ข่าว

มิจฉาชีพปลอมเพจสำนักงานอัยการ เนียนกริ๊บ ชาวเน็ตโร่เผยวิธีจับผิด

มิจฉาชีพปลอมเพจ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือทางกฎหมาย เพจดังลงโพสต์แฉพร้อมแนบลิงค์เตือนภัย อย่าหลงเชื่อ ด้านชาวเน็ตเปิดวิธีสังเกตไหนเพจโจร เพจแท้

วันที่ 21 มีนาคม 2567 เฟซบุ๊กแฟนเพจ Drama-addict ออกมาลงโพสต์แฉ บัญชีโซเชียลของมิจฉาชีพล่าสุด ที่แอบอ้างสร้างโปรไฟล์ปลอม โดยแอบอ้างชื่อ “สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือทางกฎหมาย” ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี (สคช.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) โดยทางกลุ่มมิจฉาชีพได้สร้างบัญชีเฟซบุ๊กเพจปลอมขึ้นมาในชื่อเดียวกัน

แถมจากการตรวจสอบรายละเอียด อาทิ การเคลื่อนไหวลงข้อมูลภายในเพจ ยังมีการทำทีแชร์หรือลงข้อมูลจากหน่วยงานราชการอื่น ๆ จนคล้ายกับเป็นบัญชีของหน่วยงานราชการไทยจริง ๆ

สำนักงานอัยการพิเศษ เพจปลอม
เฟซบุ๊กปลอม (Cr.@DramaAdd)
ตัวอย่างเฟซบุ๊กมิจฉาชีพ
เฟซบุ๊กปลอม (Cr.@DramaAdd)

“เพจมิจ อย่าหลงเชื่อ” ข้อความแจ้งเตือนภัยมิจฉาชีพล่าสุดจากเพจ Drama-addict พร้อมกับได้แนบลิงค์ประกอบเป็นหลักฐาน https://www.facebook.com/profile.php?id=61557289922613 เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยป้องกันปัญหาประชาชนทั่วไปตกเป็นเหยื่อของกลุ่มโจรแสบ

ทั้งนี้ จุดสังเกตหลัก ๆ ที่ใช้ดูว่า เพจนี้เป็นเพจของหน่วยงานราชการจริง ๆ หรือไม่ เบื้องต้น ช่องของประวัติและรายละเอียด ตัวอย่างของเคสล่าสุด หากเป็นเพจของ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือทางกฎหมาย ตัวจริง จะมีเรตติ้ง 5.0 และแนบลิงค์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของหน่วยงาน ระบุ เบอร์ติดต่อขึ้นต้นด้วย หมายเลข 02 ขณะที่เพจปลอมจะไม่ได้ระบุข้อมูลเหล่านี้แต่อย่างใด

นอกจากนี้ พลเมืองดียังเข้ามาเผยวิธีจับผิดเพจปลอมด้วยวิธีการสังเกตง่าย ๆ โดยดูได้จากการที่เพจมีการซื้อโหษณาหรือไม่ ถ้าหากใช่ ก็มีโอกาสเป็นไปได้มากว่า จะเป็นเพจของมิจฉาชีพ

“สังเกตุง่ายๆ เพจไหนซื้อสปอนเซอร์ ตีว่าปลอมไว้ก่อน เพราะหน่วยงานรัฐไม่ซื้อโฆษณาหรอก”

ข่าวเตือนภัยอาชญากรรมทางไซเบอร์
ภาพจากคอมเมนต์เฟซบุ๊กเพจ @Drama-addict

ขณะเดียวกัน ผู้ใช้เฟซบุ๊กบางรายก็เล่าประสบการณ์เคยจับพิรุธของเพจปลอมที่ชอบซื้อโฆษณาทั้งหลายได้ แล้วต่อมาได้ส่งเรื่องรายงานไปให้กับเฟซบุ๊กเพื่อแก้ปัญหา แต่ปรากฎเฟซบุ๊กตอบกลับมาว่าเพจที่ร้องเรียนไม่ได้ทำผิดกฏหมาย สร้างความงุนงงให้กับเจ้าของเรื่องเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของเพจปลอมล่าสุด ได้ลงข้อมูลอัปเดตไว้จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา.

เตือนภัยมิจฉาชีพสร้างเพจอัยการปลอม
เพจปลอม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button