วิธีลงนามถวายพระพร กรมพระศรีสวางควัฒนฯ 3-5 กรกฎาคม 2567 ออนไลน์
สำนักพระราชวัง เปิดช่องทางลงนามถวายพระพรแบบออนไลน์ “กรมพระศรีสวางควัฒนฯ” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 4 กรกฎาคม 2567
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน สำนักพระราชวัง เชิญชวนประชาชนชาวไทยร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ในสิริอายุ 67 พรรษา ผ่านเว็บไซต์ หน่วยราชการในพระองค์ ระหว่างวันที่ 3 – 5 กรกฎาคม 2567 โดยมีขั้นตอนการถวายพระพรดังนี้
วิธีถวายพระพร กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ผ่านเว็บไซต์
1. ขั้นเริ่มต้นให้ท่านผู้อ่านเข้าไปยังเว็บไซต์ https://www.royaloffice.th/ จากนั้นคลิก “ร่วมลงนามถวายพระพร”
2. กรอกข้อมูลส่วนตัวที่จำเป็น เช่น ชื่อ-นามสกุล หน่วยงาน/ที่อยู่ (ถ้ามี) และหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี) พร้อมติ๊กเครื่องหมายถูก “ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ”
3. จากนั้นคลิก “ลงนามถวายพระพร” ก็จะเป็นอันเสร็จสิ้นการลงนาม
ทั้งนี้ สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมเจริญอริยมรรค “สัมมาทิฏฐิ” ระลึกถึงพระรัตนตรัย ว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ยึดถือ อันเป็นทางเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้โดยชอบ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี วันที่ 4 กรกฏาคม 2567 ผ่านแอปพลิเคชัน “สมาธิเสบียงบุญ”
ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฏาคม 2567 โดยสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ทั้ง PLAY STORE และ APP STORE
Play store >>> https://play.google.com/store
App Store >>> https://apps.apple.com/th/app
พระราชประวัติ กรมพระศรีสวางควัฒนฯ
ศาสตราจารย์(พิเศษ) พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต และทรงเป็นพระขนิษฐา (น้องสาว) ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสำเร็จการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี เกียรตินิยมอันดับ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมต่อยอดการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศเรื่อยมา และได้เป็นผู้ก่อตั้ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เพื่อคุณประโยชน์ในการศึกษาวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ธนบัตรเฉลิมพระเกียรติ ในหลวง ร.10 ธปท. เปิดให้แลก 23 ก.ค. 67
- ในหลวงฯ โปรดเกล้า พระราชทานชื่อ รถไฟสายสีเหลือง ‘นัคราพิพัฒน์’
- ในหลวง โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งพระครูพราหมณ์ 7 คน