การเงิน

ธ.ก.ส. ช่วยน้ำท่วม ออกสินเชื่อ ดอกเบี้ย 0% 6 เดือนแรก เบาภาระเกษตรกร พร้อม 7 มาตรการฟื้นฟู

วันนี้ (26 ส.ค.) ธ.ก.ส. เดินหน้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ออกมาตรการฟื้นฟู แบ่งเบาภาระเกษตรกร โดย นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยฉับพลันที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและพื้นที่การเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรง ต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกร ทั้งด้านการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพ

ดังนั้นเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าว ธ.ก.ส. จัดมาตรการเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูลูกค้า เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าเข้าถึงแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำในการนำไปสร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โรงเรือนการเกษตร เครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึงการฟื้นฟูการผลิตที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ปี 2567/68 เพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรในด้านค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น อัตราดอกเบี้ย 0% 6 เดือนแรก เดือนที่ 7 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.975) วงเงินรายละไม่เกิน 50,000 บาท

2. โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นค่าลงทุนในการซ่อมแซมบ้านเรือนและทรัพย์สิน ค่าซ่อมเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรรอบใหม่ วงเงินรายละไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR-2

3. มอบหมายให้ ธ.ก.ส. ในพื้นที่ประสบภัย ได้แก่ จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่ จัดถุงยังชีพเพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้นกว่า 10,000 ถุง ส่งมอบน้ำดื่ม ธ.ก.ส. และ

จัดทำอาหารกล่องสนับสนุนหน่วยบรรเทาสาธารณภัยในการปฏิบัติหน้าที่ และผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่ประสบภัยร้ายแรง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และหลังน้ำลดจะออกสำรวจความเสียหายของลูกค้า เพื่อรวบรวมข้อมูลในการวางแนวทางการช่วยเหลืออย่างตรงจุดต่อไป สำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยดังกล่าว สามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 555 0555 ตลอด 24 ชั่วโมง
ธอส. ออก 7 มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติปี 2567

น้ำท่วมประเทศไทย 26 สิงหาคม 2567
แฟ้มภาพ
น้ำท่วมสุโขทัย 4 อำเภอ
แฟ้มภาพ

มาตรการช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย

มาตรการที่ 1 สำหรับลูกค้าปัจจุบันของ ธอส. ที่อยู่ระหว่างการใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (MRR -0.50%, MRR -1.00% หรือ MRR เป็นต้น) กรณีหลักประกัน (ที่อยู่อาศัยที่จดจำนองกับธนาคาร) ของตนเองหรือคู่สมรสได้รับความเสียหายจากการประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติสามารถขอลดเงินงวด 50% จากเงินงวดที่ชำระปกติ และลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 2.00% ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน

มาตรการที่ 2 สำหรับลูกค้ากู้ใหม่ หรือลูกค้าปัจจุบันของ ธอส. ที่หลักประกันของตนเองหรือคู่สมรสได้รับความเสียหายจากการประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ สามารถขอกู้เพิ่ม หรือกู้ใหม่ เพื่อปลูกสร้างอาคารทดแทนหลังเดิม หรือกู้ซ่อมแซมอาคารที่ได้รับความเสียหาย วงเงินให้กู้ต่อรายไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 หลักประกัน คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ 2.00% ต่อปี นาน 1 ปี ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR -3.30% ต่อปี (ปัจจุบันเท่ากับ 3.245% ต่อปี) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR – 2.40% ต่อปี (ปัจจุบันเท่ากับ 4.145% ต่อปี) และปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้ กรณีลูกค้าสวัสดิการ อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MRR -1.00% ต่อปี กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MRR -0.50% ต่อปี

น้ำท่วมร้านคาเฟ่ ในพื้นจังหวัดน่าน 23 ส.ค. 67

มาตรการประนอมหนี้

มาตรการที่ 3 สำหรับลูกค้าสถานะ NPL ที่หลักประกันได้รับความเสียหาย ให้ประนอมหนี้ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี นาน 6 เดือนแรก และไม่ต้องชำระเงินงวด จากนั้นเดือนที่ 7-18 อัตราดอกเบี้ย 1.00% ต่อปี โดยให้ผ่อนชำระเงินงวดไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยรายเดือน และเมื่อครบระยะเวลาประนอมหนี้ให้กลับมาใช้อัตราดอกเบี้ยตามสิทธิเดิมก่อนที่จะใช้มาตรการนี้

มาตรการที่ 4 สำหรับลูกค้าสถานะ NPL ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ ให้ประนอมหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี นาน 6 เดือนแรก และผ่อนชำระเงินงวดเพียง 1,000 บาท (ตัดเงินต้นทั้งหมด) จากนั้นเดือนที่ 7-12 อัตราดอกเบี้ย 1.00% ต่อปี โดยให้ผ่อนชำระเงินงวดไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยรายเดือน บวกอีก 100 บาท และเมื่อผ่อนชำระครบระยะเวลาประนอมหนี้ ให้ลูกค้ากลับมาใช้อัตราดอกเบี้ยตามสิทธิเดิมก่อนที่จะใช้มาตรการนี้

มาตรการที่ 5 สำหรับลูกค้าสถานะบัญชีปกติและสถานะ NPL ที่เสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ให้ผ่อนชำระโดยใช้อัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ตลอดระยะเวลาที่คงเหลือ (พิจารณาเป็นรายกรณี)

มาตรการที่ 6 สำหรับลูกค้าสถานะบัญชีปกติและสถานะ NPL หากที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังและไม่สามารถซ่อมแซมได้ ให้ปลอดหนี้ในส่วนของราคาอาคาร และให้ผ่อนชำระต่อเฉพาะในส่วนของที่ดินที่คงเหลือเท่านั้น (พิจารณาเป็นรายกรณี)

สภาพรถยนต์ ค่อย ๆ เคลื่อนตัวเนื่องจากน้ำท่วมขัง
ภาพ @สำนักงาน ประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต

มาตรการสินไหมเร่งด่วน

มาตรการที่ 7 พิจารณาสินไหมเร่งด่วน (Fast Track) สำหรับลูกค้าที่ทำกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยซึ่งคุ้มครองภัยธรรมชาติกับบริษัทประกันภัยที่ธนาคารจัดให้ พิจารณาจ่ายค่าสินไหมให้กับลูกค้าที่ประสบภัยทุกรายอย่างเร่งด่วนเป็นกรณีพิเศษ โดยผู้เอาประกันสามารถแจ้งความเสียหายโดยใช้ภาพถ่าย จ่ายตามความเสียหายจริงไม่เกิน 20,000 บาท และสำหรับลูกค้าที่มีกรมธรรม์เริ่มความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 เพิ่มความคุ้มครองภัยธรรมชาติตามความเสียหายจริงอีกไม่เกิน 30,000 บาท ต่อปี (รายละเอียดและเงื่อนไขเป็นไปตามกรมธรรม์)

ทั้งนี้ ลูกค้าที่ประสงค์ขอรับบริการตามมาตรการที่ 1 – 6 สามารถติดต่อได้ที่สาขาของ ธอส. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2567 และมาตรการที่ 7 ติดต่อได้ที่สาขาของ ธอส. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ G H Bank Call Center โทร 0 – 2645 – 9000 หรือ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ Application : GHB ALL GEN และ www.ghbank.co.th.

ธ.ก.ส.ช่วยเกษตรกรน้ำท่วม 2567
ภาพ @กรมประชาสัมพันธ์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button