ทำได้ไง นาซ่าซ่อมยาน “วอยเอจเจอร์ 1” แก้เชื้อเพลิงตัน ที่สุดขอบระบบสุริยะ
วิศวกรที่ทำงานในยานวอยเอจเจอร์ 1 ของนาซ่า ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาตัวขับดันของยานอวกาศ เพื่อให้เดินทางสำรวจดวงดาวได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
หลังจากอยู่บนอวกาศเป็นเวลา 47 ปี ท่อเชื้อเพลิงบางส่วนบน ยานวอยเอจเจอร์ 1 ของ นาซ่า เกิดการอุดตันจากซิลิกอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นไปอายุจากไดอะแฟรมยางในถังเชื้อเพลิง การอุดตันดังกล่าวทำให้ประสิทธิภาพในการสร้างแรงของเครื่องขับดันลดลง หลังจากการวางแผนอย่างรอบคอบเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ในช่วงวันที่ 27 สิงหาคม 2024 วิศวกรของภารกิจยานอวกาศวอยเอจเจอร์ 1 แก้ปัญหาท่อส่งเชื้อเพลิงในยานอวกาศอุดตัน ระหว่างทำงานอยู่ห่างจากโลก 24,600 ล้านกิโลเมตรได้สำเร็จ
เนื่องจากการเดินทางในอวกาศเป็นระยะเวลานาน ไม่อาจใช้เครื่องยนต์ที่อาศัยการเผาไหม้เชื้อเพลิงจรวดตามปกติ แม้จะให้อัตราการเร่งที่สูง แต่เชื้อเพลิงก็จะโดนเผาไหม้หมดในระยะเวลาไม่นาน ท่อส่งเชื้อเพลิงดังกล่าวทำให้ระบบขับดันของยานสามารถควบคุมตำแหน่งของวอยเอจเจอร์ 1 ให้หันจานรับ-ส่งสัญญาณกลับมาสู่โลก
ยานวอยเอจเจอร์ 1 มีระบบขับดันรวมทั้งสิ้น 3 ชุด แต่ว่ายานอวกาศลำนี้ถูกสร้างขึ้นในยุค 1970 ทำงานอยู่ในอวกาศมานานกว่า 47 ปี และมีการปิดระบบต่าง ๆ เพื่อประหยัดพลังงานและยืดอายุภารกิจให้ทำงานได้นานที่สุด ทำให้การแก้ปัญหาในครั้งนี้ไม่ใช่งานที่ง่ายดาย
ช่วงปี 2002 ทีมวิศวกรรมของภารกิจซึ่งประจำอยู่ที่ห้องปฏิบัติการขับเคลื่อนไอพ่นของนาซ่าประจำแคลิฟอร์เนียตอนใต้ สังเกตเห็นว่าท่อเชื้อเพลิงบางส่วนในสาขาขับดันทิศทางที่ใช้ในการชี้ทิศทางเกิดการอุดตัน นาซ่า ตัดสินใจต่ออายุภารกิจยานวอยเอจเจอร์ 1 หลังเสร็จสิ้นการบินเฉียดใกล้ดาวเสาร์ในปี 1980 พวกเขาใช้ระบบขับดันแบบควบคุมทิศทางเป็นระบบขับดันหลักในการหันจานรับ-ส่งสัญญาณกลับโลก ก่อนเปลี่ยนไปใช้ระบบขับดันแบบควบคุมทิศทางอีกชุดในปี 2002 และเปลี่ยนมาใช้ระบบขับดันแบบปรับวิถีวงโคจรในปี 2018 จวบจนปัจจุบัน
จากการศึกษาปัญหานี้ พวกเขาตัดสินใจไม่ปิดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ยังทำงานอยู่เครื่องหนึ่งเป็นเวลาจำกัด เนื่องจากมีความเสี่ยงที่อุปกรณ์ดังกล่าวจะไม่กลับมาทำงานอีก หลังจากศึกษาและวางแผนเพิ่มเติม ทีมวิศวกรรมได้ตัดสินใจว่าพวกเขาสามารถปิดเครื่องทำความร้อนหลักเครื่องหนึ่งของยานอวกาศได้อย่างปลอดภัยเป็นเวลาสูงสุดหนึ่งชั่วโมง ทำให้มีพลังงานเพียงพอที่จะเปิดเครื่องทำความร้อนของยานขับดัน ผลลัพย์คือ มันได้ผล ใน วันที่ 27 สิงหาคม พวกเขาได้ยืนยันว่าเครื่องขับดันที่จำเป็นได้กลับมาดำเนินการอีกครั้ง ซึ่งช่วยให้ยานโวเอเจอร์ 1 มุ่งหน้าสู่โลกได้
ซูซานน์ ด็อดด์ (Suzanne Dodd) ผู้จัดการโครงการยานโวเอเจอร์จาก ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น หรือ เจพีแอล (Jet Propulsion Laboratory) ซึ่งจัดการยานโวเอเจอร์ให้กับ นาซ่า กล่าวว่า “การตัดสินใจทั้งหมดที่เราจะต้องทำในอนาคตนั้น จะต้องมีการวิเคราะห์และระมัดระวังมากขึ้นกว่าที่เคย”
ยานโวเอเจอร์กำลังสำรวจอวกาศระหว่างดวงดาว ซึ่งเป็นบริเวณนอกสนามแม่เหล็กที่สร้างขึ้นโดยดวงอาทิตย์ ซึ่งยานอวกาศลำอื่นไม่น่าจะไปเยือนเป็นเวลานานได้ ทีมวิทยาศาสตร์กำลังทำงานเพื่อภารกิจที่ช่วยให้ยานโวเอเจอร์เดินทางต่อไปได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่พวกเขาจะสามารถเปิดเผยข้อมูลของการสำรวจระหว่างดวงดาว
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- หลอน! นักบินอวกาศนาซ่า ได้ยิน ‘เสียงประหลาด’ จากยานสตาร์ไลเนอร์ ที่มีปัญหาของ ‘โบอิ้ง’
- สองนักบินอวกาศนาซา ยานเสีย ติดอยู่ในอวกาศกว่า 60 วัน คาดได้กลับบ้านปีหน้า
- เครื่องบิน นาซา เริ่มขึ้นบินแล้ว ร่วมมือ สทอภ. เช็กมลพิษทางอากาศในไทย หวังผลภายใน 1 ปี