เลิกส่งประกันสังคม มาตรา 39 คำถามสนั่นเทรนด์โซเชียล หลังผู้ประกันตนรายหนึ่งลองคำนวณสิ่งที่ได้รับเมื่อครบ 55 ปี ผลตอบแทนเงินบำนาญตกเดือนเท่านี้
ใครยังไม่เข้าร่วมรีบไปใส่ความเห็น หลังเกิดกรณีชาวพันทิปซึ่งมีศักดิ์เป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 รายหนึ่งออกมาตั้งกระทู้โดยการลองคำนวณสิ่งที่จะได้รับมาตลอด 55 ปี ในฐานะผู้ประกันตน แล้วปรากฎผลตบแทนในอนาคตที่ทางสำนักงานซึ่งมีหน้าที่สร้างหลักประกันการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนดูจะไม่สมน้ำสมเนื้อกับความเป็นจริง
ผู้ใช้งานพันทิปรายนี้ตั้งกระทู้ถามถึงควมคุ้มค่าของการส่งเงินประกันสังคม โดยการคำนวณผลลัพธ์ที่จะได้ออกมาดังนี้ “ทุกวันนี้ส่งประกันสังคม ม.39 เดือนละ 432 บาท แต่ดูสิ่งที่ได้รับเมื่อครบ 55 ปี ได้เงินบำนาญเดือนไม่ถึง 2,000 บาท แย่ ถ้าส่งครบ 55 ปี รวมเป็นเงินเกือบ 3 แสน แต่ได้แค่เศษเงินกลับมา
และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการค้นหาคำตอบ ณ ปัจจุบันว่าตกลงแล้วการส่งเงินประกันสังคมมาตรา 39 ที่ตกเดือนละประมาณ 400 กว่าบาทนั้นคุ้มหรือไม่คุ้มกันแน่จึงขอยกตัวอย่าง 3 ความคิดเห็นที่เข้ามาให้คำแนะนำและได้รับความนิยมากสุด เริ่มจากความเห็นของสมาชิกท่านหนึ่งมองกรณีต้องเข้าใจก่อนว่า ตราบใดที่หว่านเงินจำนวนนี้ลงไปให้กับประกันสังคม อย่าง ๆ น้อย ๆ ก็ยังมีหลักประกันเป็นผลตอบแทนที่แน่นอนตอนอายุเยอะ ๆ แล้วไม่มีเรี่ยวแรงประกอบหาชีพสร้างรายได้เช่นปัจจุบัน อีกทืั้งถ้าเอาไปลงทุนก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี เพราะไม่ใช่ทุกการลงทุนจะมีกำไร
ขณะฝ่ายที่มองชัดเจนว่าเคสนี้ส่งต่อไปยังไงก็ไม่คุ้้มได้กางรายละเอียดดังนี้
ส่งมา 188 เดือนๆ ละ 432 บาท
พออายุ 55 สมมติตาย 75 จะมีเวลารับ 20 ปี = 240 เดือนๆ ละ 1900 บาท+
คำนวณยังไงถึงคิดว่าไม่คุ้มครับ นี่ยังไม่รวมว่างงาน ทำฟัน อื่นๆ อีก
ส่วนความเห็นปิดท้ายได้กล่าวสั้น ๆ เชิงประชดประชันว่า “ประกันสังคมไม่ใช่สถาบันการเงินนะ จะได้แจกดอกเบี้ยเงินฝาก เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า”
ทั้งนี้ ประกันสังคมมาตรา 39 เป็นหลักประกันสำหรับผู้สมัครใจส่งเงินสมทบและใช้สิทธิกับประกันสังคมต่อ หลังจากลาออกจากงานแล้ว โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจะได้ไม่เท่ากับ ม.33 หรือคนทำงานที่มีนายจ้างแต่ก็ไม่ได้ต่างกันมากนัก ซึ่งผู้ประกันตนทั้งม. 33 และม. 39 ที่อายุครบ 55 ปี จะได้รับเงินชราภาพกรณีส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน ได้รับเป็นบำเหน็จชราภาพ แต่หาก ส่งเงินสมทบ 180 เดือนขึ้นไป (ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม) ได้รับเป็นบำนาญชราภาพ.
อ่านข่าวเพิ่มเติม