ไลฟ์สไตล์

นักวิทยาศาสตร์ไทย ชื่อเสียงระดับโลก เปิดเส้นทางอาชีพสายวิทย์ฯ รายได้ดีไหม

ทำความรู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ไทย บุลคลต้นแบบผลงานระดับโลก แนะนำเส้นทางการศึกษาต่อสายวิทยาศาสตร์ อาชีพที่ขาดบุคลากรเฉพาะด้าน เรียนจบไม่ตกงาน รายได้สูง

เมื่อพูดถึง “นักวิทยาศาสตร์” อาจทำให้หลายคนนึกถึงภาพของบุคคลในชุดกาวน์สีขาว ทำงานอยู่ในห้องทดลองอันแสนไกลตัวแต่ในความเป็นจริงวิทยาศาสตร์อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ประเทศไทยก็มีบุคคลากรผู้มีความสามารถและสร้างผลงานโดดเด่นในแวดวงวิทยาศาสตร์จนเป็นที่ยอมรับในระดับโลกหลากหลายสาขาวิชา วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ไทยที่ได้สร้างคุณูปการอันยิ่งใหญ่แก่วงการวิทยาศาสตร์ไทยจนเป็นที่ยอมรับบนเวทีระดับสากล

เด็กใส่ชึดนักวิทยาศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการปกครองเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นยอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาดาราศาสตร์ พระองค์ทรงศึกษาและคำนวณปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ได้อย่างแม่นยำเทียบเท่ากับนักวิทยาศาสตร์สากลในยุคนั้น ผลงานอันโดดเด่นของพระองค์ ได้แก่ การวิจัยทางดาราศาสตร์ และการกำหนดเวลามาตรฐานของประเทศ เพื่อเป็นเกียรติแก่พระอัจฉริยภาพและพระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ จึงได้มีการกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงคำนวณสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างแม่นยำ เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา โดยทรงได้รับการยกย่องอย่างสูงสุดว่าเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ภาพจาก: สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นพระราชธิดาผู้ทรงคุณวุฒิในด้านวิทยาศาสตร์ระดับโลก โดยทรงมีผลงานโดดเด่นในสาขาเคมีก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม พระองค์ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของประเทศไทย และทรงดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง ทั้งในฐานะองค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและพระราชหฤทัยที่มุ่งมั่นในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ของประเทศ

พระกรณียกิจที่สำคัญ

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายสำคัญ ดังนี้

  • เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนา มุ่งเน้นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศ
  • พัฒนาบุคลากร สร้างนักวิทยาศาสตร์และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี
  • เน้นการวิจัยโรคมะเร็ง ก่อตั้งศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็งเพื่อพัฒนาวิธีการรักษาและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่ว

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถือเป็นสถาบันชั้นนำของประเทศไทยที่มุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน โดยมีพระองค์ท่านเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ของสถาบัน

จุดเด่นของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ คือ มีพระองค์ท่านเป็นประธาน ทำให้สถาบันได้รับการสนับสนุนและความไว้วางใจจากทั้งในและต่างประเทศ มีครอบคลุมหลากหลายสาขา ไม่เพียงแต่เน้นด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ แต่ยังครอบคลุมถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาอื่นๆ มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยมุ่งเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศ
และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สร้างโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากร

ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ พระองค์ทรงริเริ่มก่อตั้งศูนย์นี้ขึ้น เพื่อให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น เช่น มะเร็ง โรคสมอง และโรคหัวใจ ทำให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมาก ทรงส่งเสริมให้คนไทยตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยพระปรีชาสามารถและความมุ่งมั่น พระองค์ได้รับการยกย่องจากนานาชาติในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสารเคมีก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม
พระองค์ทรงนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อพัฒนาประเทศในหลากหลายด้าน เช่น การเกษตร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการส่งเสริมบทบาทของสตรี

มูลนิธิ หน่วยงาน และโครงการในพระอุปถัมภ์
– มูลนิธิจุฬาภรณ์
– มูลนิธิเทียนส่องใจเพื่อคนไข้โรคลมชัก
– มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน
– มูลนิธิรักษาพยาบาลสัตว์ป่วยอนาถา โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– โครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร
– โครงการหารายได้เพื่อสัตว์ป่วยอนาถา
– โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม ๐๔ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
– โรงเรียนมัธยมศึกษาจุฬาภรณ์
– สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
– สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย
– สมาคมเคมีแห่งประเทศไทย
– กองทุนจุฬาภรณอุดรธานี

ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกรหญิง ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์

ดร. กฤษณา ไกรสินธุ์
ภาพจาก: www.thaicivilsociety.com

ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกรหญิง ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เป็นเภสัชกรหญิงชาวไทยผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทุ่มเทให้กับการพัฒนายาเพื่อผู้ป่วยในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ผลงานที่โดดเด่นคือการริเริ่มวิจัยและผลิตยาต้านเอดส์สามัญชนิดแรกในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงการพัฒนายาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ Afrivir ในประเทศคองโก และยารักษาโรคมาลาเรีย Thai-Tanzunate ในประเทศแทนซาเนีย ความสำเร็จของดร.กฤษณา สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขาดแคลนยาและการอุทิศตนเพื่อมนุษยชาติ จนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดีเพื่อเป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นหลัง

รวมผลงานในระดับนานาชาติ ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกรหญิง ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์

ระหว่างปี พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2548 ก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านเอดส์ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และฝึกสอนพนักงานของโรงงาน Pharmakina ที่เมือง Bukavu ในการผลิตยาต้านโรคเอดส์และควบคุมคุณภาพในขั้นอุตสาหกรรม สำเร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 เพื่อใช้รักษาคนงานที่ติดเชื้อเอดส์ของโรงงานและชาวคองโกที่ติดเชื้อเอดส์จำนวน 30,000 คน

ระหว่างปี พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2548 ก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านเอดส์และยารักษาโรคมาลาเรียในประเทศสาธารณรัฐแทนซาเนียและฝึกสอนพนักงานของโรงงาน Tanzania Pharmaceutical Industry (TPI) เมือง Arusha ในการผลิตยาต้านโรคเอดส์ ยาเม็ดและยาผงสำหรับรักษาโรคมาลาเรียสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก สำเร็จเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ช่วยชีวิตผู้ป่วยเอดส์ 60,000 คน และผู้ป่วยโรคมาลาเรียหลายล้านคน

ระหว่างปี พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2550 ถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมบุคลากรชาวแอฟริกาในการผลิตและควบคุมคุณภาพยารักษาโรคมาลาเรีย ชนิดเม็ดยาและยาเหน็บ สำหรับผู้ใหญ่และเด็กในประเทศแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ เบนิน เซเนกัล มาลี แกมเบีย และบูร์กินาฟาโซ ในแอฟริกาใต้ อาทิ แซมเบีย

ระหว่างปี พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2552 ก่อสร้างโรงงานยาและถ่ายทอดความรู้ฝึกสอนบุคลากรท้องถิ่นในประเทศสาธารณรัฐบุรุนดี ในการผลิตยา และควบคุมคุณภาพยาเม็ดรักษาโรคมาลาเรียสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก

ปี พ.ศ. 2552 ก่อสร้างโรงงานผลิตยา และก่อตั้งหน่วยงานวิจัยด้านพืชสมุนไพร รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ด้านเภสัชกรรมให้แก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัย Harbin Institute of Technology ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

สังเกตุได้ว่าบุคคลที่ The Thaiger ได้ยกตัวอย่างมานั้น มีคำนำหน้าที่ยาวมาก ซึ่งคำเหล่านั้นคือ ตำแหน่งทางวิชาการ พูดง่าย ๆ คือ การที่จะได้ตำแหน่งทางวิชาการมานั้นต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ มีผลงานทางวิชาการที่เป็นที่ประจักษ์ และเป็นประโยนช์ต่อสังคม นอกจากนี้ยังมีนักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีชื่อเสียงและได้รับรางวัลหลาย ๆ คน ซึ่ง The Thaiger ได้รวบรวมไว้ให้ด้านล่าง สามารถกดอ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้เลยครับ

นักวิทยาศาสตร์

เส้นทางการเป็นนักวิทยาศาสตร์

อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ต้องเรียนอะไรเป็นคำถามที่น่าสนใจ เพราะการเป็นนักวิทยาศาสตร์ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเรียนรู้ในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทักษะและคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมาย

พื้นฐานที่นักวิทยาศาสตร์ต้องเรียน มีหลายวิชาเฉพาะทาง ได้เเก่ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นเหมือนรากฐานสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์ทุกคนต้องเข้าใจ คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ สถิติ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองได้อย่างถูกต้อง การเขียนเชิงวิชาการ: เพื่อสื่อสารผลการวิจัยให้ผู้อื่นเข้าใจ และการเขียนโปรแกรม สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์

ทักษะที่จำเป็นของผู้ศึกษาวิทยาศาสตร์ คือ ต้องเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไขได้ มีความละเอียดรอบคอบในการสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ มีความกระตือรือร้นในการค้นหาคำตอบ มีความมานะอดทน เนื่องจากการทำวิจัยมักต้องใช้เวลาและความพยายาม มีทักษาะการทำงานเป็นทีม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

นักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานได้ในหลากหลายสาขา เช่น

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ธรณีวิทยา
วิทยาศาสตร์สุขภาพ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สาธารณสุข
วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิทยาการข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา สิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์วัสดุ วัสดุศาสตร์ นาโนเทคโนโลยี

ลำดับการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ คือ เริ่มศึกษาระดับปริญญาตรี เรียนในคณะวิทยาศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ระดับปริญญาโทในสาขาเฉพาะทางที่สนใจช และระดับปริญญาเอก คือ การทำวิจัยและเขียนวิทยานิพนธ์

5 อาชีพสายวิทยาศาสตร์ที่กำลังขาดแคลนในประเทศไทย รายได้ดี เรียนจบไม่ตกงาน 100%

สำหรับอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย พูดได้ว่าเป็นอาชีพที่ได้รับค่าตอบแทนสูง เนื่องจากต้องจบการศึกษาเฉพาะทางเป็นเวลานาน และต้องใช้ทักษะและประสบกาาณ์ในการทำงานสูง ในประเทศไทยยังมีความต้องการบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์อีกหลากหลายด้าน อาชีพเหล่านี้มีควมสำคัญและเป็นที่ต้องการในตลาดการทำงาน บางที่ต้องนำชาวต่างชาติเข้ามาทำงานแทน ดังนั้นหากเมืองไทยมีบุคลาการที่มีความรู้ความสามารถในด้านเหล่านี้มากขึ้น ประเทศไทยก็จะมีความเจริญก้าวหน้าและมีเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้โดยคนไทยให้สายตาชาวโลกได้เห็นมากขึ้น

สายอาชีพที่น่าสนใจ ได้แก่

1) นักธรณีวิทยาปิโตรเลียม
เป็นอาชีพที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะหน้าที่ของอาชีพนี้คือการสำรวจหาและพัฒนาแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกนำมากลั่นเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมาก เช่น น้ำมัน แก๊ส ยางมะตอย พลาสติก ปุ๋ยเคมี เป็นต้น

แท่นขุดเจาะน้ำมัน (1)

2) นักนิติวิทยาศาสตร์
ทำหน้าที่ในการพิสูจน์หลักฐาน เก็บวัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุ โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในการสืบคดีเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง รวมไปถึงการพิสูจน์บุคคล ตรวจสอบร่างกายผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ และตรวจสอบหาสาเหตุการเสียชีวิต

นักนิติวิทย์ (1)

3) นักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
เป็นผู้คิดค้น วิจัย และพัฒนาสูตรในการทำเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ความสวย ความงาม สินค้าเพื่อดูแลสุขภาพต่างๆ และทำหน้าที่ในการตรวจสอบสิ่งแปลกปลอม เพื่อควบคุมให้สินค้าเป็นไปตามมาตรฐาน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้

นักวิทย์ เครื่องสำอางค์

4) นักระบาดวิทยาภาคสนาม
ถือเป็นส่วนหนึ่งในบุคลากรทางการแพทย์ ทำหน้าที่ในการลงพื้นที่เพื่อสำรวจ เก็บสถิติอาการของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เก็บตัวอย่างเชื้อ สารคัดหลั่ง นำมาวิจัยศึกษาสาเหตุที่มาของโรคดังกล่าว เพื่อหาแนวทางในการป้องกัน รักษาโรค และลดอัตราการเสียชีวิตลง

นักระบาดวิทยา

5) นักวิทยาศาสตร์การอาหาร
เน้นศึกษาวิจัยทางด้านอาหารและเครื่องดื่มโดยเฉพาะ ตั้งแต่กระบวนการเก็บเกี่ยวไปจนถึงขั้นตอนการบริโภค ทำหน้าที่ควบคุมคุณภาพอาหารให้สะอาดและปลอดภัย มีการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับวิศวกรรมอาหาร เพื่อนำมาปฏิบัติงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านอาหาร คิดค้นการแปรรูปต่างๆ และสร้างสรรค์อาหารในรูปแบบใหม่ ๆ

นักวิทย์โภชนาการ

การที่น้องอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ แสดงว่าน้องมีความสนใจและอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากเลยค่ะ การเป็นนักวิทยาศาสตร์ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ทฤษฎี แต่ยังเป็นการได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อโลกของเรา การเดินทางสายวิทยาศาสตร์อาจมีอุปสรรคบ้าง แต่ขอให้น้องอย่าท้อแท้ จงมุ่งมั่นและตั้งใจศึกษาเล่าเรียนให้เต็มที่ เพราะความรู้และประสบการณ์ที่น้องได้รับ จะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาตัวเองให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งและประสบความสำเร็จในอนาคตค่ะ

รวมคณะยอดฮิต!! ของเด็กสายวิทย์คณิต ชมคลิป

อ้างอิง: สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา , thailandcoursehub.com , tonkit360.com

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

Tad Yungton

จบการศึกษาคณะอักษรศาสตร์ เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร นักเขียนสายมูเตลู และนักอ่านไพ่ทาโรต์ โหราศาสตร์ มีความสนใจด้านข่าวการเมือง ศิลปะวัฒนธรรม แฟชั่น และสายดูดวงมูเตลู งานเขียนเน้นเนื้อหาที่เข้าใจง่าย อ่านสนุก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button