ซีเค ยก AI ฉลาด เขียนใบสั่งยาได้ เพจดังโต้ ไม่มีวันแทนที่หมอ ตรวจร่างกายไม่ได้
ซีเค ยก AI ฉลาด เขียนใบสั่งยาได้ เพจดังโต้ AI ไม่มีวันแทนที่หมอ ตรวจร่างกายไม่ได้
โลกปัจจุบัน AI ถูกพัฒนาให้มีทักษะการวิเคราะห์ ฉลาดเกือบทัดเทียมมนุษย์ ในหลายๆ เรื่องก็แซงหน้าคนไปแล้ว แต่ในหลายองค์ความรู้ ก็ยังไม่สามารถแทนที่ได้ ซึ่งล่าสุดเกิดข้อถกเถียงกันในโลกออนไลน์ ถึงแวดวงการแพทย์ ว่า ปัญญาประดิษฐ์ จะมาแทนที่หมอจริงๆ ได้จริงหรือ
เฟซบุ๊กเพจ TNN Health ได้เผยแพร่อินโฟกราฟฟิก ข้อความตอนหนึ่งของคำพูด ซีเคเจิง (CK Cheong) ซีอีโอรุ่นใหม่ไฟแรงจาก Fastwork ในงาน TNN Tech Forum Uncoering AI ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ AI ว่าสามารถแทนที่หมอในบางงานว่า “หมอต้องเริ่มคิดมากแล้ว ถ้าคุณบอกอาการ เขียนใบสั่งยา AI ทำได้อยู่แล้ว ถ้าคุณเป็นหมอวันนี้ คุณต้องเริ่มคิดแล้วว่าอะไรที่ AI ทำไม่ได้”
ต่อมาทางเพจ Drama-Addict ซึ่งแอดมินเคยทำอาชีพแพทย์ ได้แชร์โพสต์ข้างตน เขียนแสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วยว่า “ไม่ได้ครับ ai ไม่มีวันมาแทนหมอได้ในจุดนี้
เพราะหมอคือการรักษาคน เวลาคนไข้เล่าอาการแบบเดียวกัน บางทีโรคแม่งไปคนละทางเลย ต้องอาศัยการตรวจร่างกาย
และซักประวัติโดยละเอียดซึ่ง ai ไม่มีวันทำได้
จะผ่านไปกี่ยุคสมัยพื้นฐานของการตรวจวินิจฉัยโรคในมนุษย์ก็ยังเหมือนเดิม คือการซักประวัติตรวจร่างกาย ดู คลำ เคาะ ฟัง
เอาง่ายๆ เจอคนไข้เล่าว่ามีอาการออกฮ่อนท้อง บางคนเป็นโรคกระเพาะ บางคนเป็นกรดไหลย้อน บางคนเป็นโรคหัวใจ บางคนเป็นมะเร็งกันไปเลย ซึ่งถ้าเอาอาการนี้ไปถาม ai อย่าว่าแต่วินิจฉัยเลย
ให้ ai มันตีความให้ออกก่อนเถอะว่าออกฮ่อนท้องคืออาการอะไร ถถถถถ
และถ้าเราไปไว้ใจเอไอ ให้สั่งยาที่อาจเกิดผลข้างเคียงซึ่งในบางเคส อาจอันตรายถึงชีวิตกับคนได้เนี่ยไม่อยากจะคิดเลยว่าจะเกิดอะไรขึ้น”
ทีมข่าวไทยเกอร์ จึงมุ่งตรงไปถาม ChatGPT โดยตรงเพื่อถามความคิดเห็น จากองค์ความรู้ของ AI เองที่มี ได้คำตอบมาว่า 3 สิ่งหลักๆ ที่ AI ยังไม่สามารถแทนที่มนุษย์หมอได้อย่างเต็มที่ คือ
- การเขียนใบสั่งยา: เนื่องจากการเขียนใบสั่งยาต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปฏิกิริยาระหว่างยา ภาวะร่างกายของผู้ป่วย และประวัติการแพ้ยา ซึ่งต้องการความเข้าใจแบบองค์รวมจากประสบการณ์ของแพทย์ และยังต้องการการสื่อสารกับผู้ป่วยที่เป็นปัจเจก
- การตรวจร่างกาย: แม้ว่า AI จะสามารถวิเคราะห์ผลตรวจที่ได้จากเครื่องมือทางการแพทย์ได้ดี แต่การตรวจด้วยสายตาและสัมผัสของแพทย์ในการประเมินสภาพผู้ป่วยยังคงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การฟังเสียงหัวใจและปอด การคลำหาก้อนเนื้อ หรือการตรวจทางกายภาพที่ละเอียดอ่อน ซึ่ง AI ยังไม่สามารถทำได้ในปัจจุบัน
- ความสามารถในการประเมินเชิงอารมณ์และจิตใจ: การแพทย์ไม่ได้เกี่ยวข้องแค่กับการวินิจฉัยโรคทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังต้องเข้าใจจิตใจของผู้ป่วย AI ยังขาดความสามารถในการเข้าใจความรู้สึก ความวิตกกังวล หรืออารมณ์ของผู้ป่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ต้องใช้ในการประเมินและตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษา
นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดอื่นๆ คือ
- ความผิดพลาดของ AI: แม้ว่า AI จะมีความแม่นยำสูงในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดความผิดพลาดจากการตีความข้อมูลหรือความบกพร่องในการเรียนรู้ของระบบ ซึ่งอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
- ความไว้วางใจของผู้ป่วย: การรักษาทางการแพทย์เกี่ยวข้องกับความไว้วางใจระหว่างแพทย์และผู้ป่วย AI อาจไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้เท่ากับแพทย์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยตรง