ศาลเจ้าในกรุงเทพ ไหว้พระ เสริมดวงเฮง ต้อนรับตรุษจีน 2567
เปิดพิกัด 10 ศาลเจ้าในกรุงเทพฯ ต้อนรับเทศกาลตรุษจีน 2567 มัดรวมสถานที่ของพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยอดนิยมของชาวกรุง ที่ทั้งวัดสวย และเดินทางง่าย ถูกใจสายมูเจนใหม่
วนเวียนมาอีกครั้ง สำหรับเทศกาลสุดยิ่งใหญ่แห่งปีของชาวไทย “ตรุษจีน” ซึ่งในปี 2567 นี้ จะตรงกับวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ และแน่นอนว่าบรรดาคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนทั้งหลายก็จะมีการพบปะรวมญาติ ร่วมกันไหว้บรรพบุรุษ รวมถึงเดินทางกราบไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ
การกราบไหว้ขอพรพระเป็นประเพณีที่ชาวจีนปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา เหตุเพราะมีความเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรที่เป็นมงคลให้แก่ชีวิต ซึ่งสถานที่ที่ชาวจีนมักจะเดินทางไปกราบไหว้ขอพรกันนั่นก็คือ ศาลเจ้า โดยในปีนี้ก็นับว่าเป็นโชคดีที่วันตรุษจีนตรงกับวันหยุดสุดสัปดาห์ บรรดาสายมูทั้งหลายจึงสามารถเดินทางไปไหว้พระขอพรกันได้ยาว ๆ ตลอดทั้งวัน
วันนี้ทาง Thaiger จึงได้รวบรวมพิกัด ศาลเจ้าในกรุงเทพมหานคร มาให้ผู้อ่านทุกท่าน ซึ่งทั้งเดินทางสะดวก วัดสวย และที่สำคัญคือ ศักดิ์สิทธิ์มาก! เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้เวลาสั้น ๆ ในช่วงวันหยุดไปกับเทศกาลตรุษจีนได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
1. วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่ 1)
เมื่อกล่าวถึงศาลเจ้าหรือวัดจีน สถานที่ที่ทุกคนจะนึกถึงเป็นแห่งแรกก็คือ “วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่ 1)” เพราะวัดนี้เป็นสถานที่เก่าแก่กว่าที่อยู่คู่กับย่านเยาวราชมาอย่างยาวนานกว่า 100 ปี ทั้งยังเป็นที่เคารพนับถือของชาวจีน ชาวไทยเชื้อสายจีน และนักท่องเที่ยวทั่วโลก
วัดมังกรกมลาวาสถือเป็น 1 ใน 3 วัดมังกร อันเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่ประกอบไปด้วยส่วนหัว ตัว และหาง โดยส่วนหัวของมังกรอยู่ที่วัดแห่งนี้ สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยนิยมมากกราบไหว้กันมากที่สุดก็คือ “เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยะ” “พระโพธิสัตว์กวนอิม” และ “ฮั่วท้อเซียงซือ”
ที่ตั้ง : 423 ถนนเจริญกรุง แขวงป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
เวลาเปิด-ปิด : 08.00-17.00 น.
การเดินทาง
รถไฟฟ้าใต้ดิน : MRT สายสีน้ำเงิน สถานีวัดมังกร ทางออก 3
รถโดยสารประจำทาง : สาย 1, 4, 7, 21, 25, 35, 40, 40A, 49, 53, 73, 85, 507, 529 และ 3-35
2. ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า
“ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า” ศาลเจ้าที่ตั้งอยู่บนถนนเยาวราช อยู่ห่างจากวัดมังกรกมลาวาสมาเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ยอดนิยมของสายมูเช่นกัน เพราะเหตุเพราะเป็นสถานที่เก่าแก่ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ในปี พ.ศ.2445 และเป็นที่ประดิษฐานของเจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ปางประทานพร ที่ได้อันเชิญมาจากประเทศจีนตั้งแต่ในปีพ.ศ. 2501
นอกจากเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แล้ว มูลนิธิเทียนฟ้ายังเป็นมูลนิธิแห่งแรกในประเทศไทย ที่ในอดีตพ่อค้าชาวจีนได้ร่วมกันสบทบทุนเพื่อจัดซื้อที่ดินจำนวน 2 ไร่กว่า ๆ เพื่อก่อตั้งที่นี่ขึ้น สำหรับเป็นสถานที่สงเคราะห์ผู้ป่วยยากไร้ โดยในปัจจุบันก็ได้พัฒนากลายเป็นโรงพยาบาลมูลนิธิเทียนฟ้าที่ให้การรักษาผู้ป่วยด้วยการแพทย์สมัยใหม่และการแพทย์แผนจีน
ที่ตั้ง : ถนนเยาวราช แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ (ตั้งอยู่ริมถนนเยาวราช ตรงข้ามซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ)
เวลาเปิด-ปิด : ตลอดทั้งวัน
การเดินทาง
รถไฟฟ้าใต้ดิน : MRT สายสีน้ำเงิน สถานีวัดมังกร ทางออก 3
รถโดยสารประจำทาง : สาย 1, 4, 7, 35, 40, 40A, 49 และ 73
3. ศาลเจ้ากวนอู
“ศาลเจ้ากวนอู” ศาลเจ้าดั้งเดิมของชาวท้องถิ่นย่านเยาวราช ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้ากวนอูและเทพเจ้าม้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถืออย่างมาก ซึ่งเทพเจ้ากวนอูเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ตามความเชื่อของคนจีน ผู้คนจึงมักจะมไหว้ขอพรในเรื่องหน้าที่การงาน และเทพเจ้าม้าเป็นเทพเจ้าสำหรับการไปขอพรในเรื่องลูก
ที่ตั้ง : ตลาดเก่าเยาวราช ตรอกโรงโดม ถนนเยาวราช ซอยอิสรานุภาพ (เยาวราช 11) กรุงเทพฯ
เวลาเปิด-ปิด : 07.00-17.00 น.
การเดินทาง
รถไฟฟ้าใต้ดิน : MRT สายสีน้ำเงิน สถานีวัดมังกร
รถโดยสารประจำทาง : สาย 1, 4, 7, 35, 40, 40A, 49 และ 73
4. ศาลเจ้าแม่ประดู่
ศาลเจ้าเก่าแก่อีกหนึ่งแห่งในย่านเยาวราช “ศาลเจ้าแม่ประดู่” หรือ ศาลเจ้าเล่าปิงเถ่าม่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับชุมชนตลาดเก่า เยาวราชมากว่า 170 ปี ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับศาลเจ้ากวนอู ซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะกับสายมูที่ต้องการขอพรเรื่องความรักและครอบครัว เพื่อให้สุขสมหวังในเรื่องคู่ครองและมีลูกดี
ที่ตั้ง : 60 ถนนเยาวพานิช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
เวลาเปิด-ปิด : 07.00-17.00 น.
การเดินทาง
รถไฟฟ้าใต้ดิน : MRT สายสีน้ำเงิน สถานีวัดมังกร
รถโดยสารประจำทาง : สาย 1, 4, 7, 35, 40, 40A, 49 และ 73
5. ศาลเจ้ากว๋องสิว
“ศาลเจ้ากว๋องสิว” หรือศาลเจ้ากวางตุ้ง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ที่สร้างขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ 5 โดยชาวจีนกวางตุ้งที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ โดยเป็นการก่อสร้างตามแบบจีนโบราณที่เรียกว่าเป็น “สามเรือนล้อมลาน” เมื่อเข้ามาจากประตูศาลเจ้าจะพบบานประตูไม้สีแดงขนาดใหญ่เขียนตัวอักษรจีนสีทองอ่านว่า “ฟู่” ซึ่งหมายถึงวาสนา
เทพเจ้าที่ประดิษฐานอยูภายในศาลเจ้ามีทั้ง “ซำป้อหุกโจ้ว” และ”พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์” เจ้าแม่กวนอิมปางประทานพรถือยาเม็ดกับน้ำ และด้านขวามีเทพเจ้ากวนอู เทพเจ้าขงจื๊อ เทพเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้และเทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ยะ
ที่ตั้ง : ถนนเจริญกรุง แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
เวลาเปิด-ปิด : 08.00-16.00 น.
การเดินทาง
รถไฟฟ้าใต้ดิน : MRT สายสีน้ำเงิน สถานีวัดมังกร ทางออก 3
รถโดยสารประจำทาง : สาย 1, 4, 7, 21, 25, 35, 40, 40A, 49, 53, 73, 85, 507, 529 และ 3-35
6. ศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากง
“ศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากง” ศาลเจ้าที่ตั้งอยู่บนถนนทรงวาด มีอายุเก่าแก่ยาวนานกว่า 100 ปี เป็นศูนย์รวมศรัทธาของผู้มีเชื้อสายจีนมาตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในศาลเจ้าเป็นสถาปัตยกรรมสกุลช่างแต้จิ๋วแบบซี่เตี้ยมกิม โดยในปัจจุบันได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่เมื่อปีพ.ศ. 2460 ศาลเจ้าแห่งนี้จะแบ่งออกเป็น 4 ห้องใหญ่ ๆ ที่มีองค์เทพต่าง ๆ ตามความเชื่อของชาวจีน
เทพเจ้าเล่าปุนเถ้ากงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองรักษาชุมชนมาตั้งแต่ดั้งเดิมตามความเชื่อของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ ซึ่งผู้คนนิยมไปกราบไหว้ขอพรให้ชีวิตมีความร่มเย็นเป็นสุข และเพื่อขอให้คุ้มครองจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
ที่ตั้ง : 833 ซอยอิศรานุภาพ ถนนทรงวาด เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
เวลาเปิด-ปิด : 07.00-17.00 น.
การเดินทาง
รถไฟฟ้าใต้ดิน : MRT สายสีน้ำเงิน สถานีหัวลำโพง
7. ศาลเจ้าพ่อเสือ
ศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในย่านเสาชิงช้า “ศาลเจ้าพ่อเสือ” หรือทีชาวไทยเชื้อสายจีนนิยมเรียกกันว่า ศาลตั๋วเหล่าเอี้ย หนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของลัทธิเต๋าที่เก่าแก่และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพราะไม่เพียงแต่ชาวไทยเท่านั้นที่นิยมไปขอพรยังที่แห่งนี้ แต่บรรดานักท่องเที่ยวต่างก็เดินทางไปกราบไหว้ด้วยเช่นกัน
สำหรับประวัติการสร้างศาลพ่อเจ้าเสือนั้นมีตำนานเล่าว่า ได้นำกระดูกเสือมาบรรจุในแท่นปั้นรูปประดิษฐาน และอัญเชิญดวงวิญญาณเสือ ขอให้ปกปักรักษาประชาชนให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
นอกจากนั้นศาลเจ้าแห่งนี้มีความเชื่อที่สืบต่อกันมาว่า หากปรารถนาเรื่องการทำงาน การดำเนินธุรกิจ หรืออยากประสบความสำเร็จ ให้เดินทางมากราบไหว้ศาลเจ้าพ่อเสือ เพราะท่านจะช่วยส่งเสริมให้มีอำนาจบารมีและร่ำรวยเงินทอง
ที่ตั้ง : 468 ถนนตะนาว เขตพระนคร กรุงเทพฯ
เวลาเปิด-ปิด : 06.00-17.00 น.
การเดินทาง
รถโดยสารประจำทาง : สาย 42, 59 และ 203
8. ศาลเจ้าจุนเสียงโจซือ
“ศาลเจ้าจุนเสียงโจซือ” ศาลเจ้าเล็ก ๆ ที่ยังคงความดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ที่ตั้งอยู่ในย่านตรอกหัวเม็ด สะพานหัน ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ 4 โดยชาวจีนฮกเกี้ยนที่ได้ผสมผสานศิลปะฉบับจีนฮกเกี้ยเข้ากับศิลปะแบบจีนแต้จิ๋ว
ศาลเจ้ามีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า (ผังกง) ภายในประดิษฐานเทพประธานหลี่ตงปิน หรือ จุนเสียงโจซือ แกะสลักด้วยไม้ เป็นเทพองค์ที่ 3 ใน 8 เซียน ตระกูลโป๊ยเซียนที่ปรากฏอยู่ประวัติของเทพเจ้าในสมัยราชวงศ์ถัง และมีเทพเจ้าลีเซียงซือกง, องค์พระโพธิสัตว์กวนอิม รวมถึงเครื่องสังเค็ดในงานพระบรมศพของรัชกาลที่ 5
ที่ตั้ง : ถนนจักรวรรดิ์ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
เวลาเปิด-ปิด : 07.00-17.00 น.
การเดินทาง
รถไฟฟ้าใต้ดิน : MRT สายสีน้ำเงิน สถานีสามยอด
รถโดยสารประจำทาง : สาย 4, 7, 37 และ 49
9. ศาลเจ้าไต้ฮงกง มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์สุดเลื่องชื่อในย่านพลับพลาไชย ที่ตั้งอยู่ติดกับสถานีตำรวจพลับพลาไชย ซึ่งศาลเจ้าแห่งนี้เป็นประดิษฐานของ “ไต้ฮงโจวซือ” หรือ “ไต้ฮงกง” ผู้ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นนักบุญของผู้ยากไร้และศพไร้ญาติ ซึ่งท่านมีตัวตนอยู่จริงในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ศาลเจ้าแห่งนี้ก่อสร้างขึ้นในระหว่างปีพ.ศ. 2452-2461 ตามแบบสถาปัตยกรรมจีนตอนใต้
ที่ตั้ง : ถนนเจ้าคำรพ แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
เวลาเปิด-ปิด : 06.00-20.00 น.
การเดินทาง
รถไฟฟ้าใต้ดิน : MRT สายสีน้ำเงิน สถานีวัดมังกร ทางออก 3
รถโดยสารประจำทาง : สาย 21, 35, 40, 49, 507 และ 529
10. ศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง
“ศาลเจ้าแม่ทับทิม” ที่ตั้งอยู่นในย่านสะพานเหลือง นับเป็นศาลเจ้าเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ ซึ่งองค์เจ้าแม่ทับทิมที่ประดิษฐานอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้มีอายุเก่าแก่อย่างมาก ก่อสร้างตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงเวลาที่ชาวจีนโพ้นทะเลอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้คนที่มากราบสักการะเจ้าแม่ทับทิมจะมาขอพรกิจการเจริญรุ่งเรือง สำหรับผู้หญิงที่เพิ่งแต่งงานก็จะมาไหว้ขอลูก และที่สำคัญที่สุดคือการไหว้ของาน ขอให้มีงานทำ ขอให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ที่ตั้ง : 325 ซอยจุฬาลงกรณ์ 30 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
เวลาเปิด-ปิด : 08.30-18.30 น.
การเดินทาง
รถไฟฟ้าใต้ดิน : MRT สายสีน้ำเงิน สถานีสามย่าน
รถโดยสารประจำทาง : สาย 21, 29 , 4 , 4-28 , 4-8 , 40 , 50 และ 67
จบลงไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ 10 ศาลเจ้าในกรุงเทพมหานครที่ทั้งเดินทางง่าย และเป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์มากมาย ซึ่งผู้อ่านทุกท่านที่มีแพลนจะไปไหว้เจ้าต้อนรับตรุษจีน 2567 แต่ยังไม่รู้จะไปที่ไหนก็สามารถจัดทริปสายบุญได้จากพิกัดศาลเจ้าที่นำมาฝากในวันนี้ ก่อนจากกันไป Thaiger ก็ขอให้ทุกท่านมีความสุขในวันตรุษจีน และมีแต่ความเฮงตลอดปี
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- จัดโต๊ะไหว้ตรุษจีน 2567 ตั้งของไหว้แบบไหน ใช้ธูปกี่ดอก รวยเฮง ชีวิตปัง
- มีคำตอบ ทำไมวันตรุษจีนแต่ละปีไม่ตรงกัน นับตามปฏิทินสากลหรือเปล่า
- สีต้องห้ามวันตรุษจีน 2567 ใส่แล้วไม่เป็นมงคล ความหมายโชคร้าย
- รวม 11 วัด ไหว้พระวันตรุษจีน 2567 สายมูห้ามพลาด เดินทางง่าย