สุขภาพและการแพทย์ไลฟ์สไตล์

ไม่กินอาหารกี่วันถึงเสียชีวิต อดอาหารนานไป สุขภาพดีหรือหายนะ

ปัจจุบัน การอดอาหาร (Fasting) นับเป็นแนวความคิดด้านสุขภาพที่คุ้นหูใครหลายคนในยุคที่เทรนด์การดูแลร่างกายกำลังมาแรง หลายคนเลือกที่จะอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก เพิ่มประสิทธิภาพร่างกาย หรือแม้กระทั่งเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่าภายใต้ข้อดีที่เราได้ยินกันหนาหู แฝงไว้ด้วยอันตรายที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างร้ายแรงอีกด้วย

ไม่กินข้าวกี่วันถึงเสียชีวิต

คำถามนี้คงไม่มีใครอยากหาคำตอบด้วยตัวเอง แต่จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่า คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ได้รับสารอาหารเลย ประมาณ 6-8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ สุขภาพ น้ำหนักตัว และปริมาณน้ำที่ได้รับ

Advertisements

ถึงแม้ว่าการอดอาหารจะดูเหมือนเป็นทางลัดสู่สุขภาพที่ดี แต่ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นนั้นร้ายแรงเกินกว่าจะมองข้าม หากคุณกำลังมองหาวิธีลดน้ำหนักหรือดูแลสุขภาพ การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ จะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและยั่งยืนกว่า

อย่างไรก็ดี การอดอาหารยังแฝงไว้ด้วยอันตรายที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างร้ายแรงหากปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม หรืออยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจกระทบต่อร่างกายมากกว่าที่คิดไว้อีกด้วย อาทิ

1. ขาดสารอาหาร

การอดอาหารเป็นเวลานานทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็น เช่น วิตามิน แร่ธาตุ และโปรตีน ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำลง และเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ

2. ระบบเผาผลาญรวน

Advertisements

ร่างกายจะเข้าสู่ภาวะอดอยาก เมื่อไม่ได้รับอาหาร ร่างกายจะลดการเผาผลาญพลังงานลงเพื่อรักษาพลังงานสำรอง ทำให้การลดน้ำหนักเป็นไปได้ยากขึ้นในระยะยาว

3. กล้ามเนื้อสลาย

เมื่อร่างกายขาดพลังงานจากอาหาร ร่างกายจะเริ่มสลายกล้ามเนื้อเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อลีบลงและร่างกายอ่อนแอ

4. ปัญหาสุขภาพจิต

การอดอาหารส่งผลต่อระดับฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

5. รอบเดือนผิดปกติ

สำหรับผู้หญิง การอดอาหารอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือขาดหายไป ซึ่งเป็นสัญญาณของความผิดปกติในระบบฮอร์โมน

ข้อดีของการอดอาหาร

1. ลดน้ำหนัก

ช่วยลดน้ำหนักและไขมันในร่างกายได้ โดยเฉพาะไขมันหน้าท้อง

2. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

อาจช่วยปรับปรุงความไวของอินซูลินและลดระดับน้ำตาลในเลือด

3. สุขภาพหัวใจ

อาจช่วยลดความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอล

4. การทำงานของสมอง

บางการศึกษาพบว่าอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของสมองและป้องกันโรคทางระบบประสาท

5. อายุยืน

บางงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าอาจช่วยยืดอายุขัย แต่ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมในมนุษย์

มื้อแรกหลังอดอาหารหลายวัน

หลังจากอดอาหารมานานหลายวัน มื้อแรกที่เราควรกิน จะต้องเป็นอาหารที่ออกแบบมาให้พร้อมดูดซึม เช่น อาหารเจลสำหรับปรับลำไส้ อาจแบ่งรับประทานต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายสร้างเซล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหาร เน้นอาหารจืดไม่มีรสจัด พร้อมสังเกตอาการค้างเคียงควบคู่ไปเป็นระยะ ๆ

ผู้ที่กลับมารับประทานอาหารหลังอดอยากมานาน มักมีภาวะ รีฟีดดิ้ง ซินโดรม หรือ Refeeding Syndrome ที่เกิดจากการได้รับสารอาหารทันทีจนทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน อาจทำให้เกิดอาการ ตะคริว ชัก หรือเกร็งได้นั่นเอง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : Healthline

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button