ข่าว

ปภ.เร่งช่วย 19 จังหวัดน้ำท่วม ระดมเจ้าหน้าที่บรรเทาความเดือดร้อน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดลิสต์ 19 จังหวัดน้ำยังท่วม สั่งการเจ้าหน้าที่เดินหน้าลุยช่วยเหลือชาวบ้าน-เร่งระบายน้ำออก

วันนี้ (9 ต.ค.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM รายงานสถานการณ์อุทกภัยว่า ปัจจุบันยังมีพื้นที่น้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 19 จังหวัด ถึงแม้มวลน้ำบางส่วนจะเริ่มลดลงแล้วก็ตาม ทางหน่วยงานจึงสั่งการเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัยระบายน้ำออกจากพื้นที่ พร้อมดูแลให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงเร่งฟื้นฟูพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายให้กลับคืนสู่สภาพปกติอย่างต่อเนื่อง ตามลิสต์จังหวัดดังนี้

Advertisements

ภาคเหนือ

รวม 8 จังหวัด 30 อำเภอ 107 ตำบล 532 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,069 ครัวเรือน

1. เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองฯ อ.แม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า อ.เวียงชัย และ อ.เชียงแสน รวม 17 ตำบล 80 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,046 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

2. เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.สารภี อ.หางดง อ.สันป่าตอง และ อ.เมืองฯ รวม 24 ตำบล 166 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,927 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

3. ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.ป่าซาง รวม 10 ตำบล 55 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,662 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

4. ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเถิน รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

Advertisements

5. ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก รวม 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,542 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

6. พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองฯ อ.บางกระทุ่ม อ.วังทอง อ.นครไทย และ อ.วัดโบสถ์ รวม 27 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,749 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

7. สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง อ.เมืองฯ อ.ศรีสัชนาลัย อ.กงไกรลาศ อ.คีรีมาศ และ อ.ทุ่งเสลี่ยม รวม 19 ตำบล 77 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,053 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

8. นครสวรรค์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองฯ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 70 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

น้ำท่วม 19 จังหวัด 9 ต.ค. ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รวม 5 จังหวัด 14 อำเภอ 55 ตำบล 233 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 549 ครัวเรือน

1. อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สร้างคอม รวม 9 ตำบล 25 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 251 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

2. กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ยางตลาด อ.หนองกรุงศรี อ.ท่าคันโท อ.สหัสขันธ์ และ อ.ฆ้องชัย รวม 12 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 68 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

3. ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.คอนสวรรค์ อ.จัตุรัส และ อ.ซับใหญ่ รวม 18 ตำบล 70 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

4. มหาสารคาม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.กันทรวิชัย รวม 13 ตำบล 118 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 36 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

5. อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สว่างวีระวงศ์ รวม 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 190 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

อุทกภัยภาคเหนือ 9 10 67

ภาคกลาง

รวม 6 จังหวัด 25 อำเภอ 167 ตำบล 812 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 29,917 ครัวเรือน

1. สิงห์บุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.อินทร์บุรี อ.เมืองฯ และ อ.พรหมบุรี รวม 4 ตำบล 9 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 102 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

2. สุพรรณบุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เดิมบางนางบวช อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง อ.ศรีประจันต์ อ.สามชุก และ อ.เมืองฯ รวม 35 ตำบล 149 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,797 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

3. อ่างทอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ไชโย อ.เมืองฯ และ อ.ป่าโมก รวม 19 ตำบล 56 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 851 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

4. พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.บางไทร และ อ.บางปะหัน รวม 96 ตำบล 545 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,497 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

5. ปทุมธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.สามโคก และ อ.เมืองฯ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

6. นครปฐม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.นครชัยศรี อ.บางเลน และ อ.สามพราน รวม 11 ตำบล 51 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 670 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

น้ำท่วม 19 จังหวัด 9 ต.ค. 67
ภาพจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM

อย่างไรก็ตาม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ดยางประสบภัย รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA รถบรรทุกเล็ก รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว เรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ เข้าให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย

รวมถึงนำรถขุดตักไฮดรอลิคยกสูง รถตักล้อยางอเนกประสงค์ รถขุดล้อยางกู้ภัยปรับฐานล้อ รถตีนตะขาบ รถบรรทุกเทท้าย รถขุดตักไฮดรอลิคแขนยาว เร่งขุดตักขนย้ายดินโคลน เศษวัสดุ สิ่งปรักหักพัง พร้อมทั้งปรับเกลี่ยถนน เส้นทางสัญจร ฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือนในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด

ปภ.
ภาพจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

yo

First jobber Gen z ใหม่แกะกล่องส่งตรงจาก อักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. งานอดิเรกชอบท่องโลกออนไลน์ เล่นกับแมว เที่ยวกับครอบครัว อ่านมังงะ เล่นเกม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button