ข่าว

กรมอุตุฯ ประกาศ ไทยเข้าหน้าหนาว ปลาย ต.ค. 67 ยืนยัน เย็นกว่าปีที่แล้ว

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ 3 ปัจจัยพิจารณา ประเทศไทยเข้าฤดูหนาวประจำปี 2567 พร้อมคาดการณ์เริ่มต้นสัปดาห์ที่ 3 เดือนตุลาคม

วันนี้ (10 ต.ค.) กรมอุตุนิยมวิทยา เผยข้อมูลเชิญชวนประชาชนจับตาดู 3 ปัจจัยประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวประจำปี 2567 หลังทางฝ่ายหน่วยงานเคยเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่าฤดูหนาวปีนี้จะเริ่มประมาณสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม 2567 ก่อนสิ้นสุดในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ตามหลักเกณฑ์และข้อมูลเชิงลึกดังนี้

Advertisements
  • อุณหภูมิต่ำสุดบริเวณประเทศไทยตอนบน อยู่ในเกณฑ์อากาศหนาวเย็นเกือบทั่วไป คือมีอุณหภูมิต่ำสุดน้อยกว่า 23 องศาเซลเซียสอย่างต่อเนื่อง
  • ลมระดับล่างที่ความสูงประมาณ 100-3,500 เมตร เป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือหรือลมตะวันออก ส่วนลมระดับบนที่ความสูงประมาณ 5,000 เมตรขึ้นไปเป็นลมฝ่ายตะวันตก
  • ปริมาณและการกระจายของฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง

กรมอุตุนิยมวิทยา เผย 3 เกณฑ์ เข้าฤดูหนาว 2567

ข้อมูลคาดการณ์ฤดูหนาว 67 โดยรวม

1. บริเวณประเทศไทยตอนบน จะเริ่มประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม 2567 ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อย และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2568

2. อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบนประมาณ 20 – 21 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 19.9 องศาเซลเซียส ) และจะมีอากาศหนาวเย็นมากกว่าปีที่ผ่านมา (อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยปีที่ผ่านมา 21.6 องศาเซลเซียส ) สำหรับอุณหภูมิต่ำที่สุดประมาณ 6–8 องศาเซลเซียส

ส่วนมากจะอยู่ตอนบนของทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอุณหภูมิต่ำที่สุดบริเวณกรุงเทพมหานคร 16 – 18 องศาเซลเซียส และปริมณฑล 14 – 16 องศาเซลเซียส

3. ช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุด ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2567 ถึงเดือนมกราคม 2568

Advertisements

4. ยอดดอยและยอดภูเขารวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

5. ภาคใต้จะมีอากาศเย็นบางแห่งในบางช่วงส่วนมากตอนบนของภาค แต่ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไปโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากรวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่สำหรับคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ ในบางช่วงมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร

6. เดือนพฤศจิกายนและธันวาคม จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำ และมีโอกาสสูงที่จะพัฒนาตัวเป็นพายุหมุนเขตร้อนแล้วเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้หรือเคลื่อนผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ ซึ่งจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่น รวมทั้งคลื่นลมจะมีกำลังแรง และอาจมีคลื่นพายุซัดฝั่ง ความสูงของคลื่นประมาณ 4 – 5 เมตร

คาดหมายฤดูหนาว 67

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

yo

First jobber Gen z ใหม่แกะกล่องส่งตรงจาก อักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. งานอดิเรกชอบท่องโลกออนไลน์ เล่นกับแมว เที่ยวกับครอบครัว อ่านมังงะ เล่นเกม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button