ข่าว

เปิดภาพจริง พื้นที่ทับซ้อน “ป่าทับลาน” ไม่ใช่เฉือนป่า 2.6 แสนไร่ โต้เขียวตกขอบ

เปิดภาพจริง พื้นที่ทับซ้อนป่าทับลาน หมูบ้านขึ้นหนาแน่นแล้ว ไม่ใช่เป็นการไปเฉือนป่า 2.6 แสนไร่ ย้ำชัด ชาวบ้านอยู่ตรงนี้มาก่อนตั้งแต่ปี 24 อ้างกลัวกลุ่มทุนฮุบที่เหมาเข่ง ตรรกะที่วิบัติมาก

กำลังเป็นประเด็นที่เปิดข้อมูลอีกมุม กรณีปัญหาเขตพื้นที่ทับซ้อน อุทยานแห่งชาติป่าทับลาน จ.ปราจีนบุรี จ.นครราชสีมา และ จ.สระแก้ว โดยก่อนที่วันนี้ (10 ก.ค.) คณะทำงาน กมธ. ที่ดินฯ จะรับเรื่องร้องเรียนจาก มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ล่าสุดบนเทรนด์ #Saveทับลาน ก็ได้มีการอธิบายถึงเขตพื้นที่ทับซ้อนกับความเป็นจริง พร้อมกับลงภาพประกอบ คล้ายจะสื่อว่าคนจำนวนมาก อาจจะกำลังหลงประเด็น

Advertisements

ตัวอย่างผู้ใช้บัญชีเอ็กซ์รายหนึ่ง ระบุ “เผื่อใครนึกภาพไม่ออก รูปแรกคือทับลานที่ทุกคนเข้าใจ สองรูปต่อมาคือพื้นที่ทับซ้อนที่เราพูดถึง เข้าใจได้ว่าเมื่อพูดถึงทับลานทุกคนคงนึกถึงภาพแรก แต่จริงๆ การเประกาศอุทยานมันมีพื้นที่ทับซ้อนที่เป็นหมู่บ้าน ชุมชน มาก่อนที่จะประกาศ เราไม่ได้เอาพื้นที่ป่าชั้นในมา #saveชาวบ้านทับลาน”

ทับลานลงชื่อ
ภาพ @Facebook
อุทยานแห่งชาติทับลานบ้านโนนสูง
ภาพ @Facebook
ทับลานอยู่จังหวัดอะไร
ภาพ @Facebook
เขตพื้นที่ทับซ้อนป่าทับลาน
ภาพ @Facebook

ทั้งนี้ จากภาพตัวอย่างจะสังเกตเห็นว่า ภาพซ้ายมือกับขวามือ ซึ่งอธิบายจากรูปจะเห็นว่า พื้นที่ทับซ้อนซึ่งเป็นปัญหา แต่ก่อนเป็นหมู่บ้านและชุมชนมานานแล้ว

พื้นที่ทับซ้อนทับลาน ความจริง

ด้าน ศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา ม.เชียงใหม่ กล่าวถึงการกันพื้นที่ อุทยานแห่งชาติทับลาน 2.6 แสนไร่ ก็ย้ำชัดเจนว่า “เห็นด้วย” กับเรื่องนี้ เนื่องจากการจัดตั้งอุทยานที่ผ่านมาจัดทำโดยไม่ได้สนใจที่ดินทำกินของชาวบ้าน

ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา ระบุ สิ่งที่พวกกลุ่มอนุรักษ์ตั้งใจไม่พูดถึงคือ อุทยานแห่งชาติหลายแห่ง จัดตั้งโดยไม่เคยสนใจที่จะสำรวจและกันพื้นที่ทำกินของชาวบ้านที่อยู่มาก่อนออกก่อนที่จะประกาศเป็นเขตป่า

Advertisements

การใช้วาทกรรม “ผืนป่าที่ถูกเฉือน” ของกลุ่มอนุรักษ์บางกลุ่ม จึงเป็นการจงใจบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อปั่นกระแสเขียวตกขอบในหมู่ชนชั้นกลางอย่างจงใจ ทั้งที่ในความเป็นจริง ผืนดินทำกินของชาวบ้านต่างหากที่ถูกเฉือนไปเซ่นป่าอนุรักษ์มานานหลายสิบปี อุทยานประกาศปี 2524 ชาวบ้านบางกลุ่มอยู่กันมาตั้งแต่ก่อนปี 2515 ด้วยซ้ำไป แบบนี้ไม่เรียกว่าอุทยานบุกรุกที่ชาวบ้าน จะให้เรียกว่าอะไร

ศ.ดร.ปิ่นแก้ว บอกด้วยว่าการใช้ข้ออ้างเรื่องกลัวกลุ่มทุนจะมาฮุบที่เหมาเข่ง ดังนั้น จึงไม่ควรเพิกถอนป่าที่ไปแย่งชาวบ้านเขามา และคืนสิทธิให้กับเจ้าของที่ดินที่อยู่มาก่อน จึงเป็นตรรกะที่วิบัติมาก.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button