ข่าว

เพิ่งรู้ “ประตูท่าแพ” เชียงใหม่ อายุเพียง 38 ปี ไม่ได้เก่า 700 ปี เฉลยสาเหตุที่เป็นเช่นนี้

ความจริงของ “ประตูท่าแพ” จังหวัดเชียงใหม่ ชาวเน็ตโพสต์ภาพเฉลยที่มาประตูท่าแพ แท้จริงมีอายุเพียง 38 ปี เพราะสร้างใหม่ทั้งหมด ไม่ได้เก่าแก่ 700 ปี อย่างที่เข้าใจกัน แต่เป็นการสร้างทับของเก่าที่เกินกว่าบูรณะ เปิดพิกัดประตูท่าแพดั้งเดิม

“ประตูท่าแพ” และ “ข่วงประตูท่าแพ” แลนด์มาร์กสุดฮิตของจังหวัดเชียงใหม่ที่ไม่ว่าจะชาวพื้นที่หรือนักท่องเที่ยวต่างก็แห่แหนมาเที่ยวชมความงดงามของโบราณสถานแห่งนี้ จนได้รับการขนานนามว่าเป็นจุดท่องเที่ยวที่สำคัญที่มีความเก่าแก่ ควรค่าแก่การมาชมสักครั้งในชีวิต

Advertisements

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 เพจเฟซบุ๊ก เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น โพสต์ภาพเล่าอดีตของประตูท่าแพ ณ เชียงใหม่ เมื่อราว ๆ 38 ปีก่อน ภาพดังกล่าวได้เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของประตูท่าแพก่อนสร้าง และหลังสร้าง ที่แต่เดิมเป็นเพียงถนนโล่งๆ ธรรมดา ๆ จากนั้นจึงได้ก่ออิฐสร้างขึ้นมาเป็นประตูท่าแพที่อิฐแดงอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน

“โครงการก่อสร้าง ลาน #ประตูท่าแพ เชียงใหม่ #เมื่อ38ปีก่อน โดยยกเลิกสี่แยกไฟแดง ทุบกำแพงจำลองเก่า สร้างประตู และกำแพงขึ้นมาใหม่ ตามแบบภาพถ่ายโบราณร้อยปีก่อน การก่อสร้างเริ่มวันที่ 29 มกราคม 2529 ด้วยงบประมาณ 2 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับ ปัจจุบัน 2567 ที่กลายเป็นแลนด์มาร์คจุดเช็คอินยอดนิยมกลางเมือง ภาพนี้ถ่ายโดยคุณบวร ชุติมา”

ความจริงชวนอึ้ง ประตูท่าแพมีอายุเพียง 38 ปี ไม่ใช่โบราณสถานเก่าแก่
ภาพจาก : เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น

หลังจากที่ชาวเน็ตได้ทราบความจริงเช่นนั้นต่างก็พากันตกอกตกใจไม่น้อย เพราะเรื่องราวของประตูท่าแพที่ได้รับรู้วันนี้ ไม่เหมือนกับที่เคยคิด บางคนเข้าใจผิดคิดมาตลอดว่ากำแพงนี้เป็นอันเดียวกับโบราณสถานเก่าแก่อายุ 700 ปี

ในขณะนั้นเดียวกัน เพจเฟซบุ๊ก นางงามนะคะ ก็ได้โพสต์ภาพประตูท่าแพ ภาพเดียวกันกับเพจเฟซบุ๊กเชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น พร้อมอธิบายขยายความเข้าใจเกี่ยวกับภาพประตูท่าแพ และยืนยันว่าประตูท่าแพมีอายุเพียง 38 ปีจริง เหตุที่อายุน้อยเป็นเพราะกำแพงเดิมชำรุดอย่างหนักจนไม่สามารถบูรณะได้จึงต้องมีการสร้างขึ้นใหม่ ทับของเก่า

ความจริงชวนอึ้ง ประตูท่าแพมีอายุเพียง 38 ปี ไม่ใช่โบราณสถานเก่าแก่
ภาพจาก : เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น

ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับประตูท่าแพค่ะ คือ ทึ่เราเห็นทุกวันนี้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ก็จริง แต่ถูกสร้างขึ้นบนรากฐานของกำแพงเดิมที่ถูกสร้างไว้ก่อน แต่ชำรุดผุพังจนไม่สามารถบูรณะจะของเก่าได้ค่ะ เลยสร้างใหม่ทับของเก่า ซึ่งเป็นวิธีการปกติค่ะ ที่แอดมินโพสต์ว่าดับฝัน เพราะความเข้าใจเราคือ เป็นของเก่าแล้วมาบูรณะเพิ่ม ไม่ทราบมาก่อนว่า เป็นการก่อสร้างมาใหม่ในปี 2528-2529 ประตูท่าแพ ก็ยังคงทรงคุณค่าเหมือนเคยค่ะ

Advertisements

ขออภัยไปยังทุกท่านที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเชียงใหม่ทุกท่านที่ดิชั้นสื่อสารคลาดเคลื่อนเอง จนสร้าง
ความเข้าใจที่ผิดพลาด สงกรานต์นี้จองโรงแรมเรียบร้อยค่ะ เจอกันที่ประตูท่าแพ”

ทั้งนี้ ประตูท่าแพที่นักท่องเที่ยวต่างพากันไปท่องเที่ยวจึงเป็นประตูท่าแพที่มีอายุเพียง 38 ปี จากการสร้างขึ้นใหม่บนพื้นที่แห่งเดิม

ความเป็นมาและความเก่าแก่ของ “ประตูท่าแพ”

สำหรับประวัติความเป็นมาของ “กำแพงเมืองเชียงใหม่” หรือที่หลาย ๆ คนเรียกกันว่า ประตูท่าแพ ทางเพจเฟซบุ๊ก เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น ก็ได้เข้ามาอธิบายไว้เพิ่มเติมใต้โพสต์ความว่า

หากอ้างอิงจากรูปถ่ายเดิมที่ถ่ายตั้งแต่ปี พ.ศ.2463 (ค.ศ.1910) ประตูท่าแพที่เห็นกันนั้นเป็นการจำลองกำแพงเมืองเดิมที่มี 2 ชั้น และหากจะดูจากแผนที่นครเชียงใหม่เก่า สมัยพระเข้าอิทวิชยานนท์ พ.ศ.2436 ที่วาดโดยกรมแผนที่ จะเห็นได้ว่าประตูท่าแพมี 2 ชั้น และตรงประตูเข้าเมืองก็ไม่ได้ตรงกับกำแพงเมืองเช่นที่เห็นในประตูท่าแพปัจจุบัน

ความจริงชวนอึ้ง ประตูท่าแพมีอายุเพียง 38 ปี ไม่ใช่โบราณสถานเก่าแก่
ภาพจาก : เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น

เมื่อย้อนไปประมาณปีพ.ศ. 2460 เมืองเชียงใหม่โบราณจะมีกำแพงเมืองก่ออิฐ ป้อม ประตูเมืองชั้นในทั้งหมด 5 ประตู และหลังจากที่สังคมเจริญก้าวหน้า บ้านเมืองขยายใหญ่ขึ้น ทางกระทรวงธรรมการในสมัยนั้นจึงได้รื้อถอนและประมูลขายอิฐออกไป เพื่อขยายถนน เหลือไว้เพียงแจ่ง 4 แจ่งและประตูเมือง

ความจริงชวนอึ้ง ประตูท่าแพมีอายุเพียง 38 ปี ไม่ใช่โบราณสถานเก่าแก่
ภาพจาก : เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น

ในปี พ.ศ.2490 เทศบาลเมืองเชียงใหม่ได้มีการสร้างประตูเมืองใหม่ขึ้นจนกลายเป็นประตูเมือง 4 ประตูดังเช่นในทุกวันนี้ ยกเว้นประตูท่าแพ สรุปแล้วประตูเมืองเชียงใหม่ที่ปรากฏล้วนแต่เป็นสิ่งก่อสร้างใหม่ ไม่ใช่โบราณสถาน

ทั้งนี้ ประตูท่าแพเดิมจะอยู่แถววัดแสนฝาง และปัจจุบันวัดแสนฝางนั้นก็ยังอยู่ที่เดิม ส่วนที่เป็นถนนที่ปรากฏอยู่ในภาพถ่าย ปัจจุบันคือถนนกำแพงดิน ส่วนประตูท่าแพชั้นในน่าจะอยู่บริเวณบริษัทเจริญศิลป์ จำกัด และบริเวณประตูท่าแพชั้นนอก ต้นแบบของประตูท่าแพในปัจจุบัน น่าจะอยูบริเวณโรงแรมท่าแพอินน์ และวิมลท่าแพ บริเวณใกล้ ๆ สะพานแม่ข่า

ความจริงชวนอึ้ง ประตูท่าแพมีอายุเพียง 38 ปี ไม่ใช่โบราณสถานเก่าแก่
ภาพจาก : เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Danita S.

นักเขียนบทความไลฟ์สไตล์ บันเทิง ประจำ Thaiger ติดตามทุกกระแส K-Pop และเท่าทันทุกเรื่องราวความบันเทิง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 3 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ช่องทางติดต่อ bell@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button