แพทย์เตือน “นอนคว่ำ” ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ยิ่งต้องระวัง
รีบเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนสายเกินไป แพทย์เตือน ‘การนอนคว่ำ’ ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากมาย โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรระวังเป็นพิเศษ พร้อมแนะนำ 2 ท่านอนที่ดีที่สุด
ดร.โทนี นาลด้า (Dr. Tony Nalda) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จาก British Scoliosis Reduction Center แห่งสหราชอาณาจักร เผยว่า คนที่ “นอนคว่ำ” มักจะมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ มากมาย ซึ่งอาการที่พบบ่อยที่สุดคือ การปวดหลังส่วนล่าง ยิ่งไปกว่านั้น “หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับคอและหลัง การนอนคว่ำจะยิ่งทำให้อาการปวดเหล่านี้แย่ลงอย่างแน่นอน”
ท่าทางการนอนคว่ำหน้า จะทำให้คออยู่ในท่าบิด ซึ่งอาจนำไปสู่อาการปวดไมเกรน และปวดหัวตึง และแน่นอนว่าการอยู่ในท่าที่ไม่เป็นธรรมชาติเช่นนี้ยังอาจเบียดเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการชาหรือรู้สึกเหมือนเข็มทิ่มที่แขนและมือ บางทีอาจร้ายแรงจนทำให้เกิดปัญหาทางระบบประสาทอื่น ๆ ได้ด้วย
ไม่เพียงจะก่อให้เกิดการปวดเมื่อยตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเท่านั้น แต่การนอนคว่ำยังส่งผลต่อคุณภาพการนอนของคุณอีกด้วย เนื่องจากการนอนคว่ำทำให้หน้าอกและท้องแนบชิดไปกับเตียง ซึ่งเป็นอิริยาบถที่ทำให้หายใจได้ไม่สะดวก เพราะการนอนคว่ำจะทำให้หายใจเข้าลึก ๆ ได้ยากขึ้น เหตุก็เพราะท่านอนได้กดทับกระบังลมของคุณ
การนอนคว่ำยังเพิ่มแรงกดทับบนกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจส่งผลต่อกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อโดยรอบ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญจึงชี้ว่า การนอนคว่ำอาจทำให้ร่างกายของคุณทำงานหนักขึ้น รวมถึง หัวใจ ด้วย เนื่องจากเวลาที่หน้าอกถูกกดทับ เลือดจะไหลเวียนลำบาก และเมื่อเวลาผ่านไปก็จะเป็นการเสี่ยงต่อปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณ ป่วยเป็นโรคหัวใจ อยู่แล้ว
“นอน” อย่างไร ให้ห่างไกลโรค
สำหรับท่านอนที่ดร.โทนี นาลด้า แนะนำก็คือ “ท่านอนหงาย” ซึ่งถือเป็นท่านอนที่ดีที่สุดในบรรดาทุกท่าทาง เหตุเพราะการนอนหงายแผ่หลาไปกับผืนเตียง ช่วยรักษาความโค้งเว้าตามธรรมชาติของสรีระร่างกาย ช่วยให้กระดูกสันหลังอยู่ในท่าปกติ โดยท่านี้จะลดแรงกดที่ข้อต่อ และในขณะเดียวกันงานวิจัยหลากหลายเล่มก็รับรองแล้วว่า การนอนตะแคงช่วยลดบรรเทาปัญหาสุขภาพหัวใจและลดอาการกรนได้อย่างดี
นอกจากนี้ จากบทความหนึ่งบนเว็บไซต์ Healthline ก็ได้แนะนำว่า “ท่านอนตะแคง” หรือที่หลาย ๆ เรียกกันว่า ท่าเด็กน้อย ก็เป็นท่าทางการนอนที่ดีไม่แพ้กัน เพราะสามารถช่วยลดอาการปวดหลัง และยังช่วยลดอาการกรน ซึ่งเหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์
อย่างไรก็ดี หากเป็นไปได้ การปรับเปลี่ยนท่าทางให้เป็นท่านอนหงาย และท่านอนตะแคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีอาการปวดตึงตามร่างกาย จะทำให้ในระหว่าวหลับใหลหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยให้หลับ หรือบางทีคุณอาจเหยียดขาออกเล็กน้อยและนำหมอนข้างมากั้นระหว่างหัวเข่าทั้งสองข้าง เพื่อให้ท่านอนตะแคงสบายมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลจาก phunuphapluat.nguoiduatin.vn
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เคล็ดลับพ่อบ้าน เทน้ำแข็งลงโถส้วม ได้ประโยชน์เพียบ ขจัดกลิ่นอับ-ลดการอุดตัน
- หั่นมะนาว วางไว้ข้างเตียง ภูมิปัญญาพื้นบ้านสุดบรรเจิด ส่งผลดีต่อการนอน
- “หัวหอม” ราชินีผัก คุณหมอแนะนำ สรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็ง ซื้อง่าย สบายกระเป๋า