ชาวบ้านรัษฎากว่า 200 คน ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกรณีให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างล้ำลำน้ำ
ชาวบ้านที่ได้รับหนังสือจากสำนักงานงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ประมาณ 200 คน รวมตัวเดินทางมายังศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เพื่อยื่นหนังสือร้องข้อความเป็นธรรมจากผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
เมื่อเวลา 09:15 น. วันนี้ ( 4 ก.ย.) ชาวบ้านในพื้นที่ ตำบลรัษฎา ตำบลเกาะแก้ว ตำบลเทพกระษัตรี ตำบลไม้ขาว และชาวบ้านที่ได้รับหนังสือจากสำนักงานงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ประมาณ 200 คน รวมตัวเดินทางมายังศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เพื่อยื่นหนังสือร้องข้อความเป็นธรรมจากผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นำโดย นายเกื้อเกียรติ จิตต์เกื้อ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาแก้ว นายเจษฎา แนบเนียน กำนันตำบลเกาะแก้ว ตัวแทนจากตำบลต่างๆ โดยมีนายเถลิงศักดิ์ นุชประหาร เป็นตัวแทนรับมอบหนังสือ แทน นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตที่ติดราชการ
นายเกื้อเกียรติ จิตต์เกื้อ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว และ นายเจษฎา แนบเนียน กำนันตำบลเกาะแก้ว กล่าวว่า การเดินทางมายังศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ของชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากคำสั่ง ค.ส.ช. ที่ 32/2560 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2560และ คำสั่งของกรมเจ้าท่า ที่มีคำสั่งให้ชาวบ้านรื้อสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำหลังวันที่ 23 สิงหาคม 2537 ในครั้งนี้ เพื่อขออุทรคำสั่งดังกล่าว
และ ขอให้ทางจังหวัดให้ความเป็นธรรมกับทางชาวบ้าน เนื่องจากชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากคำสั่งดังกล่าว และการที่จะให้ชาวบ้านไปยื่นอุทร ภายใน 15วัน ตามคำสั่งของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต ชาวบ้านไม่สามารถอุทรได้ทัน
จึงได้รวมตัวกันมายื่นหนังสือเพื่อขอความเป็นธรรม เนื่องจากชาวบ้านมองว่าการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐทำแบบ 2 มาตรฐาน ในการสั่งรื้อถอน เพราะคนที่อยู่ในที่ดินแปลงติดกัน ซึ่งเป็นนายทุกกลับไม่ถูกคำสั่งให้มีการรื้อถอนแต่อย่างใด ถ้าหากชาวบ้านต้องรื้อถอนแล้วชาวบ้านจำนวนมากจะไปอาศัยที่ไหน เพราะบางคนสร้างที่อยู่อาศัยอยู่ในที่ที่มีคำสั่งให้รื้อถอนมานานกว่า 20 – 30 ปี
นายเกื้อเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ชาวบ้านที่เดินทางมาในวันนี้ เป็นชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจริง และ เป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัด แต่ที่ผ่านมายังมีปัญหาบางประการที่ยังไม่สามารถออกเลขที่บ้านให้ได้ทั้งหมด จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยทบทวนคำสั่งด้วย เพื่อให้ชาวบ้านกับน้ำสามารถอยู่ร่วมกันได้
สำหรับชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากคำสั่งดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเชื่อว่ามีไม่น้อยกว่า 500 ครัวเรือน ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะจังหวัดภูเก็ตเท่านั้น แต่รวมไปถึงจังหวัดอื่นๆในประเทศไทยด้วย หากข้อเรียกร้องไม่ได้รับการแก้ไขในระดับจังหวัดก็คงจะต้องทำหนังสือเพื่อเสนอขอความช่วยเหลือไปยังส่วนกลางต่อไป
ขณะที่ตัวแทนจากสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างให้ทางชาวบ้านรวมกลุ่ม และนำเสนอเพื่ออุทรคำสั่งซึ่งทางเจ้าท่าจะส่งเจ้าหน้าที่ลงไปชี้แจงและทำความเข้าใจ สำหรับผู้ที่เข้าข่ายรื้อถอนจะเป็นผู้ที่สร้างสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำหลัง วันที่ 23 สิงหาคม 2537 แต่ถ้าสร้างก่อนก็สามารถที่จะอยู่ต่อได้ ส่วนกรณีที่ชาวบ้านอ้างว่าอยู่มาก่อนแต่เพิ่งได้ทะเบียนบ้านก็จะต้องมีสภาท้องถิ่น หรือฝ่ายปกครองให้การรับรอง