ทำความรู้จักภาษีครึ่งปี (ภ.ค.ง. 94) การยื่นภาษีครึ่งปีเป็นการชำระภาษีไว้ล่วงหน้าช่วยวางแผนการเงินในอนาคต ภาษีที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ หากฝ่าฝืนถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ภาษีครึ่งปี (ภ.ค.ง. 94) คืออะไร
ภาษีครึ่งปี หรือ ภ.ง.ด. 94 คือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี สำหรับผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ปี 2567 เป็นการยื่นภาษีครึ่งปีเป็นการชำระภาษีไว้ล่วงหน้า ช่วยให้ผู้มีเงินได้สามารถคาดการณ์ วางแผนการเงิน และประเมินรายได้ตลอดทั้งปีของตัวเองก่อนที่จะยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ((ภ.ง.ด. 90) ในช่วงต้นปีหน้า
ใครต้องยื่น ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94)
- ผู้มีเงินจากการให้เช่าทรัพย์สิน รวมไปถึงเงินหรือประโยชน์ที่ได้จากการผิดสัญญาเช่าซื้อ และการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนที่ผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขาย
- ผู้มีเงินจากวิชาชีพอิสระ ได้แก่ การประกอบโรคศิลปะ กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี และประณีตศิลปกรรม
- ผู้มีเงินจากการรับเหมา ที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน จัดหาวัสดุส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น รับเหมาก่อสร้าง รับจ้างทาสี เป็นต้น
- ผู้มีเงินจากการพาณิชย์ หรือเงินได้อื่น ๆ เช่น รางวัลจากการชิงโชค รายได้จากการขายของชำ การขายอสังหาริมทรัพย์ การขายของออนไลน์ เบี้ยยังชีพที่รัฐบาลจ่ายให้ เป็นต้น
- อาชีพอื่น ๆ เช่น นักร้อง นักแสดง พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ รับจ้างทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ประกอบอาชีพกลุ่มข้างต้นและต้องจ่ายภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) ต้องมีเงื่อนไข ดังนี้
- ผู้ที่เป็นโสด มีรายได้มากกว่า 60,000 บาท (ไม่รวมรายได้จากงานประจำ)
- คู่สมรส ที่มีเงินได้ฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายรวมกัน มีรายได้มากกว่า 120,000 บาท (ไม่รวมรายได้จากงานประจำ)
- กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง มากกว่า 60,000 บาท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ มากกว่า 60,000 บาท
- คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มากกว่า 60,000 บาท
ช่วงเวลายื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94)
สำหรับผู้ที่ต้องการชำระภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) สามารถยื่นได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และทางอินเทอร์เน็ต
- ผู้ที่ต้องยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สามารถยื่นเอกสารได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2567
- ผู้ที่ต้องยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) ผ่านอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์กรมสรรพากร สามารถยื่นเอกสารได้ถึง 8 ตุลาคม 2567 ตามขั้นตอนดังนี้
1. เข้า web site ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th
2. เลือกรายการ e-FILING
3. เข้าใช้บริการครั้งแรก ให้เลือกรายการสมัครใช้บริการ
4. หลังจากนั้น เข้าสู่ระบบบด้วยชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน
5. เลือกเมนู “ยื่นแบบ”
6. เลือกแบบภาษีที่ต้องการยื่น
7. บันทึกข้อมูลแบบ หรืออัปโหลดไฟล์ข้อมูลแบบ
8. ยืนยันการยื่นแบบ
9. แสดงผลการยื่นแบบ โดยระบบจะส่งผลการยื่นแบบไปที่อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้
10. ชำระภาษี กรณีที่มีภาษีต้องชำระ
ช่องทางการชำระภาษี
1. ไปรษณีย์ไทย
2. 7-Eleven
3. Tesco Lotus
4. True Money
5. QR Code เปิดให้บริการถึงเวลา 22.50 น.
6. บัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เปิดให้บริการ 06.00 – 22.00 น.
7. ATM เปิดให้บริการถึงเวลา 22.50 น.
8. ATM on Internet เปิดให้บริการ 06.00 – 22.00 น.
9. Mobile Banking เปิดให้บริการถึงเวลา 22.50 น.
10. Internet Banking เปิดให้บริการถึงเวลา 22.50 น.
11. E-Payment เปิดให้บริการ 06.00 – 22.00 น. ยกเว้น
- ธนาคารซิตี้แบงก์ เปิดให้บริการ 06.00 – 15.30 น.
- ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส เปิดให้บริการ 09.00 – 17.00 น.
- ธนาคารดอยซ์แบงก์ เปิดให้บริการ 06.00 – 17.00 น.
- ธนาคารกสิกรไทย เปิดให้บริการ 06.00 – 21.30 น.
12. Internet Credit Card
- ธนาคารกรุงเทพ เปิดให้บริการ 06.00 – 22.00 น.
- ธนาคารกสิกรไทย เปิดให้บริการ 06.00 – 20.30 น.
- ธนาคารทหารไทยธนชาต เปิดให้บริการ 06.00 – 20.00 น.
- ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดให้บริการ 06.00 – 20.30 น.
สำหรับข้อมูลการชำระภาษีจะถูกส่งจากกรมสรรพากรไปยังธนาคารโดยตรง เมื่อผู้เสียภาษียืนยันการทำรายการของระบบชำระเงินของธนาคารแล้ว ธนาคารจะแจ้งผลการทำรายการแและส่งให้กรมสรรพากรทันที เช่น ผลการโอนเงิน การยกเลิกการทำรายการ เป็นต้น
ที่มา : กรมสรรพากร
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เงื่อนไขเยอะ สินค้า 18 รายการ เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้อไม่ได้ เริ่มลงทะเบียน 1 สิงหาคม 67
- 3 กลุ่มนี้ ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ไม่พร้อมกัน เช็กให้ชัวร์วันไหนบ้าง
- ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ง่าย ๆ ใน 3 นาที ไม่ต้องลางาน ไม่ต้องต่อคิว