3 แนวทาง คำวินิจฉัยศาลฯ ตัดสิน ‘พิธา’ คดีล้มล้างการปกครอง ก่อนรู้ผลบ่าย 2 โมงวันนี้
เปิด 3 แนวทาง ก่อนศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยคดี พิธาและพรรคก้าวไกล ล้มล้างการปกครอง บ่าย 2 โมงวันนี้ จะเข้าข่ายหรือยกคำร้อง ถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่ ต้องวิเคราะห์
จากกรณี ที่ในเวลา 14.00 น. ของวันนี้ (31 ม.ค.2567) ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีการนัดฟังคำวินิจฉัยคดีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยว่า การกระทำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และพรรคก้าวไกล ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่
จากเนื้อหาคำร้อง ส่งผลให้มีการจับตาแนวทางที่ศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัย โดยแบ่งเป็น 3 แนวทาง
แนวทางแรก ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีคำสั่ง “ยกคำร้อง” โดยเห็นว่า ไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่ง การกระทำของพรรคก้าวไกลในการเสนอแก้กฎหมายมาตรา 112 ไม่เป็นการกระทำที่เข้าข่าย “ปฏิปักษ์” หรือ “ล้มล้างการปกครอง” ในระบอบประชาธิปไตย
ผลที่ตามมาในแนวทางนี้ จะให้บรรดาพรรคการเมืองอื่น ๆ สามารถเสนอแก้ไขมาตรา 112 ได้ และยังสามารถใช้เป็นนโยบายหาเสียงในการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย
แนวทางที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า “ล้มล้าง” การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสั่งให้เลิกการกระทำการดังกล่าว รวมถึงให้เลิกการกระทำเดียวกันที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
ส่วนแนวทางที่ 3 หรือ “แนวทางสุดท้าย” ศาลฯ วินิจฉัยว่า เข้าข่าย “ล้มล้าง” การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสั่งให้ยุบพรรค
2 ข้อสังเกต ก่อนชี้ชะตา “พิธา-พรรคก้าวไกล” บ่าย 2 โมงวันนี้
ทั้งนี้ นอกจาก 3 แนวทางที่คาดว่าจะเกิดขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแล้ว สาระสำคัญที่มีการออกมาตั้งข้อสังเกตก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งชี้ชะตา พิธาและพรรคก้าวไกล ในช่วงเวลา 14.00 น. ของวันนี้ (30 ม.ค.67)
ข้อสังเกตแรก การหาเสียงโดยใช้มาตรา 112 เข้าข่ายล้มล้างการปคกรองหรือไม่ ? ประเด็นนี้ สืบเนื่องจากทุกนโยบายทุกการหาเสียงของบรรดาพรรคการเมืองนั้น ตามข้อบังคับจะต้องผ่านความเห็นชอบและได้รับการรับรองจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ “กกต.” ซึ่งหากศาลเห็นวาเป็นการล้มล้างการปครอง มุมนี้ “กกต.” ก็จะโดนข้อหาล้มล้างหารปกครองด้วยเช่นกัน
ข้อ 2 แค่หาเสียง ไปล้มล้างตอนไหน ? และหาเสียงโดยการบอกว่าแก้กฎหมายอะไรบ้าง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกระบวนการ เพราะโดยพื้นฐานการพัฒนาหรือเปลี่นแปลงประเทศนั้น ต้องผ่านการแก้กฏหมายทั้งสิ้น
ทั้งหมดนี้ จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลและความน่าจะเป็นถึง ฉากทัศน์ ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นในวันนี้ ที่ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร โฉมหน้าตลอดจนทิศทางการเมืองของประเทศไทยจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปทันที.
- พิธา รับยังห่วง 31 ม.ค. ต้องลุ้นศาลวินิจฉัย ปมล้มล้างการปกครองอย่างไร
- เปิดชะตากรรม สส.ก้าวไกล ถ้าถูกยุบพรรค ไปไหนต่อ แพแตกครั้งใหญ่
- พิธา เผย ตอนนี้ยังไม่มีแผนแก้ ม.112 ต้องรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ