ปม ‘น้องไนซ์’ ตอบพม. วิปัสสนาคือการซูม ‘วราวุฒิ’ เผยแนวทาง หากแม่ไม่ให้ความร่วมมือ
พม. ส่งเรื่องขอศาลช่วย หลัง น้องไนซ์ ตอบคำถามยามไม่มีผู้ปกครองประกบยังน่าห่วง บอกวิปัสสนา คือ การซูม ด้าน วราวุฒิ วางกรอบแนวทาง หากผู้ปกครองยังปัดร่วมมือ
ยังคงลุกลามเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมไม่จบ กรณีกลุ่มคนที่แจ้งความเอาผิดกับ “ลัทธิเชื่อมจิต” ซึ่งมี น้องไนซ์ ด.ช. อายุ 8 ขวบ ถูกกล่าวหาว่า ถูกนำมาหาประโยชน์จนเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กและเยาวชนฯ โดยต่อมา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. ของจ.สุราษฎร์ธานี เดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริงที่บ้านของเด็ก รวมถึงประเมินสุขภาพจิตของครอบครัว ซึ่งขณะนี้ จนท.แจ้งว่า บางครั้งยังไม่สามารถเข้าไปพูดคุยกับเด็กโดยตรงได้
ขณะเดียวกัน เพจนิรมิตเทวาจุติ ได้แชร์คลิปเมื่อวันที่ 13 พ.ค.67 ที่ผ่านมา ที่ทางเจ้าหน้าที่ พม. เดินทางมาตรวจเยี่ยม โดยในคลิปจะได้ยินช่วงหนึ่งเจ้าหน้าที่มีการสอบถามเด็กว่า ห้องนอนของตัวเองอยู่ที่ไหน ซึ่งตัวเด็กก็เอามือชี้พร้อมกับเดินนำเจ้าหน้าที่ พม. เข้าไปยังในตัวบ้าน
อย่างไรก็ตาม ต่อมาเกิดประเด็นถกเถียขึ้นอีก หลังมีกระแสระบุว่า เจ้าหน้าที่ พม. ได้ได้รับความร่วมมือ จึงต้องขออนุญาตใช้อำนาจศาลให้มีคำสั่งเข้าไปพิจารณาถึงสภาพจิตใจของน้องไนซ์ และผู้ปกครอง
ด้าน ไทยรัฐทีวี ยังได้มีหการนำเสอนประเด็นตอบข้อซักถามของน้องไนซ์ ยามไม่มี แม่นก น.ส.นัฐพร วงศ์ทวิชาติ มารดาของเด็กคอยประกบ โดยหลังจากเจ้าหน้าที่ พม. ถามว่า วิปัสสนา คืออะไร น้องไนซ์ ก็ตอบกลับมาว่า คือ “การซูม”
คำถามต่อมา สมาธิ คืออะไร น้องไนซ์ ตอบ การไม่ไปยุ่งกับที่อื่นในการตั้งจิตเอาไว้ ไม่ไปหวาดระแวงกับที่อื่น
จากนั้นในคลิปวิดีโอ ยังจะได้ยินข้อโต้เถียงของ แม่นก ตอนนี้เราปกติ แต่โลกดซเชียลทำให้เราไมไปกติทั้ง ๆ ที่เราใช้วิตปกติ รวมถึงเรื่องที่มีข้อสงสัย ทางแม่ก็ยืนันว่า ให้ความร่วมมือด้วยดีมาตลอด แต่เรื่องจะให้ลูกไปตรวจอะไรต่าง ๆ เพราะทุกอย่างต้องอยู่ในกระบวนการของศาล ก่อนจะย้ำว่า เที่ยวนี้เด็กรู้สึกไม่อบอุ่น ส่วนจากนี้มีข้อสงสัยอะไรให้ทางเจ้าห้าที่ทำเอกสารเป็นหนังสือลายลัหกษณ์อักษรมาให้เรียบร้อย
ทั้งนี้ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ (พม.) เผยการแก้ปัญหาน้องไนซ์ เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา หลังเกิดประเด็นขึ้นมาเที่ยว่ลาสุด โดย ย้ำปมที่ จนท.ไม่สามารถเข้าไปพูดคุยกับตัวเด็กโดยตรงได้ ตอนนี้เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทำเรื่องร้องขอไปยังศาล ถ้าหากยังไม่ได้รับความร่วมมือจำเป็นต้องขออนุญาตใช้อำนาจศาลให้มีคำสั่งเข้าไปพิจารณาถึงสภาพจิตใจของตัวเด็กรวมถึงผู้ปกครองด้วย
ส่วนที่หลายคนห่วงกรณีนี้จะเข้าข่ายผิดกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการหลอกลวงนั้น นายวราวุธ ยอมรับในส่วนนี้ พม.ยังไม่มีองค์ความรู้ มากพอที่จะไปตัดสินว่าสิ่งที่ครอบครัวนี้เผยแพร่ออกไปสู่สาธารณชนเป็นเรื่องที่หลอกลวงหรือไม่อย่างไร คงต้องขอให้หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยพิจารณา.
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง