สรุปไทม์ไลน์ “คดีบ้านอากู๋” ปมแย่งกรรมสิทธิ์ ทำเพื่อนบ้าน ผูกคอเสียชีวิต
สรุปไทม์ไลน์ “คดีบ้านอากู๋” จบแบบไม่มีใครชนะ เพื่อนบ้านผูกคอตาย สร้างความเศร้าโศก สะท้อนความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม
เผยเรื่องราวจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง คดีบ้านอากู๋ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2534 “อากู๋” ได้ซื้อบ้านหลังนี้เมื่อยี่สิบปีก่อน แล้วไม่ได้เข้าอยู่อาศัย ต่อมาเพื่อนบ้านได้เข้ามาทำความสะอาด ตัดต้นไม้ เก็บขยะ และทำอะไรต่อมิอะไร โดยที่เจ้าของบ้านไม่รู้เรื่อง หลังจากที่เพื่อนบ้านเห็นว่า บ้านอากู๋เจอน้ำท่วมใหญ่ จากนั้นจึงเริ่มใช้พื้นที่บ้านของอากู๋ เชื่อมกับออฟฟิศที่อยู่ข้างๆ กัน โดยทำเป็นที่จอดรถและโรงเก็บของ
ย้อนไทม์ไลน์ “คดีบ้านอากู๋” ฟ้องบุกรุก ครอบครองปรปักษ์
ในเดือน สิงหาคม 2566 อากู๋ มอบบ้านให้หลาน ซันและอาย หลานเข้าไปที่บ้าน พบว่าถูกเพื่อนบ้านบุกเข้าอยู่ และในเดือนกันยายนปีเดียวกัน หลานอากู๋ ไปล็อกบ้าน เพื่อนบ้านย้ายเข้ามาอยู่อีกรอบ หลานแจ้งความดำเนินคดีข้อหาบุกรุก
จากนั้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เพื่อนบ้านอีกคน (คนละคนกับรอบแรก) ได้ยื่นฟ้องครอบครองปรปักษ์ บุกเข้าไปในบ้าน ขนของเข้าไป ติดป้ายร้านไก่ทอด และป้ายระบุว่าตนมีกรรมสิทธิ์ ระบุว่า
“บ้านหลังนี้ข้าพเจ้าได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมาย บุคคลใดเข้ามากระทำการใด ๆ ในบ้านและที่ดินและบ้านหลังนี้ ถือว่ามีความผิดฐานบุกรุก จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน” พร้อมลงชื่อ-นามสกุล ตนเองต่อท้าย”
เมื่อเรื่องยังไม่สามารถจบลงง่าย ๆ ส่งผลให้ในวันที่ 6 มกราคม 2567 หลานอากู๋ได้รับหมายศาล ไปที่บ้าน เจอสภาพดังกล่าว เข้าไปในบ้าน ขนของออก ติดป้ายห้ามบุกรุก ฟ้องขับไล่ และแจ้งความข้อหาบุกรุก ภายหลังในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ตำรวจควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 5 จากคดีแรก ส่งสำนวนให้อัยการ
กระทั่งเมื่อวันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 คู่กรณี นางสาวภานุมาศ เพื่อนบ้าน ผู้บุกรุกอ้างครอบครองปรปักษ์ บ้านของอากู๋ คุณซัน ผูกคอตายเสียชีวิตในเวลาต่อมา
บทสรุปคดีบ้านอากู๋
อย่างไรก็ตาม คดีบ้านของอากู๋เป็นตัวอย่างของปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับที่ดิน สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนของกฎหมายที่ดิน กระบวนการยุติธรรมที่ล่าช้า และความทุกข์ทรมานของผู้เสียหาย ดังนั้น ประชาชนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายที่ดิน การเจรจาและไกล่เกลี่ยเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง