การเงินเศรษฐกิจ

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กลุ่มเปราะบางรับเงินดิจิทัล 10,000 ต้องลงทะเบียนไหม

รัฐบาล ยืนยัน กลุ่มเปราะบาง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่ต้องลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท รอรับเงินก้อนเดียวผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภายในเดือน ก.ย. 67

ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐบัตรคนจน จำนวนทั้งสิ้น 13.5 ล้านราย ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่เพื่อรับเงินดิจิทัลวอลเล็ต เนื่องจากรัฐบาลมีฐานข้อมูลครบตั้งแต่สมัยลงทะเบียนในโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 ส่วนคนพิการ ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปมีบัตรคนพิการ ทางกรมบัญชีกลาง จะโอนเงินเข้าพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก

Advertisements

ใครเข้าเกณฑ์กลุ่มเปราะบาง

สำหรับกลุ่มเปราะบางที่รัฐบาลจะแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตเป็นกลุ่มแรก ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน มีจำนวนราว 14.5 ล้านคนทั่วประเทศ ได้แก่

  • ผู้มีรายได้น้อย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้พิการ

วิธียืนยันตัวตน ลงทะเบียนเงินดิจิทัลแอปทางรัฐ ของกลุ่มเปราะบาง

  1. ดาวน์โหลดแอปฯ “ทางรัฐ”
  2. เปิดแอปฯ ทางรัฐ แล้วกด “ลงทะเบียนรับสิทธิ
  3. อ่านเงื่อนไขและกด “ถัดไป
  4. ยอมรับข้อกำหนดและความเป็นส่วนตัวของโครงการและแอป
  5. กรอกเลขบัตรประชาชนและเลขหลังบัตร แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล
  6. กรอกข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง แล้วกด “ดำเนินการต่อ
  7. อ่านข้อแนะนำ และ สแกนใบหน้า
  8. ระบบจะแสดงผลการรับข้อมูลการลงทะเบียนและตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล
  9. เมื่อระบบตรวจสอบเสร็จ กด “สร้างบัญชีทางรัฐ
  10. ตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน กด “ยืนยัน
  11. ตั้งรหัส Pin Code 6 หลัก

ลงทะเบียนแอปทางรัฐกลุ่มเปราะบาง

เงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้ออะไรได้บ้าง

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน สามารถนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ดังนี้

  • ซื้อของอุปโภค-บริโภค เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ เป็นต้น
  • เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก กะปิ น้ำปลา ซอสปรุงรส เป็นต้น
  • ก๊าซหุงต้มจากร้านค้าที่กระทรวงพลังงานกำหนด
  • ยารักษาโรค เช่น ยาแก้ไข ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น
  • ธูปเทียนและเครื่องสักการะ ชุดถวายสังฆทาน เป็นต้น
  • สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแบบนักเรียน เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เป็นต้น
  • สินค้าวัตถุดิบเพื่อการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์พืช เป็นต้น
  • สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผักสด ผลไม้ อาหารสด เครื่องจักสาน เป็นต้น

นอกจาก บัตรสวัสดิการยังช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย รถเมล์ รถโดยสาร บขส. รถไฟฟ้า และรถไฟ

เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัลผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

1. เงินดิจิทัลวอลเล็ตที่กดมาจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถนำไปใช้จ่ายค่ารถโดยสาร ต้องมีเครื่อง e-Ticket ที่ติดตั้งไว้ภายในรถโดยสารประจำทาง และรถไฟฟ้า โดยการแตะบัตรกับเครื่อง ซึ่งเงินในบัตรก็จะถูกหักออกไปอัตโนมัติ

Advertisements

2. ใช้สำหรับซื้อตั๋วรถโดยสาร บขส.และรถไฟทุกสถานี ที่จุดจำหน่ายตั๋วโดยสาร

3. ใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคได้ที่ร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านค้าอื่น ๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด สามารถตรวจสอบร้านธงฟ้าประชารัฐใกล้บ้านได้จากเว็บไซต์ธงฟ้า โดยเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์และเลือก “พิกัดธงฟ้า” จากนั้นเลือกพิกัดอยู่ใกล้กับตัวเรามากที่สุด สุดท้ายระบบจะประมวลร้านค้าธงฟ้าที่ใกล้ที่สุดมาให้

4. หากในบัตรมีไม่เพียงพอ ผู้ใช้งานสามารถเติมเงินผ่านบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Money ของธนาคารกรุงไทย

5. เงินที่มีอยู่ในบัตร ไม่สามารถถอนออกมาเป็นเงินสดได้ และไม่สามารถสะสมเงินสวัสดิการแห่งรัฐในบ้ตรได้ กล่าวคือ หากผู้ถือบัตรใช้เงินในบัตรไม่หมดในแต่ละเดือน เงินจำนวนนั้นจะถูกตัดหักออก โดยไม่มีการสะสมยอดเงินไปใช้เดือนถัดไป

6. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้ได้เฉพาะบุคคลที่เป็นเจ้าของบัตร ยกเว้นผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเดินทางได้ จะให้ผู้ดูแลเป็นผู้ใช้สิทธิแทน หากฝ่าฝืนเงื่อนไข เจ้าของบัตรจะถูกตัดสิทธิในบัตร และผู้อื่นที่นำไปใช้จะมีความผิดต้องชดในเงินคืนแก่ราชการ

ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่กลุ่มเปราะบางจะต้องลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” เพื่อรับสิทธิ์เงินดิจิทัล 10,000 บาท ตามกำหนดการเดิมในวันที่ 22 กันยายน 67 รัฐบาลจะประกาศว่าผู้ใดมีสิทธิ์รับเงินดิจิทัลบ้าง โดยการแจกจ่ายเงินจะแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบแรกจะแจกเงินสดจำนวน 5,000 บาท ภายในเดือน ก.ย. 67 ซึ่งรัฐบาลจะแจ้งอีกครั้งว่าประชาชนจะสามารถรับเงินได้ทางช่องทางใด ส่วนรอบที่ 2 จะแจกอีก 5,000 บาทผ่านระบบดิจิทัลวอลเล็ต

อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนติดตามรายละเอียดและความคืบหน้าของโครงการต่อไป หากมีการแถลงข้อมูลเพิ่มเติมจะรายงานให้ทราบอีกครั้ง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button