หนุ่มเดนมาร์ก มีอาการอสุจิไม่วิ่ง ผลชันสูตรชี้ ‘วัคซีนโควิด’ อาจเป็นตัวการ
หมอธีระวัฒน์ ยกเคสตัวอย่าง หนุ่มเดนมาร์กเสียชีวิต หลังฉีด ‘วัคซีนโควิด’ 134 วัน ผลชันสูตรศพชี้ มีอาการอสุจิไม่วิ่ง ซ้ำมีโปรตีนหนามในเซลล์อสุจิ อาการร่วมกับผู้เสียชีวิตรายอื่น คาดวัคซีนอาจมีส่วนให้เกิดปัญหา
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อดีตหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ออกมาโพสต์ให้ความรู้ ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เผยข้อมูลการวินิจฉัยจากต่างประเทศที่ชี้ให้เห็นว่า วัคซีนโควิด อาจส่งผลข้างเคียงที่ทำให้อสุจิไม่วิ่ง
อ้างอิงจากรายงานของประเทศเดนมาร์ก ที่มีการเปรียบเทียบจำนวนอสุจิ ในระยะเวลาตั้งแต่ปี 2017 ถึง 2022 พบว่า กลุ่มเพศชายจำนวนมาก มีภาวะ “อสุจิไม่ค่อยวิ่ง” หรือการที่เชื้อไม่สามารถเดินทางจากลูกอัณฑะออกมาข้างนอกได้ โดยปัจจัยอาจมาจากตัวแปรในเรื่องอารมณ์ จากการออกจากบ้านไม่ได้ในช่วงล็อกดาวน์
ในขณะเดียวกัน อีกสาเหตุหนึ่งก็อาจจมาจากการฉีด ‘วัคซีนโควิด’ เพราะหากวิเคราะห์จากผลการชันสูตร 100 ศพ ของศาสตราจารย์ Arne Burkhardt และคณะจากประเทศเยอรมัน พบผู้ป่วยชาย วัย 28 ปี เสียชีวิตภายใน 134 วัน หลังฉีดวัคซีน ซึ่งความเชื่อมโยงคือ เมื่อทำการตรวจเนื้อเยื่อก็พบว่ามีโปรตีนหนามจากวัคซีนแทรกอยู่ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงอยู่ในเซลล์ที่ผลิตอสุจิด้วย
“อสุจิไม่วิ่ง รายงานจากประเทศเดนมาร์กน่าสนใจ เทียบจำนวนอสุจิในระยะเวลาต่าง ๆ แต่ปี 2017 ถึง 2022 พบว่าหนุ่ม ๆ อสุจิไม่ค่อยวิ่ง แม้ว่าอาจจะมีตัวแปรในเรื่อง อารมณ์ เช่นออกจากบ้านไปไหนไม่ได้เพราะล็อกดาวน์ เรื่องฤดูกาล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยเห็นว่าควรเป็นเรื่องที่ต้องหาสาเหตุ ไม่เช่นนั้นประชากร หนุ่มสาวคงหดไปเรื่อยไป เหลือแต่สังคมสูงวัp
อีกสาเหตุ ที่อสุจิไม่ค่อยวิ่ง หรือ แม้แต่ทำให้จำนวนลดลงได้ก็ตาม มาจากการชันสูตร 100 ศพ ของศาสตราจารย์ Arne Burkhardt และคณะจากเยอรมนี
ในภาพที่ยกตัวอย่างนี้ เป็นรายหนึ่งที่เชื่อมโยงกับวัคซีน อายุ 28 ปี เสียชีวิต 134 วันหลังฉีด ซึ่งจะหาความเชื่อมโยงไม่ได้เลยถ้าไม่ได้ทำการตรวจเนื้อเยื่อ โดยพบว่ามีโปรตีนหนามจากวัคซีน แทรกอยู่ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย โดยไม่ได้มีตัวไวรัสอยู่ และตามรูปโปรตีนหนามนี้ อยู่ในเซลล์ที่ผลิตอสุจิด้วยนอกจากนั้นต่อมลูกหมากมีการอักเสบอยู่ด้วย
(การชันสูตร 100 รายนี้ต้องครบถ้วนในข้อกำหนดว่าไม่ได้ตายจากไวรัสและต้องมีโปรตีนหนามจากวัคซีนอยู่ในเนื้อเยื่อ และมีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจนกระทั่งได้ลักษณะเฉพาะตัว) โพสต์นี้ ไม่ได้บิดเบือนข้อมูลใด ๆ ทั้งสิ้น ที่รายงานในวารสารและข้อมูลจากการตรวจสอบเป็นการแสดงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างหนึ่ง”
อย่างไรก็ดี จุดประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ก็เพื่อสืบหาสาเหตุที่แน่ชัด ก่อนที่ในอนาคตอาจจะเกิดปัยหาประชากรหนุ่มสาวลดลงเรื่อย ๆ และกลายเป็นสังคมสูงวัยในที่สุด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ‘โมเดอร์นา’ เตรียมเปิดตัว วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่-โควิด เข็มเดียวครอบคลุม 2 in 1
- เคสอุทาหรณ์ หญิงร่างกายแข็งแรง ป่วยเชื้อราเข้าปอด แพทย์ชี้ ‘ขี้นก’ เป็นเหตุ
- เคสสยอง คนไข้กินเม็ดกระท้อน ไส้แตก หมอผ่าตัดเตือน กินไม่ได้ เสี่ยงตาย