ข่าว

ธนาคารเลือดวิกฤต โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ขอรับบริจาคเลือด ‘กรุ๊ปโอ’ ด่วน

ธนาคารเลือดโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. ประกาศภาวะวิกฤตโลหิตกรุ๊ป O ขอรับบริจาคด่วน แนะวิธีเตรียมตัวก่อนบริจาค กินยารักษาโรคบริจาคได้

วันนี้ ผู้สื่อข่าวรายงาน ธนาคารเลือด โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. แจ้งสถานการณ์โลหิตกรุ๊ป O กำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ขอเชิญชวนประชาชนผู้มีสุขภาพแข็งแรงร่วมบริจาคโลหิตเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะเร่งด่วน พร้อมรับของที่ระลึก น้ำยาซักผ้า Pimjai Laundry Liquid ที่จัดเตรียมไว้สำหรับผู้บริจาค ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป (จนกว่าของจะหมด)

Advertisements

รายละเอียดการบริจาค:

สถานที่: ธนาคารเลือด อาคารศูนย์มะเร็ง ชั้น 3 โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ.
วันเวลา: วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. (ปิดรับบัตรเวลา 15.30 น.)
วันหยุด: หยุดให้บริการในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
จอดรถได้ที่: บริเวณหน้าอาคารศูนย์มะเร็ง

สำหรับผู้ที่สนใจบริจาคโลหิตเป็นหมู่คณะ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อที่เบอร์โทร 0 2534 7838

ให้โลหิต = ช่วยชีวิต ทุกหยดโลหิตที่คุณบริจาคสามารถสร้างความแตกต่างและช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้ ผู้ป่วยจำนวนมากรอคอยความช่วยเหลือจากน้ำใจของทุกท่าน มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการทำความดีเพื่อสังคมในครั้งนี้

Advertisements

วิธีเตรียมตัวก่อนมาบริจาคเลือด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 5 ชั่วโมง สุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะบริจาคโลหิต งดบริจาคเมื่อรู้สึกไม่สบาย หากอยู่ระหว่างรับประทานยารักษาโรค ให้แจ้งแพทย์/พยาบาล ผู้ตรววจคัดกรองสุขภาพทุกครั้ง ดื่มน้ำ 3 – 4 แก้ว ก่อนบริจาคโลหิต ช่วยลดโอกาสการเป็นลมหลังการบริจาคโลหิต รับประทานอาหารประจำมื้อก่อนมาบริจาคโลหิต

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ขนมหวาน ก่อนมาบริจาคโลหิต 6 ชั่วโมง งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง

หากคุณกำลังรับประทานยารักษาโรค สามารถตรวจสอบเงื่อนไขการบริจาคโลหิตได้ ดังนี้

  • รับประทานแล้วไม่มีอาการ สามารถบริจาคโลหิตได้เลย เช่น ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ยาแก้แพ้
  • เว้น 2 วันหลังหยุดยา (กรณีบริจาคเกล็ดเลือด) ยาคลายกล้ามเนื้อ ยากลุ่ม NSAIDs
  • รับประทานแล้วควบคุมโรคได้ สามารถบริจาคโลหิตได้ เช่น ยาความดันโลหิต (ต้องไม่มีโรคแทรกซ้อน ยาคุมเบาหวาน (ต้องไม่มีโรคแทรกซ้อนและไม่ต้องฉีดอินซูลิน)
  • ยาที่ไม่ส่งผลต่อการบริจาค ได้แก่ ยาลดไขมัน ยาลดกรดยูริก ยาคุมกำเนิด ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ

กินยารักษาโรคก็บริจาคเลือดได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button