ข่าว

พ่อแม่ฟัง อาจารย์เจษฎ์ แจง ดราม่าเด็กเขียนลายมือหวัด ๆ ส่งครู อาจเสี่ยงโรค LD

อาจารย์เจษฎ์ ไขคำตอบ ดราม่านักเรียนเขียนการบ้านส่งครู ด้วยลายมือสุดทน ชี้เด็กอาจเป็นโรค LD หรือโรคทางระบบประสาทของเด็กพัฒนาการมีปัญหา ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของสมอง

ประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ถึงคุณภาพการศึกษาไทย หลังจากมีภาพเด็กนักเรียนทำการบ้านส่งคุณครู ด้วยลายมือที่แทบจะอ่านไม่ออก จนต่อมาเกิดดราม่าลากยาวมีการยกประเด็นเรื่องการไม่ให้ตกซ้ำชั้นมาถกเถียงกันด้วยว่าเป็นสาเหตุหนึ่งหรือไม่นั้น

Advertisements

ล่าสุด รศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้ตั้งข้อสังเกตพฤติกรรมดังกล่าวของนักเรียนที่กำลังวิพากวิจารณ์กันอยู่นี้ ส่วนหนึ่งเด็กกลุ่มนี้อาจจะเป็นโรคภาวะการเรียนรู้บกพร่องหรือ โรคแอลดี (LD)

ลายมือเด็กนักเรียน ปี 2559
แฟ้มภาพ

เนื้อหาที่ได้อธิบายไว้ในเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ระบุว่า “ถ้าคุณครูเจอเด็กเขียนหนังสือไม่ได้ ใจเย็นๆ ครับ เด็กอาจจะเป็นโรค LD ”

ช่วงนี้มีการแชร์ภาพลายมือของนักเรียนที่เขียนการบ้านส่งคุณครู ซึ่งลายมือเขียนไม่สวยเอามากๆ ระดับที่อ่านแทบไม่ออกเลย และสร้างความลำบากใจ ท้อใจให้คุณครูที่สอนเป็นอย่างมาก … เป็นปัญหาให้น่ากังวลกันถึงเรื่องคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย และมีการยกประเด็นเรื่อง “การไม่ให้ตกซ้ำชั้น” มาถกเถียงกันด้วย ว่าเป็นสาเหตุหนึ่งหรือไม่
อย่างไรก็ตาม เวลาที่คุณครู หรือคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง

รวมไปถึงเพื่อนๆ นักเรียนร่วมชั้น เจอเด็กคนไหนที่เขียนหนังสือหรืออ่านหนังสือไม่ได้ เช่น เขียนผิดๆ ถูกๆ ลายมือแย่ อ่านหนังสือตะกุกตะกัก หรืออ่านข้ามคำข้ามประโยคยากๆ ไป ทั้งที่พูดคุยกันก็รู้เรื่อง เข้าใจได้ทุกอย่าง ตอบโต้ได้ดี .. เด็กคนนั้น อาจจะกำลังป่วยเป็นโรค LD หรือ learning disorder (โรคการเรียนรู้บกพร่อง) ก็ได้ครับ

อาจารย์เจษฎ์วันนี้ ดราม่าลายมือนักเรียน
แฟ้มภาพ @OhISeebyAjarnJess

ตัวอย่างในรูปประกอบด้านล่างนี้ มาจากข่าวเมื่อปี 2559 ที่คนแชร์รูปลายมือเด็กไปวิพากษ์วิจารณ์กัน และสุดท้ายพบว่า จริงๆ แล้ว เด็กเป็นโรค LD (ดูข่าวด้านล่าง)

Advertisements

เมื่อก่อนโน้น ผมก็ไม่เคยรู้จักโรค LD นี้เหมือนกัน แต่จนเมื่อผมได้เคยเป็นพิธีกรรายการ “สามัญชนคนไทย” ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อหลายปีก่อน เลยทำให้ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ครอบครัวและคุณครู ของเด็ก ๆ ที่ประสบกับปัญหานี้อยู่ ก็ได้เรียนรู้ว่าโรคนี้มีอยู่จริง (และมีคนเป็นเยอะด้วย) แต่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ เพียงแต่ต้องใช้ความอดทนสูงมากจากทุกฝ่าย

ลายมือนักเรียน ส่งการบ้านครู 2567

โรค LD (Learning Disabilities) คืออะไร ?

โรค LD (Learning Disabilities) คือ ความบกพร่องในการเรียนรู้ ในเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดเหนือกว่าเด็กอื่น แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆ ด้าน ช้ากว่าเพื่อนที่มีอายุเท่ากัน ทั้งๆ ที่เพื่อนอาจมีสติปัญญาเท่ากันหรือต่ำกว่า

การบกพร่องในการเรียนรู้ มิได้เกิดจากความเกียจคร้าน , การขาดเรียน , มีความพิการ หรือปัญหาทางอารมณ์ ซึ่งโรคนี้พบในเด็กวัยเรียนได้ถึง 7%

เด็กนักเรีนซ้ำชั้นได้หรือไม่
ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา

อาการที่แสดงถึงการเป็นโรค LD อาจมีข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อร่วมกัน ดังนี้

  • ปัญหาในการอ่าน เช่น อ่านผิด ตกหล่น อ่านข้ามคำ เพิ่มคำ สลับพยัญชนะ ผสมคำ แยกคำอ่านไม่ได้ อ่านไม่ได้ใจความจนถึงขั้นอ่านไม่ออกเลย
  • ปัญหาในการเขียน เช่น เขียนตัวหนังสือกลับหลัง เขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกที่ หรือ เขียนคำสลับตำแหน่งกัน ทำให้เขียนช้าและไม่ชอบเขียน
  • ปัญหาในการคำนวณ เช่น เขียนตัวเลขผิด ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขหลักต่างๆ ไม่เข้าใจเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ ตีโจทย์ปัญหาไม่ได้ ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณตัวเลข
  • ปัญหาในการคิด เช่น ไม่สามารถลำดับเหตุการณ์ สับสนในการทำตามคำสั่ง การให้เหตุผลไม่ดีพอ เรียนแล้วก็ลืม

เด็กที่เป็น LD อาจจะส่งผลทำให้คิดว่าตนเองเรียนไม่เก่ง มีปมด้อย มีอารมณ์เศร้า บางครั้งเมื่อถูกบังคับให้ทำงานซ้ำๆ หรือเรียนพิเศษ ก็จะต่อต้านการเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน เด็กมักพูดจาฉลาดโต้ตอบได้ดี แต่พอให้อ่าน เขียน คำนวณ กลับทำได้ไม่ดี ทำให้ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ ดุว่าเป็นเด็กขี้เกียจ ดื้อ เกเร

ข่าวครูนักเรียนวันนี้
แฟ้มภาพ

ถ้าพบเด็กที่อาจจะเป็นโรค LD สามารถพาไปพบคุณหมอ ให้ซักประวัติอย่างละเอียดจากผู้ปกครอง มีแบบสอบถามให้คุณครูตอบ มีการวัดระดับเชาว์ปัญญา วัดความสามารถทางการเรียนด้านต่างๆ ตรวจร่างกายและทดสอบทางจิตวิทยา และผลสัมฤทธิ์ในการเรียน ให้ความรู้ความเข้าใจ ช่วยเหลือเด็กและครอบครัวทางด้านจิตใจ ช่วยทางด้านการเรียนโดยครูการศึกษาพิเศ

ถ้าเด็กมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น สมาธิสั้น ซึมเศร้า คงต้องให้กินยา การบำบัดทางเลือกอื่นๆ เช่น ศิลปะบำบัด การกระตุ้นระบบประสาทและความรู้สึก

ในด้านการศึกษา เด็กที่เป็นโรค LD ควรจะต้องได้รับความช่วยเหลือ ได้รับการวางแผนการเรียนเป็นรายบุคคล (Individualized Educational Program, IEP) เพื่อปรับหลักสูตรการเรียนและวิธีการประเมินให้เหมาะสม เช่น เน้นการฟัง การเห็น การลงมือทำ หรือใช้เครื่องมือช่วยในการเรียนรู้ เช่น วิดีโอ คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเรียนได้ในโรงเรียนปกติ

ภาพและข้อมูลจาก เพจโรงพยาบาลมนารมย์

ลายมือนักเรียน 2024
ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา

ป.ล. ดูคลิปวิดีโออันนี้ ก็อธิบายได้เข้าใจง่ายดีครับ รายการพบหมอรามา | Rama Update สุดยอดลายมือเด็ก แท้จริงแล้วป่วยโรค LD | 10 มิ.ย. 59

ข้อมูลเด็กที่เป็นโรค ld
ภาพ @manarom.com

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button