ข่าว

ประวัติ “ไมค์ ลินช์” ราชาซอฟต์แวร์ เรือยอชต์ล่ม สูญหายกลางทะเล

ทำความรู้จัก “ไมค์ ลินช์” เจ้าพ่อธุรกิจราชาซอฟต์แวร์ชาวอังกฤษ สูญหายหลังเรือยอชต์ล่มสูญหายกลางทะเลอิตาลี ล่าสุด เจ้าหน้าที่เร่งหาตัว

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 สำนักข่าว BBC รายงานว่า “ไมค์ ลินช์” นักธุรกิจสายเทคโนโลยี หายตัวไปหลังจากเรือยอร์ชบาเยเซียนล่ม บริเวณชายฝั่งของเกาะซิซิเลีย ประเทศอิตาลี ช่วงประมาณ 5.00 น. ของวันที่ 19 สิงหาคม ตามเวลาท้องถิ่น

Advertisements

จากคำให้การของพยานเล่าว่า เรือยอร์ชของลินช์เจอกับพายุลูงวงช้างลูกใหญ่ รวมกับฝนตกหนักและลมกระโชกแรงทำให้เสากระโดงเรือหักส่งผลให้เรือจมลงใต้ท้องทะเล

ด้านผู้อำนวยการหน่วยงานคุ้มครองพลเรือนของเกาะซิซิเลีย กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ยังคงเดินหน้าตามหาผู้สูญหายอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด พบซากเรือจมลึกลงไป 50 เมตรจากระดับผิวน้ำ ทั้งยังพบร่างผู้เสียชีวิตอยู่นอกซากเรือ โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้เสียชีวิตคนดังกล่าวคือใคร

เจ้าหน้าที่ยังคงตามหาตัวนายลินช์

“ไมค์ ลินช์” บิล เกตส์ แห่งสหราชอาณาจักร

ไมค์ ลินช์ (Mike Lync) นักธุรกิจชาวอังกฤษวัย 59 ปี เกิดวันที่ 16 มิถุนายน 2508 ที่ประเทศไอร์แลนด์ เติบโตใกล้เมืองเชล์มสฟอร์ดในเอสเซกซ์ เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และศึกษาต่อปริญญาเอก สาขาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ หลังจากสำเร็จการศึกษาเขาได้รับทุนวิจัยมาพัฒนาต่อจนกลายมาเป็นที่วิทยานิพนธ์ที่อ่านกันอย่างแพร่หลายในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย

จากนั้นในปี 2534 ลินช์ได้ช่วยก่อตั้งบริษัทเคมบริดจ์ นิวโรไดนามิกส์ (Cambridge Neurodynamics) ซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้คอมพิวเตอร์ตรวจจับและจดจำลายนิ้วมือ หลังจากนั้น 5 ปี เขาจะจัดตั้งบริษัทเทคโนโลยีของตนเอง ชื่อว่า “ออโตโนมี” (Autonomy) เป็นบริษัทที่จัดทำเกี่ยวกับสถิติความน่าจะเป็น หรือ Bayesian inference เข้ามาช่วยเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลจากการใช้อีเมลหรือโทรศัพท์มือถือ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น ใช้แนะนำและคำตอบให้กับคอลเซ็นเตอร์

Advertisements

บริษัทของเขาประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2533 – 2543 ส่งผลให้ลินช์ได้รับรางวัลและเกียรติยศมากมาย รวมทั้งได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น OBE ในปี 2549 จากควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ด้วยรางวัลการันตีทั้้งหลายทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็น “บิล เกตส์ แห่งสหราชอาณาจักร”

ต่อมาเขาดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการของ BBC และในปี 2544 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐบาล โดยให้คำแนะนำแก่นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน เกี่ยวกับการพัฒนา AI

ไมค์ ลินช์
ภาพจาก : bbc

ตกเป็นจำเลยในคดีฉ้อโกง

ในปี 2544 เขาตัดสินใจขายบริษัท Autonomy ให้กับบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด (HP) มูลค่าสูงถึง 500 ล้านปอนด์ หรือ 22,000 ล้านบาท แต่หลังจากนั้นเพียง 1 ปี มูลค่าของบริษัท Autonomy ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่ง HP อ้างว่า Autonomy นั้นฉ้อโกง เนื่องจากพบการทำบัญชีที่ผิดปกติ

อัยการสหรัฐฯ ได้ตั้งข้อหาว่าลินซ์ปั่นราคาของบริษัทสูงเกินจริงโดยเจตนา หลังจากเกิดข้อครหาขึ้นเขาจึงดำเนินการทางกฎหมายกับผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้องจนพนักงานเหล่านั้นถูกศาลตัดสินให้รับโทษจำคุก 5 ปีในความผิดฐานฉ้อโกงบริษัท

ต่อมาในปี 2562 HP ยื่นฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง โดยกล่าวว่า ลินช์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในบริษัท เหตุใดจึงไม่ทราบเรื่องการฉ้อโกงหรือปั่นราคาบริษัทจนสูงเกินจริง ซึ่งผู้พิพากษาศาลสูงในคดีนี้ตัดสินให้ HP ชนะคดี และมีโทษให้ Autonomy ชดใช้เงินให้ HP เป็นจำนวนเงิน 5 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 171 ล้านบาท

ด้านอัยการสหรัฐฯ ต้องการให้ลินช์มามอบตัวในคดีข้อหาฉ้อโกงและสมรู้ร่วมคิด แต่ลินช์ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ท้ายที่สุดแล้วเขาก็ยอมเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและประกันตัวออกมาสู้คดีด้วยวงเงิน 10 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 446 ล้านบาท

หลังจากศาลพิจารณาคดีความกันมาอย่างยาวนาน เมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ลินช์ถูกนำตัวไปขึ้นศาลโดยถูกตั้งข้อหาฉ้อโกงผ่านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์, ฉ้อโกงนักลงทุนตลาดหลักทรัพย์ และสมรู้ร่วมคิด หลังไต่สวนไปประมาณ 3 เดือนศาลตัดสินให้เขาไม่มีความผิดทุกข้อกล่าวหา

ลินช์ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อเมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2567 ระบุว่า เขาเชื่อมั่นในความยุติธรรมของการพิจารณาคดีมาโดยตลอด ซึ่งเขายืนยันว่าตนเองบริสุทธิ์ใจ พร้อมทั้งเสริมว่าหลังจากการดำเนินคดีตามกฎหมายมาอย่างยาวนาน เขาต้องการกลับไปทำสิ่งที่รักนั่นก็คือ “การพัฒนานวัตกรรมและซอฟต์แวร์”

ข้อมูล : bbc, theguardian

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button