เปิด 5 สิ่ง ‘ควรทำ’ หลังน้ำลด แนะวิธีเช็ก ‘เงินเยียวยาน้ำท่วม’ เข้าวันไหน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิด 5 สิ่งควรทำ หลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย น้ำลดแล้วต้องทำอย่างไร พร้อมแนะวิธีเช็กสถานะ ‘เงินเยียวยาน้ำท่วม’ เข้าวันไหน
ขณะนี้สถานการณ์วิกฤตน้ำท่วม 2567 ในหลาย ๆ จังหวัดทั่วไทยก็ค่อย ๆ เริ่มดีขึ้นตามลำดับ โดยยังเหลืออีกเพียงไม่กี่พื้นที่เท่านั้นที่ยังมีน้ำท่วมขังสะสมอยู่ และเพื่อเป็นการให้ประชาชนสามารถรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังน้ำท่วมได้อย่างถูกต้อง ทาง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM จึงได้แนะนำ 5 สิ่งควรทำหลังน้ำลด ซึ่งมีดังนี้
1. ถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐาน ควรถ่ายให้เห็นเลขที่บ้าน เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ
2. ตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้น ทั้งตัวโครงสร้างของบ้าน และบริเวณโดยรอบ
3. เช็กระบบไฟฟ้า ห้ามใช้งานทันที ควรเรียกช่างไฟฟ้ามาตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัย
4. เตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาด อาทิ น้ำยาทำความสะอาด ไม้รีดน้ำ เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง
5. ประเมินความเสียหายเฟอร์นิเจอร์ ทิ้งของที่ซ่อมไม่ได้ หรือมีโอกาสเกิดเชื้อรา เพื่อป้องกันเชื้อโรค
ช่องทางยื่นคำร้อง ‘รับเงินเยียวยาน้ำท่วม 2567’
ผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 สามารถยื่นคำร้องขอความช่วยเหลือได้ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่
1. ยื่นคำร้องด้วยตนเองที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบอุทกภัย
2. ยื่นคำร้องด้วยระบบ Online ผ่านเว็บไซต์ ลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือน้ำท่วม
เอกสารที่ต้องใช้ ‘ยื่นคำร้องรับเงินเยียวยาน้ำท่วม’
ประชาชนผู้ประสบภัยจำเป็นต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีเป็นบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียน)
- สัญญาเช่าบ้านหรือหนังสือรับรองการเช่าจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กรณีเป็นบ้านเช่า)
- บ้านพักอาศัยประจำแต่ไม่มีทะเบียนบ้าน จะต้องให้กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารท้องถิ่น รวมกับผู้นำชุมชน ตรวจสอบข้อเท็จจริงและลงนามร่วมกันอย่างน้อย 2 ใน 3
ตรวจสอบสถานะรับเงินช่วยเหลือน้ำท่วม
- เว็บไซต์ https://flood67.disaster.go.th/Dashboard/BoardHelpRegister
- คลิก “ติดตามสถานะการช่วยเหลือผู้ประสบอุทุกภัย ช่วงฤดูฝน 2567”
- กรอกเลขที่บัตรประจำตัวบัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก
- คลิก “ตรวจสอบสถานะ”
57 จังหวัดได้รับเงินเยียวยาน้ำท่วม ปี 67
ครัวเรือนผู้ประสบภัย จำนวน 338,391 ครัวเรือน ตามข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ/พื้นที่ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/พื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 57 จังหวัด ได้แก่
- จังหวัดกระบี่
- กาญจนบุรี
- กาฬสินธุ์
- กำแพงเพชร
- ขอนแก่น
- จันทบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- ชัยภูมิ
- ชลบุรี
- เชียงราย
- เชียงใหม่
- ตรัง
- ตราด
- ตาก
- นนทบุรี
- นครนายก
- นครปฐม
- นครพนม
- นครสวรรค์
- นครราชสีมา
- นครศรีธรรมราช
- น่าน
- บึงกาฬ
- ปราจีนบุรี
- พระนครศรีอยุธยา
- พังงา
- พะเยา
- พิจิตร
- พิษณุโลก
- เพชรบูรณ์
- แพร่
- ภูเก็ต
- มหาสารคาม
- มุกดาหาร
- แม่ฮ่องสอน
- ยะลา
- ระยอง
- ราชบุรี
- ร้อยเอ็ด
- ลำปาง
- ลำพูน
- เลย
- ศรีสะเกษ
- สกลนคร
- สตูล
- สระแก้ว
- สระบุรี
- สุโขทัย
- สุพรรณบุรี
- สุราษฎร์ธานี
- หนองคาย
- หนองบัวลำภู
- อ่างทอง
- อุทัยธานี
- อุดรธานี
- อุตรดิตถ์
- อุบลราชธานี
สำหรับประชาชนที่ลงทะเบียนยื่นคำร้องก่อนวันที่ 16 ตุลาคม 2567 จะได้รับเงินภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2567
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ประกันสังคม “เยียวยาน้ำท่วม” ลดเงินสมทบ ม. 33-39 นาน 6 เดือน
- ปภ. แนะวิธี ขับรถผ่าน ‘เส้นทางเสี่ยงดินถล่ม’ ให้ปลอดภัย คู่มือขับขี่ฉบับหน้าฝน
- เปิดวิธีรับมือ ‘น้ำท่วม’ เตรียมตัวอย่างไร ให้ดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัย