม้จะอุ่นให้ร้อนทั่วถึงก็ไม่สามารถกำจัดมันออกได้ จึงแนะนำว่าอาหารที่แช่เย็นเมื่อวาน ควรกินให้หมดภายในวันรุ่งขึ้น

อาหารค้างคืนที่อุ่นไม่ร้อนทั่วถึง

กู้ชวนหลิงอธิบายว่า อาหารที่กินเหลือมักจะมีน้ำลายปนเปื้อนเยอะ ซึ่งมีแบคทีเรียอยู่มาก ถ้าอุ่นไม่ร้อนพอที่จะฆ่าเชื้อโรค ก็อาจทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ง่าย แล้ว “การอุ่นให้ร้อนทั่วถึง” ทำยังไง? เธอบอกว่า ต้องอุ่นอาหารให้ร้อนถึง 100 องศาเซลเซียส และต้องให้น้ำในอาหารเดือดต่อเนื่องอย่างน้อย 3 นาที ถึงจะถือว่าอุ่นได้ถูกต้อง

นอกจากนี้ กู้ชวนหลิงบอกว่า ถ้าทำอาหารแล้วเห็นว่าเยอะเกินจะกินไม่หมด อันดับแรกอย่าเพิ่งใช้ตะเกียบคีบอาหาร และไม่ควรวางทิ้งไว้ให้เย็นที่อุณหภูมิห้อง เพราะระหว่างที่อาหารค่อยๆ เย็นลงนั้น เชื้อจุลินทรีย์จะเจริญเติบโต

เธอเตือนว่า ควรรีบเก็บอาหารตอนที่ยังร้อนใส่กล่องที่ฆ่าเชื้อแล้ว ปิดฝาให้สนิทแล้วนำไปแช่ตู้เย็น และเมื่อจะกินในวันรุ่งขึ้น ต้องอุ่นให้ร้อนทั่วถึง ก็จะสามารถกินอาหารค้างคืนได้อย่างปลอดภัย

อ้างอิง : www.hk01.com

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Bas

ผู้สื่อข่าวกีฬา จบการศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีประสบการณ์เขียนข่าวกีฬากับ SMMSport กว่า 10 ปี เริ่มทำงานกับ Thaiger เมื่อ 2021 ชอบและติดตามกีฬามาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะฟุตบอลทั้งบอลไทย และต่างประเทศ 5 ลีกดังของโลก พร้อมอัปเดตข่าวสารวงการฟุตบอล แบบเข้าใจง่าย ให้เพื่อนๆและแฟนบอลได้ติดตามกันทุกวัน ช่องทางติดต่อ saral@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button