ข่าว

อัปเดตน้ำท่วม 2 ก.ย.67 เขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำเพิ่ม อุตุฯ เตือนรับมือฝนหนักอีกระลอก

อัปเดต สถานการณ์น้ำท่วม 2567 กรมชลประทาน เผย ปริมาณฝนตกสะสม 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา สูงสุด 3 ลําดับ เขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำเพิ่ม รับน้ำเหนือเพิ่มมากขึ้น กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนรับมือฝนหนักอีกระลอก

รายงานสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดจาก กรมชลประทาน เผปิดเผยรายงานสภาพภูมิอากาศและปริมาณฝนประจำวันที่ 2 ก.ย. 67 เมื่อเวลา 06.00 น. ที่ผ่านมา พบมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กําลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทยตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศ เวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทําให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากใน ภาคตะวันออก ซึ่งอาจทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ําป่าไหลหลาก

Advertisements

ปริมาณฝนตกสะสม 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา สูงสุด 3 ลําดับ

  1. อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี ปริมาณฝน 159.5 มม.
  2. อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี ปริมาณฝน 136.7 มม.
  3. อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ปริมาณฝน 124.0 มม.
รายงานมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย สุโขทัย พิษณุโลก และหนองคาย รวม 18 อำเภอ 70 ตำบล 223 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,979 ครัวเรือน
1 ก.ย. 67 เวลา 10.30 น. รายงานมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย สุโขทัย พิษณุโลก และหนองคาย รวม 18 อำเภอ 70 ตำบล 223 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,979 ครัวเรือน (แฟ้มภาพ Facebook @DDPMNews).

ขณะที่การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา (วันที่ 2 ก.ย. 67) ปริมาณน้ำจากพื้นที่ตอนบนที่ระบายจากเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และแควน้อยฯ ไหลมารวมกันที่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีวัดน้ํา C.2 ค่ายจิรประวัติ จ.นครสวรรค์ ปัจจุบัน 1,551 ลบ.ม./วินาที

กรมชลประทาน บริหารจัดการนํ้าเข้าระบบชลประทานฝั่งตะวันออกและ ฝั่งตะวันตก รวมรับน้ํา 286 ลบ.ม./วินาที แยกดังนี้

  • พื้นที่ฝั่งตะวันออก รับนํ้าเข้าคลอง ประกอบด้วยคลองชัยนาท-ป่าสัก (ผ่าน ปตร.มโนรมย์) คลองชัยนาท-อยุธยา (ผ่าน ปตร.มหาราช) และคลองเล็กอื่นๆ รวม 127 ลบ.ม./วินาที
  • พื้นที่ฝั่งตะวันตก รับน้ําเข้าคลอง ประกอบด้วย คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง แม่น้ําท่าจีน (ผ่าน ปตร.พลเทพ) แม่น้ําน้อย (ผ่าน ปตร.บรมธาตุ) และคลองเล็กอื่นๆ รวม 159 ลบ.ม./วินาที
สถานการณ์น้ำ ปริมาณฝนตกสะสม สูงสุด 3 ลำดับ
ภาพ Facebook @Kromchon

ปริมาณน้ําไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาวันนี้ 1,399 ลบ.ม./วินาที ระดับเหนือเขื่อน +16.46 ม.รทก. นอกจากนี้ เขื่อนป่าสักฯ ระบายน้ําลงสู่แม่น้ําป่าสัก160 ลบ.ม./วินาที ไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 226 ลบ.ม./วินาที ก่อนไหลมาบรรจบที่แม่น้ําเจ้าพระยา บริเวณสถานี C.29A อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เฉลี่ย 1,365 ลบ.ม./วินาที

สถานการณ์อุทกภัย (วันที่ 2 ก.ย. 67 เวลา 08.00 น.) จากอิทธิพลของ ร่องมรสุม/หย่อมความกดอากาศต่ํา/มรสุม ที่พัดผ่าน ประเทศไทย ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2567 เป็นต้นมา มีพื้นที่ประสบอุทกภัย รวมทั้งสิ้น 48 จังหวัด ดังนี้

Advertisements

จังหวัดที่เข้าสู่ภาวะปกติ 31 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลําพูน น่าน แพร่ ตาก หนองบัวลําภู บึงกาฬ ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ยโสธร ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ ลพบุรี อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง ภูเก็ต และยะลา

จังหวัดที่ประสบอุทกภัย 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน อ่างทอง พิษณุโลก ลําปาง หนองคาย เลย พิจิตร อุดรธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อุตรดิตถ์ สุโขทัย นครพนม เชียงราย พะเยา และสุพรรณบุรี

รายงานสถานการณ์น้ำวันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567
ภาพ Facebook @Kromchon

ทั้งนี้ ปัจจุบัน(1 ก.ย.67) 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 14,209 ล้าน ลบ.ม. (57% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 10,662 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ ได้ปรับลดการระบายน้ำ เพื่อช่วยลดผลกระทบด้านท้ายน้ำ แต่อย่างไรก็ตาม กรม อุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าในช่วงต้นเดือนกันยายนนี้จะมีปริมาณฝนตกเพิ่ม ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งภาคกลาง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น จึงยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป.

เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำเพิ่ม 2 กันยายน 2567
ภาพ Facebook @Kromchon

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button