ไวรัล “คาแรกเตอร์มหาวิทยาลัย” เปรียบโลกการศึกษาเป็นละคร ใครนางเอก ดาวร้าย
เกาะกระแสเทรนด์ฮิต จากกระทู้การสนทนาในหัวข้อ Dek67 หรือเด็กปี 67 ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งตั้งคำถามว่า เหตุใดเวลาพูดถึง มหาวิทยาลัยอันดับท็อปของประเทศ มักไม่ค่อยมีชื่อของ มหาวิทยาลัยมหิดล เพราะคิดว่ามหิดลก็คือหนึ่งในมหาวิทยาลัยเบอร์ต้น ๆ เช่นกัน ข้อความนี้ทำให้เกิดการตอบสนองจากผู้ใช้โซเชียลมีเดียมากมาย
หนึ่งในผู้ใช้เอ็กซ์ (ทวิตเตอร์) ชื่อว่า My name is Alice ได้โควตโพสต์และตอบคำถามนี้ด้วยการเปรียบเทียบคาแรกเตอร์ของมหาวิทยาลัยในรูปแบบของละคร โดยกล่าวว่า
“ก็เพราะ character มหิดลอะ เอาง่าย ๆ ว่าถ้าเป็นละคร จุฬา = นางเอก มธ = นางร้าย มก = พระเอกลุคติดดิน มศว = เพื่อน/พี่กะเทย ตัวละครพวกนี้มักได้ซีนใหญ่เสมอในสังคมไทย ส่วน มหิดล = หมอ หรือ นักวิทย์ ที่ออกมาบอกผลแล็บ/รักษาอะไรสักอย่าง ส่วน ศิลปากร = ไม่ติสท์มากก็บทคนบ้าหรือผีนางรำ จบ”
โพสต์นี้ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม มีการแชร์ออกไปจำนวนมาก ทำให้เธอได้เพิ่มตัวละครและมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม เช่น
- 3 พระจอม: เป็นแฝด 3 ที่เป็นเพื่อนกับ มก
- พระนครเหนือ: พี่ใหญ่ลุคเถื่อน ๆ ชายแท้ช่างกล
- บางมด: ไบรุก เนิร์ดสาย IT ที่แอบหวั่นไหวกับ มก
- ลาดกระบัง: น้องคนเล็กสุดหล่อ ขี้เหล้า ช่างไฟฟ้า
- มข: ดาวหมอลำสาวผู้โด่งดังที่ มธ ชื่นชอบ
- มช: เก้งรับหนุ่ม ขาวตี๋ หน้าใสเพื่อนนางเอก
- ม.อ.: พี่บ่าวชาวเลตังเกของใหญ่ที่น้องมชแอบรัก
- ม.บู: พี่เจ้าของร้านเหล้าริมทะเล
- มน.: ไม่ได้รับบทเป็นมนุษย์ แต่ได้รับบทเป็นยุงแทน
บทวิเคราะห์นี้ยังไม่จบเพียงแค่นี้ เพราะเธอยังได้เพิ่มตอนพิเศษที่เปรียบเสมือนตอนจบของละครที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อีกด้วย
“มทส = วิศวกรหน้าใหม่ไฟแรง ผลงานโดดเด่นในที่ทำงาน เพื่อน มก. เป็นเด็กต่างจังหวัดและเป็นเจ้าของพื้นที่ไร่ป่ามันกว่า 7,000 ไร่ , แม่โจ้ = ตัวละครพี่ว้ากสมัยมหาลัยตอนที่นางเอกกับพระเอกเจอกันครั้งแรก, วลัยลักษณ์ = เด็กเลี้ยงวัว ที่มาเจอและช่วยนางเอกในไร่ที่นางเอกโดนลักพาตัวมา และนครพนม = พญานาคที่มาพ่นบั้งไฟให้พระเอกกับนางเอกดูตอนทั้งสองผ่านเรื่องราวทุกอย่างมาแล้ว จบบริบูรณ์”
โพสต์นี้ไม่เพียงแค่สร้างความบันเทิงและเสียงหัวเราะ แต่ยังเป็นการสื่อสารและแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่เข้าถึงได้ง่ายและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างความสนใจและการมีส่วนร่วมในประเด็นที่หลากหลาย
อ้างอิง : X (Twitter)