เปิดวิธีสมัครสมาชิก กอช. กองทุนการออมแห่งชาติ ผ่านแอปพลิเคชัน สมัครได้ง่าย ๆ ที่บ้าน สะสมเงินออมไว้กับรัฐ พร้อมรับเงินสมทบต่อปีมากสุด 1,200 บาท เช็กเงื่อนไขที่นี่เลย
ต้องบอกจริง ๆ เลยว่าการออมเงินถือเป็นหนึ่งในวิธีที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการควบคุมรายรับ-จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในบทความนี้ทางทีมงาน Thaiger จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จัก กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนการออมที่เหมาะกับพี่น้องคนไทยทุกคน ที่มีนโยบายสำหรับไว้เพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายของแรงงานเมื่อเกษียณอาชีพ หากท่านผู้อ่านทคนไหนสนใจ สามารถอ่าน วิธีสมัครสมาชิก กอช. ผ่านแอปพลิเคชัน ได้ที่นี่เลย
วิธีการสมัคร กอช. ผ่านแอปพลิเคชัน
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เป็นหน่วยงานของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมของสมาชิกและเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญให้แก่สมาชิกเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ โดยมีเงื่อนไขผู้มีสิทธิ์การสมัครดังนี้
– สัญชาติไทย
– อายุ 15 – 60 ปี
– ไม่อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่นที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้าง (ผู้ประกันตนมาตรา 40 (1) สามารถสมัครได้)
– ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐหรือเอกชน เช่น นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร พ่อค้า แม่ค้า มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนขับแท็กซี่ พ่อบ้าน แม่บ้าน บุคคลรัฐจ้างทั่วไป
ขั้นเริ่มต้นการสมัคร ให้เราดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน กอช. ตามระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์ที่เราต้องการใช้งาน
- ระบบ แอนดรอย >>> https://play.google.com/store/apps/
- ระบบ ไอโอเอส >>> https://apps.apple.com/th/app
1. เมื่อดาวน์โหลด ติดตั้ง แอป กอช. แล้ว จากนั้น อ่านเงื่อนไขการสมัครให้ชัดเจน และกด “ยอมรับ”
2. กรอกข้อมูลการสมัคร จากนั้นกด “ตรวจสอบข้อมูล”
3. กรอกข้อมูลทั่วไปให้ครบถ้วน
4. กรอกข้อมูลผู้รับผลประโยชน์ จากนั้นกด “ตกลง”
5. กรอกข้อมูล (เพิ่มบุคคลที่ติดต่อได้) จากนั้นกด “ถัดไป”
6. เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วแล้วให้กด “ตกลง”
7. ในขั้นตอนสุดท้าย ให้เราทำการ ส่งเงินออมงวดแรก โดยกรอกข้อมูลดังต่อไปนี้
- กรอก จำนวนเงินออม
- เลือก วิธีการส่งเงินสะสม
- เลือก รหัสโครงการตามที่หน่วยงาน หรือ กอช. กำหนด (ไม่จำเป็นต้องระบุ)
- กดปุ่มบันทึก
8. จากนั้นกดปุ่มบันทึกให้เรียบร้อย ทางระบบจะแสดง “ใบนำส่งเงิน” (NSF Payment) เพียงเท่านี้ก็จะเป็นอันเสร็จสิ้น
รวมสิทธิประโยชน์เมื่อสมัครสมาชิก กอช. และเงื่อนไขการออม
นอกเหนือจากจะได้รับเงินสมทบจากรัฐบาลสูงสุด 100% ตามช่วงอายุแล้ว ยังได้รับผลตอบแทนจากการนำเงินไปลงทุนอีกด้วย เมื่อสมาชิกอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิ์รับเงินบำนาญตลอดชีพ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระและสร้างความมั่นคงในวัยเกษียณ เช่น
– อายุ 15-30 ปี ได้เงินสมทบจากรัฐบาล 50% ของเงินสะสม ได้รับเงินสมทบสูงสุด 600 บาทต่อปี
– อายุ 31-50 ปี ได้เงินสมทบจากรัฐบาล 80% ของเงินสะสม ได้รับเงินสมทบสูงสุด 960 บาทต่อปี
– 51 ปีขึ้นไป ได้เงินสมทบจากรัฐบาล 100% ของเงินสะสม ได้รับเงินสมทบสูงสุด 1,200 บาทต่อปี
เงื่อนไขการออมเงินต่อเนื่อง กอช.
1. ออมขั้นต่ำ 50 บาทต่อครั้ง ตลอดทั้งปี (ม.ค. – ธ.ค.) ส่งเงินออมรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 13,200 บาท
2. ในระหว่างปี (ม.ค. – ธ.ค.) จะส่งเงินออมอย่างไรก็ได้ตามความสะดวก ไม่จำเป็นต้องส่งทุกเดือน ยอดเงินที่ออมก็ไม่
จำเป็นต้องเท่ากันทุกครั้งที่ส่ง แต่ในหนึ่งเดือนส่งเงินได้ 1 ครั้งเท่านั้น
3. มีสิทธิออมได้จนถึงอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แล้วต้องยุติการออม โดย กอช. จะแจ้งให้สมาชิกขอรับเงินคืน
4. กอช. จะจ่ายเงินคืนสมาชิกแบบแบ่งจ่ายเป็นรายเดือนเท่านั้น โดยจะจ่ายคืนให้เดือนละเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับจำนวนเงิน
ทั้งหมดที่สมาชิกมีอยู่กับกองทุน ซึ่งประกอบด้วย
– ส่วนที่ 1) เงินออมของสมาชิก
– ส่วนที่ 2) เงินสมทบจากรัฐบาล
– ส่วนที่ 3) ดอกผลของเงินส่วนที่ 1 และ 2 รวมกัน แล้วน ามารวมกันเพื่อคำนวณหายอดเงินคืนแต่ละเดือน
5. ถ้าเมื่อคำนวณแล้วได้ผลลัพธ์ไม่น้อยกว่า 600 บาทต่อเดือน สมาชิกจะได้รับเงินคืนเป็นประจำทุกเดือน ตามผลลัพธ์ที่
คำนวณได้ ไปจนกว่าสมาชิกจะเสียชีวิต ถึงแม้ว่าเงินในบัญชีของสมาชิกจะหมดลงแล้ว เรียกว่า บำนาญตลอดชีพ
6. ถ้าเมื่อคำนวณแล้วได้ผลลัพธ์น้อยกว่า 600 บาทต่อเดือน สมาชิกจะได้รับเงินคืนเดือนละ 600 บาททุกเดือน จนเมื่อ
เงินในบัญชีของสมาชิกหมดลง กอช. จะหยุดจ่ายคืน เรียกว่า เงินดำรงชีพ
7. ถ้าสมาชิกขอลาออกจากกองทุนก่อนอายุครบ 60 ปี สมาชิกจะได้รับเงินคืนเฉพาะในส่วนที่ 1) เงินออมของสมาชิก
และดอกผลของเงินออมส่วนที่ 1 โดย กอช. จะรวมจ่ายคืนให้ในครั้งเดียว
8. ถ้าสมาชิกเสียชีวิต กอช. จะจ่ายเงินทั้งหมด คือส่วนที่ 1) เงินออมของสมาชิก ส่วนที่ 2) เงินสมทบจากรัฐบาล และ
ส่วนที่ 3) ดอกผลของเงินส่วนที่ 1 และ 2 รวมกัน แล้วจ่ายคืนให้กับผู้รับผลประโยชน์/ทายาทของสมาชิกในครั้งเดียว
ทั้งนี้ นอกจากการสมัครผ่านแอปพลิเคชันแล้ว ยังสามารถสมัครได้ที่ธนาคาร ธอส., ธ.ก.ส., ออมสิน และ กรุงไทย หรือเคาน์เตอร์ 7-Eleven และ เทสโก้ โลตัส ทุกสาขา และบริการของไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศกว่า 1,500 แห่ง โดยไม่มีค่าธรรมเนียม ได้เลย โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ ดังนี้.
***สมัครด้วยตัวเอง หรือ มอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้***
- บัตรประชาชนของผู้สมัคร (กรณีมอบอำนาจต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ 2 ชุด และผู้รับมอบอำนาจ 1 ชุด)
วิธีการส่งเงินออมต่อเนื่อง
สำหรับการส่งเงินออม กอช. สามารถทำได้ทั้งหมด 3 วิธี ตามดังนี้
– ส่งเงินผ่านตู้บุญเติม
– ส่งเงินผ่านแอป กอช. หรือ E-Service ในหน้าเว็บไซต์ของ กอช.
เริ่มต้นให้เรากดไปที่ลิงก์ >>> https://eservice.nsf.or.th/qrcode/payment จากนั้นกดส่งเงินในช่องทางที่เราเลือกไว้ตอนสมัครสมาชิกครั้งแรก
* แนะนำให้ใช้งานคู่กับแอปโมบายแบงค์กิ้ง โดยเลือกวิธีการส่งเงินสะสมเป็น “หักบัญชีผ่าน KTB Next/เป๋าตังค์/K PLUS/MyMo/A-Mobile Plus” หรือ “รับคิวอาร์โค๊ดส่งเงินผ่านแอปธนาคารพร้อมเพย์” ตามแอปโมบายแบงค์กิ้งที่ท่านมีอยู่ โดยไม่มีค่าธรรมเนียม*
– ส่งเงินผ่านโมบายแบงก์กิ้งหรือแอปฯ ของผู้ใช้บริการ เช่น
- KrungThaiNEXT
- เป๋าตังค์
- MyMO
- BAAC Mobile
- K-plus
- ทรูมันนี่
- แอปออมเพลิน
โดยให้เราไปที่เมนู “จ่ายบิล” จากนั้นค้นหาคำว่า กอช. แล้วเลือกกองทุนการออมแห่งชาติ กรอกหมายเลขบัตรประชาชนและจำนวนเงิน ให้เรียบร้อย ก็จะเป็นอันเสร็จสิ้น
อ้างอิง : รัฐบาลไทย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- หญิงสาววัย 23 เผยวิธีออมเงิน ทำอย่างไรให้มีเงินเก็บ 1.3 ล้านบาท บอกหมดที่นี่
- กอช. ชวนออมเงินให้ลูกหลาน เดือนละ 300 รัฐช่วยอีก 150 บาท
- แนะนำ แอปออมเงิน ‘Kept by krungsri’ ดอกเบี้ยสูงสุด 1.7% ต่อปี ไม่มีขั้นต่ำเปิดบัญชี