สุขภาพและการแพทย์

เชื้อปรสิตในน้ำ คืออะไร ภัยร้ายเงียบใกล้ตัว ติดต่อผ่านอะไรบ้าง

รู้ไว้ ห่างภัยดีกว่า “เชื้อปรสิตในน้ำ” อันตรายใกล้ตัว โปรโตซัวตัวร้ายก่อโรคผ่านการดื่มน้ำและสัมผัส เชื้อโรคบางชนิดอันตรายถึงชีวิต

สืบจากข่าวลูกบ้านคอนโดหรูย่านลาดพร้าวติดเชื้อปรสิตในน้ำ (อะแคนทามีบา และไมโครสปอริเดีย) จนตาแดงก่ำ ทำให้เกิดเป็นกระแสโซเชียลถึงการระมัดระวังเหล่าเชื้อโรคจากแหล่งน้ำที่เราใช้บริโภคและอุปโภคเป็นประจำ ในบทความนี้ทีมงานไทยเกอร์จึงขอพาท่านผู้อ่านไปรู้จัก 6 เชื้อปรสิตในน้ำ ที่พบได้บ่อยทั้งในน้ำประปาและทั่วไป ว่าคืออะไร ก่อโรคอะไรบ้าง และจะป้องกันได้อย่างไร

Advertisements

เชื้อปรสิตในน้ำ มีอะไรบ้าง?

เชื้อปรสิตในน้ำ คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในน้ำ และสามารถทำให้เกิดโรคในมนุษย์และสัตว์ได้ เชื้อปรสิตเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การดื่มน้ำที่ปนเปื้อน การสัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อน หรือการรับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุก ซึ่งมีเชื้อปรสิตปนเปื้อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นหนอนพยาธิ โปรโตซัว หรือเชื้อโรคแบคทีเรีย โดยสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้

1. เอนทามีบา ฮิสโทไลติกา

เอนทามีบา ฮิสโทไลติกา (Entamoeba histolytica) “เชื้อบิดชนิดมีตัว” เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ที่ก่อให้เกิดโรค “บิดอะมีบาในลำไส้” หรือเรียกสั้น ๆ ว่าโรคบิดมีตัว โดยในระยะอาการขั้นเฉียบพลันจะทำให้ผู้ป่วยอาการปวดท้อง ปวดเบ่ง ถ่ายอุจจาระเหลวมีมูกปนเลือดและกลิ่นเหม็นเน่า อีกทั้งอาจทำลายผนังลำไส้ทำให้เกิดการอักเสบในช่องท้องได้ด้วย และสามารถลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับ ปอด สมอง ฯลฯ

  • การติดต่อ : ติดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีซีสต์ระยะติดต่อปนเปื้อน ซึ่งเชื้อระยะซีสต์ นี้ไม่ถูกทำลายด้วยกระบวนการทำน้ำประปา
  • การป้องกัน : ให้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด รวมถึงดื่มน้ำที่กรองหรือต้มแล้วจะช่วยป้องกันโรคได้ พร้อมถ่ายอุจจาระให้ถูกสุขลักษณะ และการรักษาอนามัยส่วนบุคคลให้ดี
เชื้อปรสิตในน้ำ รู้จัก
ภาพจาก: วิกิพีเดีย

2. ไกรเดีย แลมเบลีย (Giardia lamblia)

Giardia lamblia เป็นเชื้อปรสิตที่อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ส่งผลให้มีอาการท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และในระยะเรื้อรังผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ มีไขมันปนมูก

Advertisements
  • การติดต่อ : ติดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีซีสต์ระยะติดต่อปนเปื้อน ซึ่งเชื้อระยะซีสต์ นี้ไม่ถูกทำลายด้วยกระบวนการทำน้ำประปา โดยเฉพาะหากมีบาดแผลในช่องปากให้ระวังเป็นพิเศษ
  • การป้องกัน : การรับประทาน อาหารที่ปรุงสุกและสะอาด ดื่มน้ำที่กรองแล้วหรือต้มให้เดือดจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ รวมทั้งถ่ายอุจจาระให้ถูกสุขลักษณะ กําจัดอุจจาระตามหลักสุขาภิบาล
เชื้อปรสิตในน้ำ คืออะไร
ภาพจาก: วิกิพีเดีย

3. เนเกลเรีย ฟาวเลรี

เนเกลเรีย ฟาวเลรี (Naegleria fowleri) เป็นโปรโตซัวชนิดพิเศษที่จะดำรงชีวิตเป็นอิสระ โดยอาศัยอยู่ตาม ตามดิน โคลนเลน และแหล่งน้ำ ยกเว้นน้ำกร่อยและน้ำทะเล ซึ่งมักเข้าสู่ร่างกายจากการสำลักน้ำที่ปนเปื้อนเข้าทางจมูก ก่อให้เกิดโรคสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยมักมีระยะฟักตัวหลังการติดเชื้อราว 3 -7 วัน ที่จะมีลักษณะอาการ คัดจมูก เจ็บคอ การได้กลิ่นเสียไปทั่ว ปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง หลังแข็ง สับสน ชัก ไม่รู้สึกตัว และมักเสียชีวิตภายใน 1 สัปดาห์

  • การติดต่อ : ปรสิตเข้าสู่ร่างกายโดยการสำลักน้ำทางจมูก
  • การป้องกัน : หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำหรือเล่นน้ำในแหล่งน้ำขัง หรือน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมและระวังการสำลักน้ำ
เชื้อปรสิตในน้ำ วิธีป้องกัน
ภาพจาก: วิกิพีเดีย

4. คริปโตสปอริเดียม

คริปโตสปอริเดียม (Cryptosporidium parvum) เป็นโปรโตซัวอาศัยที่ลำไส้ เชื้อระยะ oocyst มีรูปร่างกลม ผนังหนา ภายในประกอบด้วยเซลล์รูปร่างคล้ายพระจันทร์เสี้ยว จำนวน 4 เซลล์ ที่ทำให้ผุ้ติดเชื้อเกิดโรคอุจจาระร่วง โดยมีอาการถ่ายเป็นน้ำ ซึ่งสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติอาการท้องเสียอาจหายได้เอง ส่วนการติดเชื้อในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงเรื้อรังร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดอย่างมาก

  • การติดต่อ : ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่มีเชื้อระยะ oocyst ปนเปื้อน
  • การป้องกัน : ดื่มน้ำที่ต้มเดือดหรือผ่านการกรองแล้ว และรับประทานอาหารที่สุกและสะอาด
เชื้อปรสิตในน้ำ คอนโดหรู
ภาพจาก: วิกิพีเดีย

5. อะแคนทามีบา

อะแครทามีบา (Acanthamoeba spp) จะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติอย่าง ดิน โคลนเลน แบบอิสระ ที่ลักษณะของเชื้อเท้าเทียมที่มีลักษณะคล้ายหนามทำให้เคลื่อนที่ได้ช้า หรือหากสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมจะเปลี่ยนรูปร่างเป็นระยะซีสต์ที่มีรูปร่างค่อนข้างกลมและผนังหนา ซึ่งอาการของโรคจะแตกต่างออกไปตามอวัยวะที่ติดเชื้อ โดยหากติดเชื้อชนิดที่ตา ซึ่งมักพบได้ในคนที่ใส่คอนแทกเลนส์ จะมีอาการแผลที่กระจกตา ตาแดง เคืองตา ตามัว กลัวแสง และปวดตาอย่างมาก

ส่วนการติดเชื้อที่สมอง ทําให้เกิดโรคสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายการมีเนื้องอกในสมอง เช่น อาการแขนหรือขาอ่อนแรง เป็นต้น

  • การติดต่อ : ติดผ่านรอนบาดแผลบนร่างกาย เช่น ช่องปาก กระจกตา ผิวหนัง หรือการหายใจ ที่จะทำให้เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดจนกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ
  • การป้องกัน : ผู้ใช้คอนแทกเลนส์ควรทำความสะอาดเลนส์ด้วยน้ำยาที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้ว และไม่ควรใส่คอนแทกเลนส์ในขณะว่ายน้ำหรือใส่ขณะนอนหลับ
เชื้อโรค ปรสิตในน้ำที่เจอที่คอนโดลาดพร้าว
ภาพจาก: วิกิพีเดีย

6. ไมโครสปอริดิโอซิส (Microsporiodiosis)

ไมโครสปอริดิโอซิสจะทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในร่างกายมนุษย์ โดยจะมีลักษณะอาการต่างออกไปตามอวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น ท้องร่วงเรื้อรัง, ถุงน้ำดีหรือท่อน้ำดีอักเสบ, กระจกตาอักเสบและเป็นแผล, กล้ามเนื้ออักเสบ, กระจกตาและเยื่อบุตาอักเสบ, โพรงจมูกอักเสบ ฯลฯ

ส่วนการติดเชื้อที่สมอง ทําให้เกิดโรคสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายการมีเนื้องอกในสมอง เช่น อาการแขนหรือขาอ่อนแรง เป็นต้น

  • การติดต่อ : ติดผ่านการสัมผัสน้ำเข้าบาดแผลหรือเยื่อบุในร่างกาย เช่นบาดแผลในช่องปาก
  • การป้องกัน : ควรหมั่นตรวจล้างตัวด้วยน้ำสะอาดหรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสแหล่งน้ำสกปรก และการบริโภคน้ำดื่ม
เชื้อปรสิตในน้ำคืออะไร
ภาพจาก: วิกิพีเดีย

อ้างอิง: ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

yo

First jobber Gen z ใหม่แกะกล่องส่งตรงจาก อักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. งานอดิเรกชอบท่องโลกออนไลน์ เล่นกับแมว เที่ยวกับครอบครัว อ่านมังงะ เล่นเกม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button