ข่าว

สุ่มตรวจ ‘ตู้กดน้ำดื่ม’ ใน รร. อึ้ง เจอ ‘ตะปูตอกกลางสายไฟ’ กฟภ.อุตรดิตถ์ สั่งระงับใช้ชั่วคราว

กฟภ.อุตรดิตถ์ ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบ “ตู้กดน้ำดื่ม” ภายในโรงเรียน พบ ส่วนใหญ่ไม่ปลอดภัย-มีกระแสไฟรั่ว เบื้องต้นสั่งระงับการใช้งานเพื่อความปลอดภัย

จากกรณีเด็กนักเรียนจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง ถูกไฟดูดเสียชีวิตคาตู้กดน้ำดื่มสแตนเลส เผยสาเหตุมาจากน้ำฝนโดนเบรกเกอร์ที่อยู่ด้านหลังตู้น้ำเก่า ทำให้กระแสไฟรั่วลงพื้นที่เฉอะแฉะบริเวณนั้น

โศกนาฏกรรมเช่นนี้ไม่ใช่เหตุครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นั่นทำให้หลาย ๆ ครั้งที่เกิดเหตุสลดเช่นนี้มักจะกระตุ้นให้เกิดการตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือระบบไฟฟ้าภายในอาคารสักครั้งหนึ่ง

ตู้กดน้ำไฟรั่ว เด็กนร.โดนไฟดูด ดับสลด ไม่มีใครกล้าเข้าช่วย-1

ล่าสุด 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทีมงาน Thaiger มีโอกาสได้ติดต่อสัมภาษณ์ นายณภัทร อินทรเทศ พนักงานกฟภ.จังหวัดอุตรดิตถ์ หลังจากที่เจ้าตัวได้โพสต์ภาพสายไฟถูกตอกหมุดที่กลางสาย เพื่อยึดติดกับผนังไม้ ซึ่งอันตรายอย่างมาก พร้อมพูดถึงเคสไฟดูดนักเรียนที่จ.ตรัง ว่า ตนได้รับคำสั่งจาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ให้ลงพื้นที่เพื่อสุ่มตรวจ ‘ตู้กดน้ำดื่ม’ ภายในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านโคก จ.อุตรดิตถ์

“จากเหตุการณ์ไฟดูดเด็กนักเรียนเสียชีวิต กฟภ. ดำเนินการออกตรวจสอบระบบไฟตู้น้ำโรงเรียนในเขตพื้นที่การดูแล

วันนี้จึงออกตรวจ พบหลายตู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ยอมใจคนทำจริงๆ #ถ้าตรงตามมาตรฐานจะไม่เกิดเหตุ

จากการสอบถามเบื้องต้น เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวให้ข้อมูลกับทีมงานว่า ตู้กดน้ำดื่มทั้งแบบตู้สแตนเลส และตู้กดที่ต้องยกขวดเติมน้ำ พบมีกระแสไฟฟ้ารั่วจากการที่ไม่ได้ติดตั้งระบบตัดไฟรั่ว จึงได้ทำการสั่งให้ทางโรงเรียนระงับการใช้งานชั่วคราวเพื่อความปลอดภัยของนักเรียนและบุคลากร

นายณภัทร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เหตุการณ์สลดที่เกิดขึ้นทำให้กระตุ้นการตรวจสอบแบบเจาะจงไปที่ “ตู้กดน้ำ” เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดก็เสี่ยงต่อไฟรั่วไฟดูดได้เช่นเดียวกันหากไม่มีมาตรฐาน ในส่วนที่มีโอกาสได้ไปตรวจสอบบางโรงเรียนก็มีทั้งจุดที่ติดตั้งระบบกันไฟดูดแล้ว แต่ในบางจุดก็ยังไม่ได้รับการติดตั้ง อาจจะเป็นเพราะการติดตั้งระบบไฟฟ้าทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ด้วย

สุดท้ายพนักงานกฟภ.ได้ฝากเตือนเรื่องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างระมัดระวังและปลอดภัย ควรมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าอยู่บ่อยครั้ง ไม่ใช่ตรวจสอบหลังจากเกิดเหตุร้ายไปแล้ว นอกจากนี้บุคลากรก็ควรต้องมีความรู้ขั้นพื้นฐานที่ถูกต้องเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูด นอกเหนือจากการทำ CPR หรือการซักซ้อมดับเพลิง

กฟภ.อุตรดิตถ์ สั่งตรวจ ตู้กดน้ำ ส่วนใหญ่ ไม่ผ่านเกณฑ์-มีกระแสไฟรั่ว-1
ภาพจาก : FB Cartoon Naphathara

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิงจาก : FB Cartoon Naphathara

GIFT T.

Rewriter สาวจากรั้วสวนดุสิต เก็บเกี่ยวประสบการณ์งานข่าวมากว่า 5 ปี ชื่นชอบการส่งต่อเรื่องราวเกี่ยวกับ ไลฟ์สไตล์ หวย และข่าวบันเทิง พร้อมเปิดมุมมองใหม่ ๆ ให้นักอ่านได้เห็นประเด็นรอบด้านมากยิ่งขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button