ข่าว

สรุปดราม่า พื้นที่ทับซ้อน “เกาะกูด” ปมสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125

เปิดข้อตกลงเขตแดน สยาม-ฝรั่งเศส ในสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 ชี้ เกาะกูดเป็นของไทยตั้งแต่แรก ถือว่าเป็นคนขายชาติ ด้าน รมว.กลาโหม ชี้ หน้าที่เจรจารเป็นของกระทรวงการต่างประเทศ

จากกรณี ดราม่าพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ที่เกิดข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล หลังจากที่ประเทศกัมพูชาอ้างสิทธิในพลังงานแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบริเวณดังกล่าวเป็นเวลาหลายสิบปี และไม่มีท่าทีจะตกลงกันได้เสียที

Advertisements

ล่าสุด นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้หยิบยกหลักฐานสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 ที่สยามยอมยกพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองด่านซ้าย และจังหวัดตราด ที่ระบุข้อความอย่างชัดเจนว่า “เกาะกูดเป็นดินแดนของประเทศไทย กัมพูชาไม่มีสิทธิทางทะเลเหนือเกาะกูดได้”

ดราม่าพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด

สำหรับสนธิสัญญาที่รัฐบาลไทย ได้ทำกับฝรั่งเศส ในการตกลงแบ่งพื้นที่กันใหม่ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ร.ศ.125 (พ.ศ.2450) มีใจความสำคัญว่า

1. รัฐบาลสยาม ยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ ให้กับกรุงฝรั่งเศส

2. รัฐบาลฝรั่งเศส ยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราดกับเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้น ให้กรุงสยาม กัมพูชาไม่มีสิทธิในพื้นที่ รวมถึงเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเล ที่เขียนมาเองในสมัยนายพลลอนนอล ของกัมพูชา เมื่อ พ.ศ. 2515 ก็ไม่สามารถนำมาอ้างสิทธิในดินแดนข้างต้นได้

Advertisements

จากข้อตกลงในสนธิสัญญาดังกล่าว ทำให้ผู้แทนรัฐบาลของไทย ไม่มีสิทธิไปเจรจาทำข้อตกลงทั้งในทางเปิดเผยและในทางลับ จัดแบ่งปันผลประโยชน์อันมิชอบ ในแหล่งพลังงานน้ำมันและก๊าซ ในพื้นที่ที่กัมพูชาอ้างเป็นพื้นที่ทับซ้อนใด ๆ ได้ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมิได้เป็นพื้นที่ทับซ้อนดังที่กัมพูชากล่าวอ้าง หากแต่เป็นพื้นที่ของประเทศไทยตั้งแต่แรก

ดังนั้น หากผู้ใดแอบอ้างเป็นตัวแทนรัฐบาลไทย ไปเจรจาเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์แหล่งพลังงานในอ่าวไทย ที่มีเกาะกูดเป็นเส้นแบ่งเขตแดนตั้งแต่แบ่งพื้นที่ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงยอมเสียดินแดน 3 เมือง เพื่อแลกจังหวัดตราดคืนมา และมีข้อตกลงอย่างชัดเจน ที่ปลายสุดเขตแดนที่เกาะกูด ตั้งแต่ พ.ศ.2450 ผู้นั้นย่อมถูกเรียกได้ว่า “คนขายชาติ” ครับ

ดราม่าพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด 4

ด้าน นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า ความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อแบ่งผลประโยชน์พื้นที่ทับซ้อนของไทยและกัมพูชานั้น ทางกระทรวงกลาโหมไม่ใช่ฝ่ายเจรจา และอยู่ในคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) รวมถึงจะรักษาแนวเขตนั้นให้ ส่วนการเจรจานั้นเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมยอมรับว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จะพูดอะไรต้องระมัดระวัง และไม่อยากให้กระทบต่อความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ

สรุปแล้ว ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลของเกาะกูด ระหว่างไทยและกัมพูชาในตอนนี้ ต้องรอทางกระทรวงการต่างประเทศของไทย ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ เนื่องจากเรื่องเขตแดนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จะใช้วิธีการใดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Best Writer

นักเขียนบทความประจำ Thaiger จบการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มีความเชียวชาญด้านวงการเพลงไทย ภาพยนตร์ อนิเมะ ชื่นชมติดตามข่าวสารสังคม กีฬา เทคโนโลยี แตกประเด็น สรุปเรื่องราวมาร้อยเรียงผ่านข้อความสู่สายตาผู้อ่าน ช่องทางติดต่อ best.t@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button