ข่าวดาราบันเทิง

จ๊ะ นงผณี หยุดหายใจขณะหลับ เอม วิทวัส ร้องไห้ ห่วงหนัก โทรฯ สั่งห้ามตาย

จ๊ะ นงผณี มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ต้องติดตั้งเครื่องช่วยเวลานอน เอม วิทวัส เป็นห่วงหนักมาก โทรฯ ร้องไห้ สั่ง “ห้ามตาย”

ทำเอาแฟนคลับเป็นห่วงหนักมาก เมื่อนักร้องลูกทุ่งสาว จ๊ะ นงผณี ได้เผยภาพและคลิปขณะที่พยาบาลกำลังติดตั้งเครื่องตรวจ Sleep Test หลังเจ้าตัวมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ จ๊ะเผยว่า ตนเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ โรคนี้ไม่ได้น่ากลัว เพราะมันเป็นเรื่องปกติของคนเราทุกคนที่จะหยุดหายใจบ้างเวลานอนไม่เกิน 5 ครั้งต่อชั่วโมง แต่ของเธอนั้น 18.6 ครั้งต่อชั่วโมง ซึ่งเกิดจากการนอนกรน ที่เป็นกรรมพันธุ์ รวมถึงเรื่องของโครงสร้างหน้าด้วย ทำให้ตอนนี้เธอต้องใช้เครื่องช่วยระหว่างนอนตอนกลางคืน

Advertisements

จ๊ะ นงผณี ทำ sleep test ครั้งแรกในชีวิต หลังมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ-1

งานนี้เพื่อนรักอย่าง เอม วิทวัส ได้ทราบอาการป่วยของจ๊ะก็รีบทักแชตหา และโทรศัพท์มาถามไถ่อาการทั้งน้ำตา ไม่อยากให้เพื่อนกังวลจนเพนิก ทั้งยังสั่งห้ามเสียชีวิตเด็ดขาด โดยลูกทุ่งสาวได้แคปภาพส่วนหนึ่งของความเป็นห่วงจากเพื่อนรักมาโพสต์ในอินสตาแกรมส่วนตัว พร้อมระบุแคปชั่นที่อ่านแล้วอดยิ้มตามไม่ได้ว่า

เมื่อฉันเป็น ภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ .. จะมีเพื่อนอยู่คนนึ่ง ที่ทั้งส่งไลน์ และโทรมาร้องไห้

ฉัน : ว่าไงจ้าา
เอม : ดีขึ้นมั้ย ทำไมต้องหยุดหายใจ
ฉัน : มันเป็นปกติของคน เดี๋ยวใช้เครื่องก็ชิน
เอม : มึงห้ามตายนะ ช่วงนี้กูไม่ว่าง (ร้องไห้) กูว่ากูร้องไห้กับมึงเยอะเกินไปล่ะ
ฉัน : เออ ยังไม่ตายหรอก เดี๋ยวก็ชิน ปกติ
เอม : มึงฟังกูนะ มึงคือ ดี้คนแรกในประเทศไทย ที่ใส่เครื่องหายใจแล้วโดน…
ฉัน : สาธุ อยากโดน….

ปล. น้ำพริกย่าอร่อยมาก บอกปู่กับย่าด้วย กูยังอยู่

Advertisements

เพื่อนไม่ต้องมีเยอะหรอก มีน้อย แต่ร้อยกับเราก็พอ

เอม วิทวัส ห่วง จ๊ะ นงผณี หลังมีอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ

เอม วิทวัส เป็นห่วง จ๊ะ นงผณี หลังมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

จ๊ะ นงผณี ทำ sleep test ครั้งแรกในชีวิต หลังมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

จ๊ะ นงผณี ป่วยภาวะ หยุดหายใจขณะนอนหลับ

@janongpanee

ครั้งแรกในชีวิตเลยยย 😜 #จ๊ะนงผณี #จ๊ะอาร์สยาม

♬ ♡ ᶫᵒᵛᵉᵧₒᵤ ♡ – SoBerBoi

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจากอะไร?

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) เป็นภาวะอันตรายที่สามารถสังเกตได้จากการนอนกรน ซึ่งเกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนต้นที่แคบลง หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาจะเสี่ยงโรคทางหัวใจ และโรคอื่น ๆ ที่อันตรายถึงชีวิตได้ ปัจจุบันมีการวินิจฉัยผ่านการทำ Sleep Test เพื่อวัดความรุนแรงของอาการ และใช้เป็นข้อมูลสำหรับทำการรักษาต่อไป

คนในทุกเพศทุกวัยสามารถพบภาวะนี้ได้เช่นกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบในเพศชายที่อายุประมาณ 30 ปี สำหรับเพศหญิงจะมีความเสี่ยงมากขึ้นในวัยหมดประจำเดือน และในเด็กมักพบจากสาเหตุของอาการต่อมทอนซิล และอดีนอยด์โต หรืออักเสบเรื้อรัง

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมี 3 ประเภท

  1. ประเภทการอุดกั้นทางเดินหายใจ (Obstructive Sleep Apnea) : เป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่พบได้บ่อยที่สุด จากระบบทางเดินหายใจที่แคบลง
  2. ประเภทความผิดปกติจากสมองส่วนกลาง (Central sleep apnea) : เกิดจากสมองส่วนกลางไม่สามารถสั่งการกล้ามเนื้อขณะนอนหลับได้ เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือยาที่มีผลต่อระบบสมองส่วนกลาง อาการประเภทนี้พบได้น้อยที่สุดในภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  3. ประเภทแบบผสม (Mixed Sleep Apnea) : เป็นการหยุดหายใจที่เกิดขึ้นจากสาเหตุของสมองส่วนกลาง และการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจร่วมกัน

อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  • อาการตอนกลางวัน ปวดศีรษะไม่สดชื่นตอนตื่นนอนรู้สึกนอนไม่พอ ส่งผลให้การทำงานระหว่างวันรู้สึกล้าไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย คอแห้ง และง่วงนอนอย่างมากส่งผลให้คุณภาพของการทำงานแย่ลง แต่หากเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็กจะซนมากขึ้นเนื่องจากสมาธิสั้น
  • อาการตอนกลางคืน ตอนนอนจะละเมอ ฝันร้าย กรนดังมาก หายใจแรง หายใจขัดเพื่อหาอากาศ มีอาการสะดุ้งตื่น ถ้าเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็กมักจะเปลี่ยนท่านอนบ่อยเป็นท่านอนคว่ำ และปัสสาวะรดที่นอนร่วมด้วย นอกจากนี้เด็กอาจเติบโตได้ไม่สมวัย

อันตรายจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

สามารถทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ที่มีความรุนแรงสูงสุดถึงขั้นเสียชีวิตตามมาได้หากไม่ได้รับการรักษา เช่น โรคด้านหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ความอ่อนเพลียในตอนกลางวันผลกระทบจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจส่งผลให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ระหว่างขับรถ

การวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

เริ่มจากการซักถามประวัติและอาการนอนกรนควรมีผู้ที่สังเกตอาการของผู้ป่วยอยู่ในขั้นตอนการซักประวัติด้วย ซึ่งการตรวจวินิจฉัยจะมีขั้นตอนต่อไปนี้

  • ตรวจโดยทั่วไป และทำการตรวจหูคอจมูกอาจตรวจผ่านการส่องกล้อง จุดประสงค์เพื่อหาจุดผิดปกติที่ทำให้เกิดอาการอุดกั้น สาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ตรวจกะโหลกศีรษะ และลำคอผ่าน การเอกซเรย์เพื่อประเมินโครงสร้างของใบหน้า และเพื่อดูความผิดปกติของต่อมอดีนอยด์ในเด็ก
  • ทำการตรวจการนอนหลับ Sleep Test (Polysomnography) เป็นการวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพ โดยจะมีการติดเครื่องมือเข้าร่างกายของผู้ป่วยเพื่อดูอาการนอนกรนในขณะนอนหลับตอนกลางคืน 6-8 ชั่วโมง เพื่อวิเคราะห์อาการและหาแนวทางในการรักษาผ่านแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

วิธีที่จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยตนเอง

  • ดูแลน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน ทั้งการทานของที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเล่นโยคะสามารถช่วยพัฒนาระบบหายใจได้
  • เปลี่ยนท่านอนให้ถูกต้อง ท่านอนที่ช่วยเลี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ให้พยายามนอนตะแคงเพราะสามารถช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น
  • งดแอลกอฮอล์และบุหรี่ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดความผิดปกติ หรือบวมขึ้นจนเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิงจาก : FB นงผณี มหาดไทย, IG jaja_nongpanee, เว็บไซต์ โรงพยาบาลเพชรเวช

GIFT T.

Rewriter สาวจากรั้วสวนดุสิต เก็บเกี่ยวประสบการณ์งานข่าวมากว่า 5 ปี ชื่นชอบการส่งต่อเรื่องราวเกี่ยวกับ ไลฟ์สไตล์ หวย และข่าวบันเทิง พร้อมเปิดมุมมองใหม่ ๆ ให้นักอ่านได้เห็นประเด็นรอบด้านมากยิ่งขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button