เปิด 10 อันเศรษฐีที่รวยที่สุดในไทย ประจำปี 2567 ‘ทักษิณ’ โดยนิตยสาร Forbes
เป็นประจำทุกปีที่นิตยสารทางการเงินชื่อดัง ฟอร์บส์ (Forbes) ต้องจัดอันดับมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกประจำปี 2567 ทีมข่าว Thaiger ได้เจาะคัดมาเฉพาะคนไทยที่รวย 10 คนแรกของประเทศ ระดับมหาเศรษฐี โดย “เจ้าสัวธนินทร์” นายธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งอาณาจักรซีพี ยังคงอันดับ 1 เช่นเดิม มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 4.58 แสนล้านบาท ส่วนอันดับอื่นๆ เป็นใครบ้างนั้น ดูด้านล่าง
อันดับ 1 นายธนินท์ เจียรวนนท์
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 12,500 ล้านดอลลาร์
ธนินท์ เจียรวนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2482[ย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร ธนินท์ เป็นบุตรชายคนที่ 4 ในบรรดาบุตรชายทั้ง 5 คน นายธนินท์เริ่มทำงานเป็นครั้งแรกที่ร้านเจริญโภคภัณฑ์ เมื่ออายุได้ 19 ปี หลังจากสำเร็จการศึกษาด้านพาณิชยกรรมที่ฮ่องกง โดยทำงานในตำแหน่งแคชเชียร์
ต่อมาได้โยกย้ายไปทำงานที่สหพันธ์สหกรณ์ค้าไข่แห่งประเทศไทย และบริษัท สหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด ตามลำดับ กระทั่งเมื่ออายุ 25 ปี ได้กลับมาทำงานอีกครั้งที่เจริญโภคภัณฑ์
ปัจจุบันเป็นผู้บริหารระดับสูงของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รับผิดชอบบริหารงานในตำแหน่งประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีว่าเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีกลุ่มธุรกิจในเครือฯรวม 13 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร, กลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและเคมีเกษตร, กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ, กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร, กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง, กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์, กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย, กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม, กลุ่มธุรกิจพลาสติก, กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, กลุ่มธุรกิจยานยนต์, กลุ่มธุรกิจเวชภัณฑ์ และกลุ่มธุรกิจการเงินและการธนาคาร
อันดับ 2 นายเจริญ สิริวัฒนภักดี
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 11,300 ล้านดอลลาร์
เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 บิดามีอาชีพขายหอยทอด เขาใช้เวลาเรียนถึง 8 ปีเพื่อให้จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเผยอิง เนื่องจากระหว่างเรียนต้องทำงาน หาเลี้ยงชีพด้วยการขายของเล็กๆ น้อยๆ เมื่อเขาอายุ 11 ปี ได้รับจ้างเข็นรถส่งสินค้าย่านสำเพ็ง ทรงวาด จากนั้นจึงขยับเป็นพ่อค้าหาบของขาย
ปี พ.ศ. 2504 ได้เป็นลูกจ้างของชาวจีนที่อพยพมาอยู่เมืองไทยคนหนึ่ง ในบริษัทย่งฮะเส็ง และห้างหุ้นส่วนจำกัด แพนอินเตอร์ ที่จัดส่งสินค้าให้โรงงานสุราบางยี่ขัน และเพียงปีเดียวเขาได้เป็นซัพพลายเออร์ให้โรงงานสุราบางยี่ขันเอง นำมาสู่การรู้จักกับนายจุล กาญจนลักษณ์ ผู้เชี่ยวชาญการปรุงรสสุรา โดยเฉพาะสูตร “แม่โขง” และคุ้นเคยกับเจ้าสัว “เถลิง เหล่าจินดา” ผู้มีอำนาจในการจัดซื้ออุปกรณ์ทุกอย่างของโรงงาน เขากลายเป็นขุนพลคู่ใจของเจ้าสัวเถลิงในเวลาไม่นาน เพราะความอ่อนน้อมถ่อมตนและมีสัมมาคารวะ กลยุทธ์และเคล็ดลับในการทำธุรกิจสุราจึงเป็นของเขาในที่สุด
เมื่ออยู่ในวงการของเจ้าสัวแล้ว จึงได้มีโอกาสพบกับ “วรรณา แซ่จิว” หรือปัจจุบันคือ “คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี” ภรรยา
ประเภทธุรกิจ: อาหารและเครื่องดื่ม
อันดับ 3 นายสารัชถ์ รัตนาวะดี
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 10,700 ล้านดอลลาร์
สารัชถ์เป็นบุตรของพลเอกถาวร รัตนาวะดี อดีตหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ กองบัญชาการทหารสูงสุด กับนางประทุม รัตนาวะดี น้องสาวของนายวาริน พูนศิริวงศ์ นักธุรกิจและเจ้าของหนังสือพิมพ์แนวหน้า โดยสารัชถ์เป็นลูกคนกลาง โดยมีพี่ชายชื่อ สาณิต และน้องชายชื่อ สฤษดิ์
สารัชถ์ศึกษาที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย โดยเพื่อนร่วมรุ่นเรียกเขาว่า “แย้ม” ศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท ด้านการบริหารจัดการวิศวกรรม จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
เมื่อศึกษาจบได้ก่อตั้ง บริษัท กัลฟ์ อิเล็คตริก จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2537 ขณะอายุเพียง 29 ปี โดยสารัชถ์ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ จากนั้นได้จัดตั้งบริษัทอีกจำนวนหนึ่งที่ใช้คำนำหน้าว่า “กัลฟ์” เช่น บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด (ก่อตั้ง พ.ศ. 2539) บริษัท กัลฟ์ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (ก่อตั้ง พ.ศ. 2539) บริษัท กัลฟ์ ยะลา กรีน จำกัด (ก่อตั้ง พ.ศ. 2540) และ บริษัท กัลฟ์ ไอพีพี จำกัด (ก่อตั้ง พ.ศ. 2547) เป็นต้น รวมถึงบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าของเอกชนรายใหญ่ที่สุดของไทยในแง่มูลค่าตามราคาตลาด เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2560
ประเภทธุรกิจ: พลังงาน
อันดับ 4 นายสุเมธ เจียรวนนท์
เป็นบุตรชายของเจี่ย เอ็กชอ ผู้ก่อตั้งเจียไต๋ ต้นกำเนิดธุรกิจของเครือซีพี หนึ่งในทัพหน้าผู้กุมบังเหียนอาณาจักรซีพี
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 5,500 ล้านดอลลาร์
อันดับ 5 นายจรัญ เจียรวนนท์
นายจรัญ เจียรวนนท์ เกิดเมื่อพุทธศักราช 2473 เมื่อสําเร็จการศึกษาจากโรงเรียน วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส ได้ใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับธุรกิจด้านเมล็ดพันธุ์และวัสดุเกษตรตลอดมา จนได้ขยายและพัฒนากิจการขึ้นตามลําดับ ในปัจจุบันได้ก่อตั้งและดํารงตําแหน่งประธานกรรม การเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมการเกษตรด้านต่าง ๆ ไว้อย่างกว้าง
ขวางถึง 15 บริษัท
ในด้านอุตสาหกรรมการเกษตร นายจรัญ เจียรวนนท์ เป็นผู้บุกเบิกรายแรกของ ประเทศ ในการจัดตั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่ทันสมัย ด้วยการนําเอาเทคนิคสมัยใหม่และคอมพิวเตอร์มาใช้ในกรรมวิธีการผลิตตลอดจนพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ทัดเทียมกับมาตรฐานโลก โดยใช้วัตถุดิบจากการเกษตรภายในประเทศ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสําปะหลัง รํา ปลายข้าว และปลาป่น อันเป็นประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกร และต่อเศรษฐกิจ ของประเทศชาติโดยส่วนร่วม อาทิเช่น การขยายโรงงานผลิตอาหารสัตว์ขึ้นตามจังหวัดต่าง ๆ และการขยายตลาดอาหารสัตว์สําเร็จรูปออกสู่ต่างประเทศ
นายจรัญ ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเกษตรศาสตร์ เมื่อปี 2527 ในฐานะผู้บุกเบิกและประสบความสำเร็จอย่างสูงทางด้านอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรมการเกาตรอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ทางสังคม การศึกษา และการส่งเสริมอาชีพของเกษตรกร ทหารผ่านศึก
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 5,400 ล้านดอลลาร์
อันดับ 6 นายวานิช ไชยวรรณ
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 3,800 ล้านดอลลาร์
นายวานิชเกิด 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 เป็นนักธุรกิจไทย, ประธานกิตติคุณ และอดีตประธานกรรมการ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริษัท ธนาคารไทยเครดิต
ประเภทธุรกิจ: การเงินและการลงทุน
อันดับ 7 นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 3,700 ล้านดอลลาร์
เกิดเมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรของ หมอทองอยู่ (ช้างบุญชู) ปราสาททองโอสถ และ บุญรอด ปราสาททองโอสถ นายแพทย์ปราเสริฐสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 15081) และปริญญาตรีแพทยศาสตร์บัณฑิตจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีพี่ชายชื่อ นายแพทย์ปราสาท ปราสาททองโอสถ อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นเจ้าของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน), บริษัท ปราสาททองโอสถ จำกัด กลุ่มการดูแลสุขภาพเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นเจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส
มีตำแหน่งอดีตประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) โดยลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562
อันดับ 8 นางสมอุไร จารุพนิช
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 3,100 ล้านดอลลาร์
ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2566 จาก cpfworldwide ระบุว่า นางสมอุไรเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น 10 รายแรกของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (“CPG”) ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เอสเจ โฮลดิ้งส์ จำกัด ร้อยละ 12.96 นางสมอุไร จารุพนิช ร้อยละ 8.42 นายธนินท์ เจียรวนนท์ ร้อยละ 6.48 บริษัท ซี.พี. โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ร้อยละ 4.54 นายพงษ์เทพ เจียรวนนท์ ร้อยละ 4.26 นายมนัส เจียรวนนท์ ร้อยละ 4.22 นางสมศรี ล่ำซำ ร้อยละ 4.21 นายนพดล เจียรวนนท์ นางนุชนารถ เจียรวนนท์ นายนกุล เจียรวนนท์ และนางสาวนลินี เจียรวนนท์ ถือหุ้นรายละร้อยละ 3.00
อันดับ 9 นายประยุทธ มหากิจศิริ
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 2,200 ล้านดอลลาร์
ประยุทธ มหากิจศิริ เกิดเมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท พีเอ็มส์ กรุ๊ปส์ เจ้าของบริษัทไทยน็อคซ์ สเตนเลส และไทย คอปเปอร์ ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ สุวิมล มหากิจศิริ มีบุตร 3 คน คือ อุษณีย์ มหากิจศิริ เฉลิมชัย มหากิจศิริ และอุษณา มหากิจศิริ
ประเภทธุรกิจ: อาหารและเครื่องดื่ม
อันดับ 10 (ร่วม) – นายฮาราลด์ ลิงค์
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 2,100 ล้านดอลลาร์
ประเภทธุรกิจ: หลากหลาย
อันดับ 10 (ร่วม) – นายทักษิณ ชินวัตร
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 2,100 ล้านดอลลาร์
อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย
ประเภทธุรกิจ: การเงินและการลงทุน