เนื่องในโอกาส ใกล้วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 สิงหาคม 2567 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย ในหลายโรงเรียนจึงจัดกิจกรรมแข่งขันทดลองทางวิทยาศาสตร์พร้อมตอบคำถามท้าทายความรู้สายวิทย์ขึ้น ในบทความนี้ทีมงานไทยเกอร์ได้รวบรวมแนวคำถาม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2567 พร้อมเฉลย มาให้น้องนักเรียนทั้งชั้นประถม, ม.ต้น และม.ปลาย ได้วอร์มความจำ ก่อนเตรียมตัวแข่งขันชิงรางวัลบนเวที
1. คำถาม : ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของประเทศไทยมีชื่อว่าอะไร
คำตอบ : ไทยคม หรือ Thai cm โดยหลังจากถูกนำขึ้นอวกาศครั้วแรกเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2536 ไทยคมทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการโทรคมนาคมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออก
2. คำถาม : ในน้ำอัดลมมีก๊าซใดบรรจุอยู่
คำตอบ : ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยภายในภาชนะบรรจุจะมีกรดคาร์บอนิกบรรจุอยู่ ซึ่งเมื่อสัมผัสอากาศ จะแยกตัวเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กกับน้ำ เป็นฟองที่เกิดขึ้นเวลาเปิดขวดหรือกระป๋อง โดยการเขย่าจะเป็นการกระตุ้นปฏิกิริยาของกรดดังกล่าวให้เกิดเร็วและมากขึ้น จนก๊าซฯเกิดมากขึ้นตามมาทำให้อาจล้นภาชนะได้
3. คำถาม : สิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศคืออะไร
คำตอบ :สุนัข ชื่อ ไลก้า สุนัขจรจัดที่ถูกฝึกและส่งขึ้นสู่อวกาศโดยยาน Sputnik 2 ของสหภาพโซเวียตในปี 1957 เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของการส่งสิ่งมีชีวิตขึ้นสู่อวกาศ
4. คำถาม : DNA ย่อมาจากอะไร?
คำตอบ : Deoxyribonucleic Acid ดีเอ็นเอเป็นโมเลกุลที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น
5. คำถาม : ในน้ำอัดลมมีก๊าซใดบรรจุอยู่
คำตอบ : ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยภายในภาชนะบรรจุจะมีกรดคาร์บอนิกบรรจุอยู่ ซึ่งเมื่อสัมผัสอากาศ จะแยกตัวเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กกับน้ำ เป็นฟองที่เกิดขึ้นเวลาเปิดขวดหรือกระป๋อง โดยการเขย่าจะเป็นการกระตุ้นปฏิกิริยาของกรดดังกล่าวให้เกิดเร็วและมากขึ้น จนก๊าซฯเกิดมากขึ้นตามมาทำให้อาจล้นภาชนะได้
6. คำถาม : บรรยากาศชั้นที่มนุษย์อาศัยอยู่เรียกว่าชั้นอะไร
คำตอบ : โทรโพสเฟียร์ บรรยากาศชั้นล่างสุดที่อยู่ตั้งแต่ผิวโลกจนถึงระดับความสูง 10 – 12 กิโลเมตร เป็นชั้นที่มนุษย์อาศัยอยู่ร้อยละ 80 ของมวลอากาศทั้งหมดอยู่ในชั้นนี้ อีกทั้งยังมีไอน้ำ เมฆ จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำฟ้าต่าง ๆ เช่น เมฆ พายุ ฝน เป็นต้น
7. คำถาม : ทุก ๆ กี่ปีดาวศุกร์จะโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด
คำตอบ : ทุก 8 ปี
8. คำถาม : เรือดำน้ำของไทยลำแรกมีชื่อว่าอะไร และมีขึ้นในสมัยรัชกาลใด
คำตอบ : เรือหลวงมัจฉานุ – ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
9. คำถาม : สัตว์ชนิดใดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
คำตอบ : วาฬสีน้ำเงิน เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล มีความยาวได้ถึง 30 เมตร และหนักได้ถึง 200 ตัน ถือเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลก
10. คำถาม : พืชและสัตว์มีความแตกต่างอย่างไร
คำตอบ : พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารของตัวเองได้โดยใช้แสงแดด น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารได้เองได้ ต้องกินพืชหรือสัตว์อื่นเป็นอาหาร
11. คำถาม : พืชสร้างอาหารด้วยกระบวนการอะไร
คำตอบ : การสังเคราะห์ด้วยแสง โดยการใช้แสงแดด น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ ในกระบวนการสังเคราะห์เพื่อสร้างน้ำตาลกลูโคส ซึ่งเป็นอาหารของพืช และปล่อยออกซิเจนออกมา
12. คำถาม : อะไรคืออวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์เมื่อเทียบกับขนาดตัว
คำตอบ : ตับ
13. คำถาม : ใครเป็นผู้คิดค้นวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
คำตอบ : หลุยส์ ปาสเตอร์ นักเคมีและนักจุลชีววิทยาชาวฝรั่งเศส
14. คำถาม : อะไรคือหน่วยวัดความดันบรรยากาศ
คำตอบ : ปาสกาล (Pa) เป็นหน่วยวัดความดันในระบบหน่วยระหว่างประเทศ (SI) ส่วนบาร์ (bar) เป็นหน่วยวัดความดันที่ใช้กันทั่วไป โดย 1 บาร์มีค่าเท่ากับ 100,000 ปาสกาล
15. คำถาม : ใครเป็นผู้คิดค้นระเบิดปรมาณู
คำตอบ : เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ นักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวอเมริกัน ผู้อำนวยการโครงการแมนฮัตตัน ซึ่งเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาระเบิดปรมาณูในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
16. คำถาม : ใครเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ
คำตอบ : อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมัน บิดาแห่งวงการวิทยาศาสตร์โลก
17. คำถาม : อะไรคือความแตกต่างระหว่างมวลและน้ำหนัก
คำตอบ : มวลคือปริมาณของสสารในวัตถุ ในขณะที่น้ำหนักคือแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อมวลนั้น ๆ
18. คำถาม : อะไรคือความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
คำตอบ : เซลล์พืชมีผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์ ในขณะที่เซลล์สัตว์ไม่มี
19. คำถาม : อะไรคือความแตกต่างระหว่าง DNA และ RNA
คำตอบ : DNA เป็นสารพันธุกรรมหลัก ในขณะที่ RNA มีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน
20. คำถาม : อะไรคือความแตกต่างระหว่างธาตุและสารประกอบ
คำตอบ : ธาตุจะมีอะตอมชนิดเดียว ในขณะที่สารประกอบจะมีอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน
21. คำถาม : อะไรคือความแตกต่างระหว่างดาวเคราะห์และดาวฤกษ์
คำตอบ : ดาวฤกษ์สร้างแสงและความร้อนของตัวเองได้ ในขณะที่ดาวเคราะห์สะท้อนแสงจากดาวฤกษ์
22. คำถาม : ชั้นโอโซนคืออะไรและทำไมจึงสำคัญ
คำตอบ : ชั้นโอโซนเป็นชั้นบรรยากาศที่ช่วยป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์
23. คำถาม : อะไรคือความแตกต่างระหว่างดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย และอุกกาบาต
คำตอบ : ดาวหางเป็นก้อนน้ำแข็งและฝุ่นที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยเป็นหินและโลหะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ และอุกกาบาตคือชิ้นส่วนของดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยที่ตกลงสู่พื้นโลก
24. คำถาม : อะไรคือความแตกต่างระหว่างพลังงานจลน์และพลังงานศักย์
คำตอบ : พลังงานจลน์คือพลังงานของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ ในขณะที่พลังงานศักย์คือพลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุเนื่องจากตำแหน่งหรือสภาพของมัน
25. คำถาม : อะไรคือปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง
คำตอบ : ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงเกิดจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ที่กระทำต่อโลก
26. คำถาม : อะไรคือความแตกต่างระหว่างสุริยุปราคาและจันทรุปราคา
คำตอบ : สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ บังแสงจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ส่องถึงโลก ในขณะที่จันทรุปราคาเกิดขึ้นเมื่อโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ บังแสงจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ส่องถึงดวงจันทร์
27. คำถาม : อะไรคือความแตกต่างระหว่างสภาพอากาศและภูมิอากาศ
คำตอบ : สภาพอากาศคือสภาวะของบรรยากาศในช่วงเวลาสั้น ๆ ในขณะที่ภูมิอากาศคือรูปแบบสภาพอากาศในระยะยาวในพื้นที่หนึ่ง ๆ
28. คำถาม : อะไรคือความแตกต่างระหว่างพลังงานนิวเคลียร์ฟิชชันและพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชัน
คำตอบ : พลังงานนิวเคลียร์ฟิชชันเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสธาตุหนัก ในขณะที่พลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสธาตุเบา
29. คำถาม : อะไรคือความแตกต่างระหว่างพันธุกรรมและพันธุศาสตร์
คำตอบ : พันธุกรรมคือการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น ในขณะที่พันธุศาสตร์คือการศึกษาเกี่ยวกับพันธุกรรม
30. คำถาม : อะไรคือความสำคัญของการศึกษา STEM
คำตอบ : STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering, and Mathematics การศึกษา STEM มีความสำคัญในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาและนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21
ทั้งนี้ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเริ่มต้นขึ้น ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ณ บ้านหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่เดิมทีท่านทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี ว่าสุริยุปราคานั้นจะเกิดขึ้นในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230
ต่อมา ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 สุริยุปราคาเต็มดวงได้เกิดขึ้น ณ บริเวณบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามการคาดการณ์ล่วงหน้าของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเหตุการณ์ทั้งหมดได้มีการจดบันทึกไว้ โดยเซอร์แฮรี ออด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง