การเงินเศรษฐกิจ

วิธีคำนวณ ดอกเบี้ย กยศ. 2567 คิดอัตราดอกเบี้ย ตรวจสอบหนี้ออนไลน์

เช็กวิธีคำนวณดอกเบี้ย กยศ. 2567 สำหรับผู้ประสงค์กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา พร้อมสรุปวิธีตรวจสอบยอดค้างจ่าย และช่องทางชำระหนี้ง่าย ๆ ทางออนไลน์

ปัจจุบันมีนักเรียน นักศึกษาหลายท่านต้องการเงินสนับสนุนค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพด้านการศึกษา ฉะนั้นก่อนทำการกู้ยืมเงินจาก กยศ. (กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา) จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยในแต่ละเดือน เพื่อเตรียมเงินชำระให้ตรงเวลา และหลีกเลี่ยงเบี้ยปรับที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

Advertisements

พาไปเช็กวิธีคำนวณดอกเบี้ย กยศ. วันครบกำหนดชำระหลังเรียนจบ พร้อมวิธีการตรวจสอบหนี้ผ่านแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” และช่องทางการชำระหนี้แบบง่าย ๆ สรุปไว้ครบในบทความนี้

ภาพจาก : www.studentloan.or.th

กยศ. มีระบบคิดดอกเบี้ยอย่างไร

กยศ. คิดดอกเบี้ยเงินกู้ 1% ต่อปี แต่หากผิดนัดชำระหนี้จะมีการคิดเบี้ยปรับ หากผิดนัดชำระไม่เกิน 1 ปี คิดเบี้ยปรับ 12% ของเงินต้นที่ค้างชำระ แต่ถ้าเกิน 1 ปี คิดเบี้ยปรับ 18% ของเงินต้นที่ค้างชำระ โดยสามารถคำนวณดอกเบี้ยได้ตาม 3 กรณี ดังนี้

1. กรณีชำระหนี้ตามเวลา ร้อยละ 1 ต่อปี

ดอกเบี้ย = เงินต้นทั้งหมด x อัตราดอกเบี้ย 1% x จำนวนวัน หารด้วย 365 วัน

2. กรณีผิดนัดชำระไม่เกิน 1 ปี

Advertisements

ไม่เกิน1 ปี คิดดอกเบี้ย 12% ของเงินต้นที่ค้างชำระ

เบี้ยปรับ = เงินต้นที่ค้างชำระ x เบี้ยปรับ 12% x จำนวนวันที่ค้างชำระ หารด้วย 365 วัน

3. กรณี ผิดนัดชำระหนี้ เกิน 1 ปี

เบี้ยปรับเกิน 1 ปีคิดดอกเบี้ย 18% ของเงินต้นที่ค้างชำระ

เบี้ยปรับ = เงินต้นค้างชำระ x 18% x จำนวนวันที่ค้างชำระ หารด้วย 365วัน

สำหรับกรณี ที่นำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ในกรณีที่มีการผิดนัดชำระ และค้างชำระหนี้เกินกว่า 4 ปี 5 งวด (1,460 วันขึ้นไป) หรือมีหนี้ค้างชำระ แต่หมดระยะเวลาที่กำหนดแแล้ว หรือกรณีที่ผู้กู้ยืม กยศ. กลุ่มไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี

ตรวจสอบหนี้ กยศ. ทำง่าย ผ่านออนไลน์

วิธีการตรวจสอบหนี้ยอดหนี้ กยศ. ผ่านทางออนไลน์ สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ทั้งทางเว็บไซต์ เพียงกรอกบัตรประจำตัวประชาชนและรหัสผ่าน หรือเช็กผ่านมือถือด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “กยศ Connect” (iOS และ Android)

วันครบกำหนดชำระหนี้ หลังเรียนจบ

สำหรับนักศึกษาจบใหม่ กยศ. มีระยะปลอดหนี้ 2 ปี หมายความว่าระยะ 2 ปีนี้จะไม่ต้องชำระหนี้ใด ๆ โดย กยศ. จะแจ้งยอดการชำระหนี้ครั้งแรกในปีที่ 3 หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ โดยมีกำหนดให้ชำระคืน ไม่เกินวันที่ 5 กรกฎาคม ของทุกปี ทั้งนี้ผู้กู้ต้องคืนกองทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้

ส่วนใครอยากโปะหนี้ก่อนครบกำหนด สามารถชำระเงินให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาปลอดหนี้ก็ได้ โดยวิธีนี้จะไม่เสียดอกเบี้ย

แต่หากถึงกำหนดชำระหนี้แล้วแต่ยังไม่มีงานทำ จะขอผ่อนผันไปก่อนได้ ตามเงื่อนไข ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีเงินเดือนไม่เกิน 8,008 บาท ประสบอุบัติเหตุร้ายแรง หรือมีภาระต้องดูแลคนแก่ คนพิการในครอบครัว

ภาพจาก : www.studentloan.or.th

แนะนำ 5 ช่องทางชำระหนี้ กยศ.

ช่องทางและวิธีการชำระหนี้ กยศ.สำหรับผู้กู้สถานะปกติ มีหลากหลายช่องทางที่สะดวกและรวดเร็ว ทั้งจ่ายผ่านธนาคาร คิวอาร์โค้ด เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือหักจากเงินเดือน ดังนี้

1. ธนาคารกรุงไทย

  • หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  • หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
  • ตู้ ATM
  • อินเทอร์เน็ต www.ktbnetbank.com
  • แอปพลิเคชัน Krungthai Next และ เป๋าตัง

2. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

  • หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  • หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
  • ตู้ATM
  • ช่องทางและวิธีชำระหนี้ กยศ
ภาพจาก : www.studentloan.or.th

3. ชำระด้วย QR Code ผ่าน Mobile Banking

ภาพจาก : www.studentloan.or.th

4. ชำระหนี้ผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่น อีเลฟเว่น บิ๊กซี

ภาพจาก : www.studentloan.or.th

5. ชำระหนี้โดยหักจากเงินเดือน ภายใต้องค์กรรัฐและเอกชน

ภาพจาก : www.studentloan.or.th

อ้างอิงข้อมูลจาก : studentloan, กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

Peangaor

นักเขียนประจำ Thaiger จบการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มศว เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาชี้แจงแตกประเด็นในรูปแบบย่อยง่ายเหมือนเพื่อนเล่าให้ฟัง รวมถึงเรื่อง Pop culture ซีรีส์ อาหาร และเทรนด์แฟชั่นที่กำลังอินเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ preme@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button