ลุ้น 7 แคนดิเดต นายกคนที่ 31 คอการเมืองแห่ถาม หลังโผล่ชื่อ “พล.อ.ประยุทธ์”
นายกคนต่อไป เปิดรายชื่อ 7 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขึ้นนั่งเก้าอี้ผู้นำที่ 31 เสียบแทน เศรษฐาที่สิ้นสภาพ พร้อมไขข้อสงสัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี ทำไมชื่อติดโผ
จากกรณี เศรษฐา ทีวสิน ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยใหเพ้นสภาพนายกรัฐมนตรี เมื่อช่วงบ่ายผ่านมา ล่าสุดได้มีการเปิดเผยราชื่อ 7 แคนดิเดตนายกฯ คนที่ 31 ซึ่งจะมาจากการลงมติเลือกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยหนนี้แตกต่างกับครั้งก่อนเพราะไม่มีสมาชิกวุฒิสภา (สว.) มาร่วมให้ความเห็นชอบอีกต่อไป
สำหรับบุคคลที่จะเป็นแคนดิเดตนายกฯ คนใหม่ ตามระเบียบต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีนายกฯ ของพรรคการเมืองที่มี สส. ในสภาไม่น้อยกว่า 5% หรือมี สส. เกิน 25 เสียงขึ้นไป ซึ่งขณะนี้เหลืออยู่ 7 คน จาก 5 พรรค ดังนี้
- แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรค
- ชัยเกษม นิติสิริ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
- อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคพรรคภูมิใจไทย
- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี
- พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรคพรรครวมไทยสร้างชาติ
- พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพรรคพลังประชารัฐ
- จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
ทั้งนี้ หลังเปิดเผยโผดังกล่าว ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา โดยเฉพาะกรณีปรากฎชื่อของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร่วมเป็นหนึ่งใน 7 แคนดิเดตฯ ทั้งที่ก่อนห้านี้เพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตแหน่งองคมนตรีไปมหาด ๆ
ตามรายงานจากบีบีซีไทย สาเหตุที่ชื่อของพลเอกประยุทธ์ เนื่องจากยังไม่ได้ลาออกจากบัญชีแคนดิเดตนายกฯ ของพรรครวมไทยสร้างชาติ
ขณะที่ ปิยบุตร แสงกนกกุล จากคณะก้าวหน้า เคยโพสต์ผ่านโซเชียล เกี่ยวกับปัญหาทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ระบุกรณีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่างลง ? และต้องมีการเลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกันใหม่
จะเกิดคำถามว่า พล.อ. ประยุทธ์ ยังคงมีสถานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีอยู่หรือไม่ ? สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอชื่อและลงมติให้ความเห็นชอบ พล.อ.ประยุทธ์ ได้หรือไม่ ?
พล.อ.ประยุทธ์ จะลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี เพื่อให้สภาให้ความเห็นชอบและมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อีกหรือไม่?
แม้ประเด็นเหล่านี้ ยังไม่เคยเกิดกรณีบรรทัดฐาน และยังไม่มีองค์กรตามรัฐธรรมนูญใดชี้ขาด แต่ แกนนำคณะก้าวหน้าก็ย้ำว่า สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า สถานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่ติดตัว พล.อ.ประยุทธ์ อยู่นี้ อาจส่งผลต่อเนื่องถึงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นองคมนตรี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่ว่า การมีสถานะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติ จะเข้าข่าย “ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” หรือ “ต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ” หรือไม่.
อ่านข่าวเพิ่มเติม