ข่าว

ประวัติ พงศ์เทพ เทพกาญจนา ที่ปรึกษานโยบายนายกฯ อุ๊งอิ๊ง

เปิดประวัติ พงศ์เทพ เทพกาญจนา นักการเมืองผู้มีบทบาทสำคัญในหลายรัฐบาล ตั้งแต่สมัยของอดีตนายกรัฐมนตรี นายทักษิณ และนางสาวยิ่งลักษณ์ กระทั่งต่อมานายพงศ์เทพก็มีโอกาสทำงานร่วมกับครอบครัวชินวัตรอีกครั้ง หลังได้รับการการแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษานโยบายประจำรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตรคนปัจจุบัน

ประวัติพงษ์เทพ เทพกาญจนา

พงศ์เทพ เทพกาญจนา หรือที่รู้จักกันในชื่อเล่น “หนุ่ม” หรือ “โหน่ง” เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2499 ที่จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรของนายสุรินทร์ เทพกาญจนา อดีต ส.ส. และรัฐมนตรี ท่านสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และจบปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนจะศึกษาต่อจนสำเร็จเนติบัณฑิตไทยและปริญญาโทด้านกฎหมายเปรียบเทียบจากสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันสมรสกับนางพนิดา เทพกาญจนา และมีบุตรด้วยกัน 4 คน

Advertisements
คุณพงษ์เทพ ถ่ายรูปหันข้าง หน้ายิ้ม
ภาพจากเฟซบุ๊ก พงศ์เทพ เทพกาญจนา

อดีตผู้พิพากษาสู่เส้นทางการเมือง

นายพงศ์เทพ อดีตผู้พิพากษา ผันตัวเข้าสู่วงการเมืองเต็มตัวด้วยการลาออกจากราชการ และลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรุงเทพฯ เขต 8 สังกัดพรรคพลังธรรม เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 แม้จะไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และต่อมาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2539

บทบาทในรัฐบาลนายทักษิณ – นางสาวยิ่งลักษณ์

นายพงศ์เทพเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทยในตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค และได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร อาทิ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2550 นายพงศ์เทพถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549

เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อต่อสู้คดีความที่ถูกฟ้องร้องโดย ค.ต.ส. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ได้รับมอบหมายให้เป็นโฆษกประจำตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิ 111 ไทยรักไทยในช่วงเริ่มแรก

พงศ์เทพ ลงพื้นที่หาเสียง พรรคเพื่อไทย
ภาพจากเฟซบุ๊ก พงศ์เทพ เทพกาญจนา

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 นายพงศ์เทพได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 9

Advertisements

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 นายพงศ์เทพยังคงลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 13 อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้รับเลือกตั้งเนื่องจากพรรคเพื่อไทยได้รับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในการดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พงศ์เทพได้เสนอแนวคิดที่สร้างความฮือฮาและจุดประกายการถกเถียงอย่างกว้างขวาง นั่นคือการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก

พงศ์เทพ หาเสีบง
ภาพจากเฟซบุ๊ก พงศ์เทพ เทพกาญจนา

ตำแหน่งที่ได้รับ

รองนายกรัฐมนตรี

  • ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
  • นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

  • ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2545
  • นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

  • ดำรงตำแหน่ง 5 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
  • นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

  • ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
  • นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

  • ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
  • นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
  • พงศ์เทพร่วมงานประชุม
    ภาพจากเฟซบุ๊ก พงศ์เทพ เทพกาญจนา

พรรคการเมือง

  • พลังธรรม (2537–2539)
  • ชาติไทย (2539–2541)
  • ไทยรักไทย (2541–2550)
  • พลังประชาชน (2550–2551)
  • ประชาราช (2553—2554)
  • เพื่อไทย (2554–2564)
พงศ์เทพ ร่วมงานประชุม กล่าวในงาน
ภาพจากเฟซบุ๊ก พงศ์เทพ เทพกาญจนา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

New Nidhikant

จบการศึกษาคณะอักษรศาสตร์ เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร นักเขียนสายมูเตลู และนักอ่านไพ่ทาโรต์ โหราศาสตร์ มีความสนใจด้านข่าวการเมือง ศิลปะวัฒนธรรม แฟชั่น และสายดูดวงมูเตลู งานเขียนเน้นเนื้อหาที่เข้าใจง่าย อ่านสนุก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button