ข่าวสุขภาพและการแพทย์

“ท่านอ่อง” เตือนคนไทย ระวังโรคเพลียแดด-โรคลมแดด ช่วงฤดูร้อนนี้

ดร.นายแพทย์ จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ หรือท่านอ่อง โพสต์คลิปให้ความรู้ โรคเพลียแดด-โรคลมแดด พร้อมแนะนำวิธีป้องกันโรคนี้ในฤดูร้อนของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ดร.นายแพทย์ จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ หรือท่านอ่อง ผู้ก่อตั้งศูนย์การแพทย์นานาชาติจักรีวัชร ได้โพสต์คลิปให้ความรู้ทางการแพทย์ เกี่ยวกับความอันตรายของโรคเพลียแดด และโรคลมแดด ในฤดูร้อนของเมืองไทย แนะนำให้ระมัดระวังในการเดินบริเวณกลางแจ้ง พร้อมข้อความว่า “โปรดแชร์ โรคเพลียแดด และ โรคลมแดด โปรดดูจนจบนะครับ”

Advertisements

ถ้าหากคุณเดินอยู่ข้างนอกท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าวของกรุงเทพ ซึ่งอุณหภูมิภายนอกนั้นสูงกว่าอุณหภูมิร่างกายของคุณ แน่นอนครับว่าร่างกายของเราจะกระตุ้นกลไกต่างๆ เพื่อที่จะขจัดความร้อนและทำให้ร่างกายของเรานั้นเย็นลง

ท่านอ่อง อธิบายเรื่องร่ายกายอุณหภูมิสูงเกินไป
ภาพจาก : FB Chakriwat Vivacharawongse

ทำได้อย่างไร? มีกลไกหลายอย่างดังนี้

การแผ่รังสีความร้อน และการพาความร้อน ( Radiation & Convection ) อธิบายได้อย่างง่ายๆก็คือ การที่ระบบประสาทอัตโนมัติของร่างกายเรานั้นกระตุ้นให้หลอดเลือดขยาย การขยายตัวของหลอดเลือดนี้จะทำให้ความร้อนจากร่างกาย ผ่านออกมาทางผิวหนังของเรา และระเหยออกไปจากร่างกายได้ครับ

  • การกระตุ้น Sympathetic Cholinergic Fibers – สิ่งนี้จะทำให้ต่อมเหงื่อของเราผลิตเหงื่อออกมา เพื่อที่จะทำให้ร่างกายของเราเย็นลง
  • องค์ประกอบทางจิตวิทยาในการสัมผัสกับความร้อน – พยายามเปิดเผยผิวหนังให้สัมผัสกับอากาศด้วยการถอดเสื้อผ้าและพัดลมให้ตัวเราครับ

อะไรคือโรคเพลียแดด?

คือการที่เมื่อเราเสียเหงื่อมากจนเกินไป และไม่ได้ดื่มน้ำหรือของเหลวให้เพียงพอตลอดวัน ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ การสูญเสียเกลือแร่ ความดันโลหิตต่ำ ซึ่งจะทำให้วิงเวียนศรีษะ อ่อนเพลีย และเป็นลมได้ เนื่องจากมีความดันโลหิตไม่เพียงพอที่จะนำออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ

โรคลมแดดคืออะไร?

โรคลมแดดคือ ภาวะที่อันตรายมากกว่าโรคเพลียแดดนะครับ จะเกิดขึ้นเมื่อระบบการกระจายความร้อนของร่างกายนั้นล้มเหลว และทำให้ร่างกายของเรามีความร้อนที่สูงเกิน ซึ่งจะนำไปสู่ความเสียหายถาวรของเนื้อเยื่อและอวัยวะที่สำคัญต่างๆได้ครับ
ในการตรวจร่างกายนั้นเราจะคาดหวังว่าจะเจออะไร? หัวใจเต้นเร็ว (อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น) เนื่องมาจากร่างกายของเราพยายามที่จะรักษาความดันโลหิตให้คงที่ ในขณะที่ร่างกายนั้นขาดน้ำ ผิวหนังแห้งและสัมผัสได้ถึงความร้อน กล้ามเนื้อเป็นตะคริวเนื่องจากการขาดน้ำและเกลือแร่ อ่อนเพลีย เพ้อ พูดไม่ชัดลิ้นแข็ง หงุดหงิด สับสน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อาจถึงขั้นมีการชัก โคมา และในกรณีที่แย่ที่สุดก็คือ เสียชีวิตครับ

ท่านอ่อง อธิบายสภาวะขาดน้ำ
ภาพจาก : FB Chakriwat Vivacharawongse

ปัจจัยเสี่ยงโดยทั่วไป

เช่น การสัมผัสกับอากาศร้อนเป็นเวลานาน ไม่ดื่มน้ำให้เพียงพอตลอดวัน ผู้สูงอายุ ผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำ ผู้ป่วยเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคทางระบบประสาท ด้านสาเหตุว่าทำไมปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้เกิดโรคดังกล่าว คุณสามารถดูได้ในวีดีโอครับ

Advertisements

การป้องกัน

  • แต่งกายให้เหมาะสม สวมใส่เสื้อผ้าที่บางและหลวม (เคยสังเกตไหมครับว่า ในภาพยนตร์ตะวันออกกลาง เมื่อเดินทางในทะเลทรายที่ร้อนระอุ ผู้คนจะใส่ชุดอะไร?)
  • ทากันแดด (Sunblock/ Sunscreen) เพื่อที่จะป้องกันผิวหนังจาก ผิวเกรียม ผิวไหม้แดด เพราะถ้าหากคุณมีผิวไหม้แดด คุณก็จะไม่สามารถที่จะหลั่งเหงื่อออกมาได้ และถ้าคุณไม่สามารถที่จะหลั่งเหงื่อได้ คุณก็จะไม่สามารถทำตัวคุณนั้นให้เย็นลงได้ครับ
  • สวมหมวกปีกกว้าง แว่นกันแดด และพยายามที่จะอยู่ในร่มตลอดทั้งวัน
  • ดื่มน้ำหรือของเหลวให้เพียงพอตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดื่มเกลือแร่/ เครื่องดื่มสำหรับการออกกำลังกาย เพื่อที่จะชดเชยเกลือแร่ที่สูญเสียไปพร้อมกับเหงื่อครับ
  • หลีกเลี่ยงชาและกาแฟ เพราะชาและกาแฟเป็นยาขับปัสสาวะ ซึ่งจะไปกระตุ้นไตของเราให้กรองของเหลวออกจากร่างกาย นำไปสู่ภาวะขาดน้ำ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยครับ!

ท้ายที่สุดและสำคัญที่สุดนะครับ ถ้าหากคุณป่วยเป็นโรคเรื้อรังและต้องเดินทางไปในที่ที่มีอากาศร้อน คุณต้องแน่ใจว่าคุณได้ปรึกษากับแพทย์ประจำบ้านของคุณ เกี่ยวกับยาและขนาดการใช้ยาเพื่อความปลอดภัย และถ้าหากคุณมีสัญญาณของโรคลมแดด ให้รีบติดต่อเบอร์ฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือและดูแลทางการแพทย์นะครับ ด้วยความปรารถนาดี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Best Writer

นักเขียนบทความประจำ Thaiger จบการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มีความเชียวชาญด้านวงการเพลงไทย ภาพยนตร์ อนิเมะ ชื่นชมติดตามข่าวสารสังคม กีฬา เทคโนโลยี แตกประเด็น สรุปเรื่องราวมาร้อยเรียงผ่านข้อความสู่สายตาผู้อ่าน ช่องทางติดต่อ best.t@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button