ข่าว

อย่าชะล่าใจ ภัยเงียบจากแผลตุ่มนูน สัญญาณเตือนมะเร็งผิวหนัง

แพทย์เตือนแผลตุ่มนูนจากอุบัติเหตุอันตรายกว่าที่คิด หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา อาจตรวจพบเซลล์มะเร็งผิวหนัง ควรหมั่นตรวจเช็กความผิดปกติของร่างกายเสมอ

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 “นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ” ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Arak Wongworachat แชร์เรื่องราวของหญิงวัย 60 ปี มีบาดแผลเลือดไหลบริเวณเข่า ปล่อยทิ้งไว้ไม่ทายารักษา สุดท้ายแพทย์นำชิ้นเนื้อไปตรวจ ผลวินิจฉัยพบมะเร็งสเควมัสเซลล์ (Squamous Cell Carcinom)

ด้านแพทย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แนะนำให้ผู้ป่วยรายนี้ตัดชิ้นเนื้อบริเวณเข่าเพื่อส่งตรวจห้องแล็ป พบว่าเป็นเซลล์มะเร็งผิวหนังชนิด SCC ต้องทำการรักษาด้วยวิธีตัดรอยแผลที่เปิดอยู่ออกให้หมด จากนั้นเย็บแผลด้วยเทคนิคพิเศษ โดยใช้เนื้อเยื่อผิวหนังส่วนขาหนีบมาปิดแทนเพื่อไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นจากการผ่าตัด

หญิงวัย 60 ปี มีบาดแผลเลือดไหล แต่ไม่รีบรักษาจนกลายเป็นแผลนูน
ภาพจาก Facebook : Arak Wongworachat

หลังเธอผ่าตัดเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ แพทย์แจ้งว่าการผ่าตัดเป็นไปได้อย่างดีเนื่องจากรอยเย็บสมานเป็นกลายเนื้อเดียวกัน

อย่างไรก็ดี นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ เตือนผู้ที่มีตุ่มนูนจากอุบัติเหตุ ทั้งชนิดที่มีแผลและไม่มีแผล ไม่ควรชะล่าใจเพราะแผลอาจจะเปลี่ยนสีและมีขนาดใหญ่ขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ด้านผิวหนังโดยด่วน เพราะหากปล่อยเวลาไว้นานอาจรักษาให้หายขาดได้ยาก รวมถึงลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้

ทั้งนี้ มะเร็งผิวหนังสามารถพบได้ทุกส่วนร่างกาย ตั้งแต่ใบหน้า ศีรษะ และส่วนอื่น ๆ ฉะนั้นเวลาอาบน้ำชำระร่างกาย ควรหมั่นตรวจความผิดปกติของผิวหนังตนเองอยู่เสมอ

สาวเป็นบาดแผลนูนตรวจพบว่าเป็นมะเร็งผิวหนัง
ภาพจาก Facebook : Arak Wongworachat

“ผู้ป่วยหญิงอายุ 60 ปีเศษให้ประวัติว่า เป็นตุ่มนูนขนาด 0.5 เซนติเมตร ที่เข่าขวา มาประมาณ 1 เดือน ต่อมาตุ่มแตกเป็นแผลมีเลือดไหล เสียดสีกับกางเกง ซื้อยาแก้อักเสบมากิน ทาเองก็ไม่หาย สุดท้ายมาพบแพทย์แผนกศัลยกรรม ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์”

โรงพยาบาลต้องผ่าตัดชิ้นเนื้อเดิมออกเพื่อทำการรักษา
ภาพจาก Facebook : Arak Wongworachat

“แพทย์แนะนำให้ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ ผลตรวจทางพยาธิวิทยา พบเซลล์มะเร็ง ชนิด SCC การตัดชิ้นเนื้อครั้งแรก เป็นเพียงเพื่อดูว่าเป็น แผลจากอะไร แต่เมื่อเป็นมะเร็ง ต้องผ่าตัดผู้ป่วยอีกครั้ง ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่ง เพื่อวางแผนผ่าตัด รอยโรคออกเป็นวงกว้างให้หมดทุกด้าน แต่ตำแหน่งเนื้องอกบริเวณข้อเข่า ที่เป็นข้อพับ หากตัดแล้วเย็บแผลธรรมดา จะเป็นผลให้แผลแยกในภายหลัง จึงต้องอาศัยเทคนิคการผ่าตัด แบบพิเศษ โดยใช้เนื้อเยื่อผิวหนังส่วนที่ขาหนีบ มาปิดแทน เนื้อเยื่อส่วนที่ตัดออกไป”

แพทยืทำการรักษาโดยใช้เนื้อบริเวณขาหนีบมาเย็บปิดแผล
ภาพจาก Facebook : Arak Wongworachat

“หลังจากนั้นภายในสองสัปดาห์ ผิวหนังที่เป็นกราฟ ที่นำมาทดแทน ก็จะติดกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นตุ่มนูน ทั้งชนิดมีแผลหรือไม่มีแผล อาจมีการเปลี่ยนสี เปลี่ยนขนาด โตเร็วผิดปกติ อย่านิ่งนอนใจ รีบไปปรึกษาแพทย์ มะเร็งผิวหนัง หากปล่อยทิ้งไว้ ขนาดโตขึ้น การผ่าตัดก็ยากขึ้น และมะเร็งสามารถลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่นๆได้ มะเร็งผิวหนังที่บริเวณเข่า พบ ได้น้อย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่ใบหน้า ศรีษะ และทุกส่วนของร่างกาย เวลาอาบน้ำมันตรวจร่างกายตนเองอยู่เสมอ”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button