สุขภาพและการแพทย์

อ.เจษฎ์ เคลียร์ชัด “ปาท่องโก๋” กินได้ ไม่เกี่ยว “แอมโมเนีย” ชี้ไขมันอันตรายกว่า

อาจารย์ เจษฎา โพสต์ชัด หยุดแชร์ข่าว “ห้ามกิน ปาท่องโก๋ เพราะอาจเป็นอันตรายจากสารแอมโมเนีย” ขี้ข่าวมั่วเกินจริง เนื่องจากภัยร้ายที่แฝงมากับน้ำมันน่ากลัวกว่า

เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 67 “อ.เจษฎ์” ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ โพสต์เฟซบุ๊กเตือนภัย กรณีโซเชียลแห่แชร์ข่าว “ไม่ควรกินปาท่องโก๋ เพราะมีการใส่ เช้าก่า (แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต) ในการกระบวนการทอด ที่ส่งผลให้ไตทำงานหนัก” ว่าข่าวต้นทางไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด พร้อมระบุข้อมูลเพิ่มเติมว่าไขมันอิ่มตัว ต่างหากที่อันตรายต่อร่างกายมากกว่าแอมโมเนียมไบคาร์บอเนต

Advertisements

โดยแจงสาเหตุว่า ไขมันอิ่มตัวจะไปทำลายคลอเรสเตอรอลชนิดดี หรือเอชดีแอล (HDL) ที่มีประโยชน์ในร่างกาย และไปเพิ่มคลอเรสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ซึ่ง LDL มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ คือ โรคความดัน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง และโรคระบบภูมิต้านทานให้ทำงานผิดปกติ

อ.เจษฎ์ โพสต์ชัด ปาท่องโก๋ กินได้ ไม่เกี่ยวแอมโมเนีย
ภาพจาก: Jessada Denduangboripant

นอกจากนี้ การได้รับสารแอมโนเนียผ่านการสูดดมมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองในลำคอได้ ซึ่งคนที่จะได้รับปริมาณสารดังกล่าวเป็นจำนวนมากมักจะเป็นคนทอดปาท่องโก๋เสียมากกว่าผู้บริโภค ดังนั้นจึงควรโฟกัสกับอันตรายจากไขมันอิ่มตัวและแคลอรี่แทนที่จะเป็นสารแอมโมเนีย

อีกทั้ง อ.เจษฎ์ ยังแนะนำเคล็ดลับกินปาท่องโก๋ยังไงให้ดีกับผู้บริโภคอีกด้วย โดยเริ่มต้นจากการสังเกตน้ำมันในกะทะทอดของร้านค้า ต้องมรสีเหลืองใส ไม่คล้ำ พร้อมกินปาท่องโก๋คู่กับน้ำเต้าหู้ใส่ธัญพืชเยอะ ๆ เพราะธัญพืชดังกล่าวจะช่วยไล่ไขมันในปาท่องโก๋ได้ และช่วยไม่ให้แป้งในปาท่องโก๋ ดูดซึมเร็วเกินไป จนทำให้หิวง่าย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Advertisements

yo

First jobber Gen z ใหม่แกะกล่องส่งตรงจาก อักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. งานอดิเรกชอบท่องโลกออนไลน์ เล่นกับแมว เที่ยวกับครอบครัว อ่านมังงะ เล่นเกม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button