ไขข้อสงสัย เคสแห่ขายทองคืน ร้านแม่ตั๊ก แบบไหนถึงเรียก “ฉ้อโกงประชาชน”
ส่องบทลงโทษคดีฉ้อโกง สังคมสงสัยกรณีร้านทองแม่ตั๊กเข้าข่ายหลอกขายหรือฉ้อโกง เหตุถ้าเป็นแบบหลังสามาถเจรจายอมความได้
จากกรณีลูกค้าร้านทองของน.ส.กรกนก สุวรรณบุตร หรือ “แม่ตั๊ก” เจ้าของห้างเพชรทอง K2N ซึ่งเป็นแม่ค้าออนไลน์คนดัง กำลังถูกลูกค้าแห่กันนำทองที่เคยซื้อกับทางร้านมาขายคืนเป็นจำนวนมาก หลังมีการแฉสร้อยพร้อมจี้ไอ้ไข่และดอกไม้ทองคำนำไปจำหน่ายต่อแล้วไม่ได้ราคาแถมยังถูกปฏิเสธที่จะรับซื้อ กระทั่งวานนี้ (24 ก.ย.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ลงพื้นที่ขอนำตัวอย่างทองคำบางส่วนไปตรวจสอบทั้งปี่เซียะ ทองรูปพรรณ และทองชุป ที่อ้างว่าเป็นทอง 99.99 % ที่ระบุไว้ในไลฟ์ไปตรวจสอบก่อนซึ่งเจ้าของห้างทองยินดีที่จะเข้าสู่กระบวนการทั้งหมด
อย่างไรก็ดีในส่วนของผู้เสียหายตลอดจนคนในสังคมกำลังเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับเคสนี้ โดยเฉพาะเรื่องบทลงโทษหากกรณีตรวจสอบแล้วพบกระผิดจริงจะมีอะไรตามมาบ้าง ทั้งนี้อ้างอิงในเทปรายการโหนกระแส เมื่อ 24 ก.ย. ทนายพรศักดิ์ วิสภาสอาภานนท์ กล่าวว่าเบื้องต้นคดีนี้ต้องดูพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาว่าจะเข้าข่าย “หลอกขาย” หรือ “ฉ้อโกง” โดยความต่างคือถ้าเป็นอย่างแรกจะยอมความไม่ได้
ขณะที่ โกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง อธิบดีอัยการ สคช. ระบุ กรณีร้านทองที่กำลังเป็นข่าวนั้นต้องไปดูกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเพราะการโฆษณาขายสินค้าที่กำลังเป็นประเด็นคือทองคำ การสื่อสารต้องชัดเจนทองคำผสมอะไร น้ำหนักเท่าไหร่ ซื้อไปเเล้ววสามารถนำไปขายได้ในร้านทองทั่วไปหรือไม่ เรื่องนี้ถ้าสื่อสารชัดเจนปัญหาจะไม่เกิดขึ้น
ส่วนในเรื่องคดีความการไลฟ์สดขายทอง ถ้าผู้ขายไม่บอกราคาชัดเจนเเล้วคลิปไลฟ์สดมีการบันทึกเอาไว้ก็จะเป็นพยานหลักฐานดำเนินคดีได้ ในส่วนที่ผู้ขายมีการประกาศว่าผู้ที่ซื้อไปสามารถนำมาขายคืนได้ในราคาที่ซื้อไปก็อาจจะถือได้ว่าเป็นการบรรเทาผลร้ายโดยการรับซื้อคืน เเต่กระบวนการก็ดำเนินการไปเเล้ว
ในส่วนความผิด ถ้าไม่มีผู้เสียหายไปเเจ้งความก็อาจจะไม่เป็นไร เพราะมีการรับซื้อคืน ไม่มีผู้เสียหายเเล้ว เเต่ถ้าเกิดมีคนไปเเจ้งความพนักงานสอบสวนก็ต้องทำการสอบสวนว่าในการไลฟ์สดขายมีการปกปิดข้อเท็จจริงหรือไม่ถ้าสอบสวนพบว่ามีก็อาจจะเข้าข่ายข้อหาฉ้อโกง หรืออาจจะถึงขั้นข้อหาฉ้อโกงประชาชนเพราะมีการไลฟ์สดไปสู่ประชาชนตรงนี้ก็อาจจะขึ้นกับจำนวนผู้เสียหาย
อัปเดตล่าสุด พ.ต.ท.ปริญญา ปาละ รองผกก.สอบสวน หัวหน้างานสอบสวน กก. บท.ปคบ. กล่าวว่า จากการกระทำของร้านทองที่มีการไลฟ์โดยอ้างว่าทองของแถมเป็นทอง 99.99% เมื่อข้อเท็จจริงทราบดีอยู่แล้วว่าไม่ใช่ทอง แต่กลับหลอกว่าเป็นทองก็จะเข้าองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง โดยพรุ่งนี้ (26 ก.ย.) ผู้เสียหายสามารถมาร้องเรียนได้ที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
ทัังนี้ การฉ้อโกง คือต้องเจตนาหลอกตั้งแต่แรก แต่ถ้าหลอกหลังจากได้ทรัพย์สินไปแล้วจะไม่ถือว่ามีความผิดฐานฉ้อโกง โดยโทษของการหลอกลวงเพื่อให้ได้ทรัพย์สินของคนอื่นจะถูกจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บ. หรือทั้งจำทั้งปรับ.
อ่านข่าวเพิ่มเติม