‘กี่บาด’ นวนิยายปลายปากกา ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด คว้ารางวัลซีไรต์ 2567
ประกาศแล้ว! รางวัลซีไรต์ 2567 ประเภทนวนิยาย ‘กี่บาด’ ผลงานของ ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด คว้าชัยชนะ จากโครงเรื่องสุดประณีต ถ่ายทอดชีวิตช่างทอผ้า สะท้อนภูมิปัญญาไทย
วันที่ 28 ตุลาคม 2567 ณ ห้อง C asean Ratchada อาคาร CW Tower ชั้น 10 คณะกรรมการตัดสิน ‘รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน’ ได้ประกาศว่าหนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์ 2567 ได้แก่ นวนิยายเรื่อง ‘กี่บาด’ ของ ประเสริฐ ปัดมะริด
ในคำประกาศอย่างเป็นทางการ กรรมการตัดสินได้ระบุว่า ‘กี่บาด’ เล่าเรื่องของช่างทอผ้าซิ่น โดยสะท้อนให้เห็นปมปัญหาจากประเด็นเพศสภาพ และการต่อสู้กับขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ทั้งยังมีการแฝงความหมายที่ลึกซึ้ง ผ่านลวดลายซึ่งเป็นศิลปะการทอผ้า จึงทำให้คณะกรรมการเห็นตรงกันว่าหนังสือเล่มนี้ควรได้รับรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2567.
คำประกาศรางวัลซีไรต์ 2567 ฉบับเต็ม
“คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจําปีพุทธศักราช 2567 ได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นว่า นวนิยายเรื่อง กี่บาด ของประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด เล่าเรื่องของ “แม่ญิง” ช่างทอผ้าแม่แจ่มสามรุ่นที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับการทอซิ่นตีนจก นําเสนอผ่านโครงเรื่องการต่อสู้และการส่งต่อ มรดกภูมิปัญญาการทอผ้าในบริบทยุคสมัยที่มีความผันแปร โดยใช้กี่ทอผ้าเป็นเสมือนพื้นที่ของผู้หญิง ที่เต็มไปด้วยความหมายอันหลากมิติ ทั้งการต่อรองทางเพศสภาพ การต่อสู้กับอคติของจารีต การเก็บง่า ความทรงจําทั้งดีและร้าย.
“ด้านศิลปะการประพันธ์ กี่บาด มีทั้งขนบวรรณศิลป์แบบดั้งเดิมประสานกับการสร้างสรรค์ใหม่ โดยใช้ศิลปะการทอผ้าและลวดลาย สื่อความหมายและดําเนินเรื่องอย่างมีเชิงชั้น เต็มไปด้วยสีสันท้องถิ่น 2 นําพาผู้อ่านสู่อารมณ์สะเทือนใจ เห็นอกเห็นใจในชะตากรรมของมนุษย์ แม้จะต้องเผชิญประสบการณ์หรือ ความทรงจําอันปวดร้าวเพียงไร ชีวิตก็ต้องเดินไปข้างหน้า และถักทอเรื่องราวอันเป็นวัฒนธรรมเรื่องเล่าของ มนุษยชาติต่อไป”
“คณะกรรมการตัดสินจึงมีมติให้ นวนิยายเรื่อง กี่บาท ของ ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด ได้รับรางวัล วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจําปีพุทธศักราช 2567 ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2567”
อ้างอิง : Facebook สมาคมภาษาและหนังสือ แห่งประเทศไทยฯ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง