สุขภาพและการแพทย์

น้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล อันตรายกว่าที่คิด คนเข้าใจผิด กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน

นักโภชนาการออกมาเตือน สารให้ความหวานแทนน้ำตาล น้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล อันตรายแฝง ที่อาจไม่ได้ดีต่อสุขภาพอย่างที่หลายคนเข้าใจ

เรามักได้ยินคำเตือนว่าการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้อ้วน เสียงโรคเบาหวาน ทำให้หลายคนหันมาเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่เชื่อว่าดีต่อสุขภาพมากกว่า

Advertisements

อย่างไรก็ตาม แม้สารให้ความหวานจะมีแคลอรี่ต่ำกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยเสมอไป ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากมายที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ตั้งแต่ขนมหวาน น้ำอัดลมไดเอท ผลิตภัณฑ์นม ไปจนถึงเยลลี่

ซานดร้า โมนิโญ นักโภชนาการชาวสเปน กล่าวในพอดแคสต์ของเธอว่า “น้ำอัดลมหนึ่งกระป๋องมีน้ำตาลสูงถึง 40 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่น่าตกใจมาก” องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมดต่อวัน เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน

ซานดร้ายังแสดงความกังวลว่า เด็กๆ มักดื่มน้ำอัดลมเมื่อไปทานอาหารนอกบ้าน พวกเขาไม่ได้ถูกห้ามปรามจากการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป นอกจากนี้ เธอยังเตือนว่าเครื่องดื่ม “ซีโร่” ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน

“เครื่องดื่มซีโร่มีสารให้ความหวานในปริมาณที่สูงมาก มีการใช้สารให้ความหวานที่ถูกแบนในบางประเทศ เช่น อะซีซัลเฟม-เค แอสพาร์เทม และไซคลาเมต ซึ่งเป็นสารให้ความหวานเทียมที่หวานกว่าน้ำตาล 400-600 เท่า”

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ระบุว่า สารให้ความหวานชนิด แอดเวนเทม มีความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 20,000 เท่า ส่วน นีโอเทม หวานกว่า 7,000-13,000 เท่า แต่สารทั้งสองยังคงถูกกฎหมายในสหรัฐฯ มีเพียงไซคลาเมตและเกลือของมันเท่านั้นที่ถูกแบน

Advertisements

แม้ว่าองการอาหารและยา หรือ FDA จะระบุว่าต้องบริโภคสารให้ความหวานในปริมาณมากถึงจะเกินค่าที่ยอมรับได้ต่อวัน (เช่น ต้องใช้ Advantame ถึง 4,920 ซอง) แต่งานวิจัยบางชิ้นพบว่าสารให้ความหวานเทียมอาจส่งผลให้ เกิดการบริโภคอาหารที่มีแคลอรี่สูงมากขึ้น นำไปสู่การเพิ่มน้ำหนัก และ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

หมายความว่า ถึงแม้สารให้ความหวานจะไม่ได้ทำให้อ้วนโดยตัวมันเอง แต่จะทำให้คนกินเสพติดความหวาน รู้สึกอยากอาหารมากขึ้น เมื่อกินอาหารเพิ่มขึ้น ก็เสี่ยงอ้วนเป็นโรคนั่นเอง

สำหรับผู้ที่ต้องการลดการบริโภคน้ำตาล แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่า น้ำสมุนไพร หรือชาไม่หวาน แทนการพึ่งพาเครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : Umiad

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button