ข่าว

เปิดตัวละคร 3 กลุ่ม ถกปัญหาป่าทับลาน กมธ.ที่ดิน ปักธง 17 ก.ค. คลี่ปมแนวเขต

กทมธ. ที่ดิน เร่งพิจารณาปัญหาพื้นที่ทับซ้อน ป่าทับลาน เป็นกรณีพิเศษ เปิดตัวละครหลัก 3 กลุ่ม เคลียร์ปมแนวเขตอุทยาน ที่อยู่อาศัย ที่ทำกินประชาชนดั้งเดิม

กรณีปัญหาที่ดิน “ป่าทับลาน” ซึ่งตอนนี้เสียงวิพากษ์วิจารณ์ยังแตกเป็น 2 ฝ่าย ทั้งที่ห็นด้วยและฝั่งที่ค้ดค้านกรณีปมปัญหาที่ดินของผืนป่าและที่ทำกินของชาวบ้านทับซ้อนกับพื้นที่ป่าของอุทยานแห่งชาติ

ล่าสุด คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ออกมาเคลื่อนไหวก่อนที่จะมีการปิดรับฟังความเห็น ในวันที่ 12 ก.ค. ประเด็นปรับปรุงแนวเขตของอุทยานทับลาน โดย พูนศักดิ์ จันทร์จำปี ในฐานะประธานคณะกมธ. ที่ดินฯ ให้เหตุผลเนื่องจากพื้นที่เขตป่าทับลานนั้น เป็นปัญหาซับซ้อน

เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานราชการ จึงต้องขอมติที่ประชุม เพื่อที่จะนำเรื่องพิจารณาในที่ประชุมใหญ่ วันที่ 17 ก.ค.นี้

นายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร
นายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ที่ดินฯ (แฟ้มภาพ)

สาเหตุที่ต้องกำหนดระยะเวลาประชุมนานเกือบสัปดาห์ เนื่องจากต้องรอการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจะสิ้นสุดในวันที่ 12 ก.ค. จากนั้นทางอุทยานฯ ต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลใน 30 วัน จึงต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมข้อมูลเพื่อนำเข้าที่ประชุม กมธ.ในวันที่ 17 ก.ค.2567 ตามที่ระบุ

ทั้งนี้ เรื่องอุทยานแห่งชาติทับลานเคยเข้าที่ประชุม กมธ.แล้ว จึงยังมีข้อมูลแล้วบ้าง เบื้องต้นต้องแบ่งผู้เกี่ยวข้องเป็น 3 กลุ่มหลัก ทั้งหมดเป็นกลุ่มคนอยู่ในพื้นที่ทับซ้อนของป่าทับลาน

กลุ่ม 1. คนที่เคยอยู่มาก่อน เป็นกลุ่มคนดั้งเดิม หรือเป็นคนที่หน่วยงานรัฐนำเข้ามา

กลุ่ม 2. เป็นกลุ่มคนที่เจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้เข้ามาในพื้นที่ของอุทยานฯ หลังจากประกาศเขตตั้งอุทยานฯ ซึ่งก็มีสิทธิที่จะสามารถเข้ามาทำประโยชน์ได้ ตามที่รัฐบาลออกสิทธิให้เพื่อการเกษตรกร

กลุ่ม 3. คือกลุ่มคนที่มีคดีกับทางอุทยานฯ มีอยู่ประมาณ 552 คดี

ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นภาพของ ตัวละคร 3 กลุ่มนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น กลุ่ม Land Watch THAI จับตาปัญหาที่ดิน เคยออกมาเิดเผยข้อมูลเมื่อวันที่ 9 ก.ค.67 ระบุที่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เกิดการปฏิรูประบบราชการ และจัดตั้ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขึ้นมาเป็นหน่วยงานใหม่ กรมอุทยานได้แบ่งกลุ่มและแนวทางในการแก้ไขปัญหาออกเป็น 3 แนวทางอย่างชัดเจน ดังนี้

กลุ่มที่ 1 พื้นที่ทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน อ.วังน้ำเขียว อ.ครบุรี และอ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา เนื้อที่ 58,582 ไร่
กลุ่มที่ 2 พื้นที่จัดที่ดินทำกินตามโครงการจัดสรรที่ดินทำกินแก่ราษฏรผู้ยากไร้ (คจก.) อ.เสิงสาง อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา และ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี เนื้อที่ 59,183 ไร่ สภาพเป็นพื้นที่ที่กินและที่อยู่อาศัยของชาวบ้านเต็มพื้นที่เห็นควรให้ดำเนินการตามมติ ครม.ตามมติ ค.ร.ม. 30 มิถุนายน พ.ศ.2541
กลุ่มที่ 3 กลุ่ม 3 ราษฎรที่อยู่อาศัย/ทำกินในเขตอุทยานฯ ทับลาน และปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2541 เนื้อที่ 152,072 ไร่.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button