ข่าว

ประวัติการก่อสร้าง อุโมงค์ผาเสด็จ อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

ประวัติการก่อสร้าง อุโมงค์ผาเสด็จ อุโมงค์รถไฟแบบอุโมงค์คู่ทางเดี่ยวของรฟท. หลังเกิดเหตุฝุ่งคลุ้งหนักในวันแรกที่เปิดให้ใช้บริการ

จากกรณีเกิดเหตุฝุ่งคลุ้งหนักรถไฟในอุโมงค์ผาเสด็จ เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 67 วันเปิดใช้งานวันแรกหลังก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งสาเหตุของฝุ่นดังกล่าวเกิดจาก ฝุ่นค้างสะสมอยู่ในอุโมงค์ ที่มีกระแสลมพัดเข้ามาสะสมภายหลังจากการก่อสร้างเสร็จแล้ว และแม้ก่อนเปิดให้บริการ ผู้รับจ้างจะใช้พัดลมเป่าอัดอากาศเพื่อไล่ฝุ่น แต่ก็ยังมีฝุ่นเข้ามาสะสมอยู่

ล่าสุด นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม ได้สั่งการให้การรถไฟฯ เร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ด้วยการจัดเจ้าหน้าที่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ลงตรวจสอบพื้นที่โดยทันที อีกทั้งดำเนินการสั่งให้บริษัทผู้รับจ้างดำเนินการใช้น้ำฉีดล้างทำความสะอาด และใช้พัดลมเป่าอัดอากาศเพื่อไล่ฝุ่นออกเป็นเวลา 14 วัน (เปิดให้ใช้บริการอีกทีในวันที่ 12 ส.ค. 67)

อุโมงค์ผาเสด็จ มีประวัติก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2561

ประวัติการก่อสร้าง อุโมงค์ผาเสด็จ

อุโมงค์ผาเสด็จ เป็นอุโมงค์รถไฟทางคู่ทางเดี่ยวที่ยาวที่สุดในประเทศไทย กว้าง 7.50 เมตร สูง 7.00 ม. ระยะทาง 5.41 กิโลเมตร โดยตั้งอยู่ระหว่างอำเภอมวกเหล็กและอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อยู่ระหว่างสถานีรถไฟมาบกะเบา และสถานีรถไฟหินลับ ซึ่งอุโมงค์ผาเสด็จเป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 สายตะวันออกเฉียงเหนือ (สายอีสาน)

ระยะทางรวม 42.90 กิโลเมตร ประกอบไปด้วย ช่วงสถานีมาบกะเบา–สถานีมวกเหล็ก ระยะทางประมาณ 13.20 กิโลเมตร และช่วงสถานีบันไดม้า–สถานีคลองขนานจิตร ระยะทางประมาณ 29.70 กิโลเมตร

รวมระยะทางอุโมงค์ผาเสด็จ 42.90 กิโลเมตร
ภาพจาก: ภาพจาก: โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure

อุโมงค์ผาเสด็จอยู่ในสัญญาการก่อสร้างที่ 3 ที่จะก่อสร้างอุโมงค์รถไฟจำนวน 3 แห่ง รับผิดชอบโดยบริษัทร่วมทุน ไอทีดี-อาร์ที (ITD-RT) เป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (Italian-Thai Development) และบริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด (มหาชน) (Right Tunnelling Public Company Limited) ที่มีมูลค่าสัญญากว่า 9,290 ล้านบาท โดยการดำเนินงานเริ่มสร้างตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 และสร้างเสร็จในช่วงเดือนกันยายน 2565 ก่อนเริ่มเปิดให้ใช้บริการครั้งแรกในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567

แนวเส้นทางเดินรถไฟคู่ อุโมงค์ผาเสด็จ
ภาพจาก: โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure

ข้อมูลเชิงเทคนิคและการออกแบบ อุโมงค์ผาเสด็จ-หินลับ

อุโมงค์ผาสเด็จถูกปิดใช้งาน 14 วัน
ภาพจาก: โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructureทั้งนี้

อุโมงค์ผาเสด็จ (อุโมงค์ที่ 1) ตั้งอยู่ระหว่างสถานีมาบกะเบากับสถานีหินลับ เป็นอุโมงค์คู่ทางเดี่ยว กว้าง 7.50 เมตร สูง 7.00 ม. ระยะทาง 5.41 กิโลเมตร (5,408.69 เมตร) โดยมีระบบความปลอดภัยภายในมีช่องอพยพผู้โดยสารในทุก ๆ ระยะ 500 เมตรในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ส่วนอุโมงค์หินลับ ตั้งอยู่ที่สถานีหินลับกับสถานีมวกเหล็ก เป็นอุโมงค์เดี่ยวทางคู่ กว้าง 11.0 เมตร สูง 7.30 เมตร ระยะทาง 265 เมตร

ภายในอุโมงค์ผาเสด็จ มีระบบความปลอดภัยอย่างครบเครื่อง เช่นระบบระบายอากาศภายในอุโมงค์ ระบบแจ้งเตือนไฟไหม้ ระบบดับเพลิง ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (cctv) ระบบจ่ายไฟฟ้ากำลังสำรอง ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบตรวจจับผู้บุกรุกเข้ามาในอุโมงค์ ระบบตรวจจับก๊าซออกซิเจน (ไม่น้อยกว่า 18%) ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (ไม่เกิน 70 ppm) และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์ Sulfur dioxide (ไม่เกิน 0.2 ppm) โดยหากตรวจพบค่าใดค่าหนึ่งไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ระบบระบายอากาศจะทำงานโดยอัตโนมัติ มีระบบโทรศัพท์ฉุกเฉิน ระบบ SCADA และระบบตรวจจับความร้อนโดยใช้ ไฟเบอร์ออพติก (fiber optic)

อุโมงค์หินลับ ทางคู่เดี่ยว รถไฟ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

yo

First jobber Gen z ใหม่แกะกล่องส่งตรงจาก อักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. งานอดิเรกชอบท่องโลกออนไลน์ เล่นกับแมว เที่ยวกับครอบครัว อ่านมังงะ เล่นเกม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button