ข่าว

เตือนเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน 24-30 ส.ค. เผยพื้นที่ต้องเฝ้าระวัง

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เตือนเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 24-30 ส.ค. เปิดรายชื่อจังหวัดไหนต้องเฝ้าระวังบ้าง

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ส.ค. 67 เวลา 7.00 น.
1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.พะเยา (237 มม.) ภาคใต้ : จ.นครศรีธรรมราช (97 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ราชบุรี (82 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (74 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (48 มม.) ภาคกลาง : ชัยนาท (40 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ภาคเหนือตอนบนมีฝนตกต่อเนื่องหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือฝนตกหนักบางพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย

Advertisements

คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 23 – 24 ส.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบน ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3. สทนช. 3.1. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24 – 30 ส.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้

1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มและบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำบริเวณ.จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสตูล

2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80

3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง

Advertisements

ในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ ลำน้ำงาว แม่น้ำสาย แม่น้ำอิง แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำก่ำ และแม่น้ำตราด

3.2. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 20-25 ส.ค. 67 ขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นและเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง บริเวณ จ.บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 67 ดร. สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม โดยสถานการณ์น้ำในช่วงสัปดาห์นี้ เกิดร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้เกิดฝนตกชุกในพื้นที่ภาคเหนือหลายพื้นที่ประสบภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และหากฝนตกสะสมต่อเนื่องและมีปริมาณมากกว่า 100 มม. อาจทำให้เกิดดินโคลนถล่ม จึงได้เน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ในขณะเดียวกันต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงด้วย ซึ่ง สทนช. ในฐานะผู้แทนของประเทศไทยในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) จะคอยติดตามสถานการณ์และแจ้งต่อคณะกรรมาธิการฯ ได้ทราบข้อมูล

อย่างต่อเนื่อง เพื่อประเทศสมาชิก MRC จะได้พิจารณาการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนเพื่อหลีกเลี่ยงอุทกภัยจากปริมาณน้ำที่ล้นตลิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ริมตลิ่ง ในหลายจังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ จ.บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานีด้วย

5. สถานการณ์อุทกภัย : วันที่ 21 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เวียงชัย เชียงแสน ป่าแดด เทิง พญาเม็งราย แม่สาย และแม่จัน) จ.พะเยา (อ.เมืองฯ เชียงม่วน เชียงม่าน ปง ดอกคำใต้ ภูซาง และจุน) จ.น่าน (อ.เชียงกลาง และเฉลิมพระเกียรติ) จ.แพร่ (อ.ร้องกวาง) จ.เพชรบูรณ์ (อ.เมือง วังโป่ง และชนแดน) และ จ.อุดรธานี (อ.เมืองฯ ไชยวาน และกู่แก้ว)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button