ประวัติพระพุทธเจ้า จุดเริ่มต้นการ ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ฉบับย่อ
เปิด ประวัติพระพุทธเจ้า หรือ เจ้าชายสิทธัตถะ ตามความเชื่อของคนไทย ที่พระพุทธเจ้า อยู่คู่กับศาสนาพุทธมายาวนาน เป็นบุคคลสำคัญ และจุดเริ่มต้นของหลักธรรมหลาย ๆ อย่าง เช่น อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หรือแม้แต่วันสำคัญอย่าง วันวิสาขบูชานั่นเอง หลักคำสอนที่เกี่ยวกับการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พร้อมรายละเอียดต่าง ๆ เช็กข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ประสูติ
พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า “สิทธัตถะ” เป็นบุตรชายของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา ประสูติในตระกูลกษัตริย์ ในวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ณ สวนลุมพินีวัน เมื่อประสูติแล้วทรงพระดำเนินบนดอกบัว เป็นจำนวน 7 ก้าว
ถึงจะมีการประชุมตั้งพระนามว่า “สิทธัตถะ” แต่คนในอินเดียส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า “พระโคตมะ” หรือ “พระโคดม” หลังจากที่ประสูติได้เพียง 7 วัน พระราชมารดาก็เสด็จสวรรคต แต่เมื่ออายุเพียง 8 ปี ก็สามารถศึกษาศิลปวิทยาได้อย่างรวดเร็ว ครบถ้วน และเมื่ออายุ 16 ปี พระองค์ได้อภิเษกสมรส กับพระนางพิมพา หรือพระนางพิมพายโสธารา จนเมื่ออายุ 29 ปี พระนางพิมพาได้ประสูติลูกชาย มีพระนามว่า “ราหุล”
ตรัสรู้
ในขณะที่อยู่ในปราสาท พระองค์ได้เห็นคนเกิด แก่ เจ็บ ตาย มากมาย ก่อนที่จะออกไปปฏิบัติบำเพ็ญตนในกลางดึก ตัดสินใจออกบวช โดยมีนายฉันนะ และม้ากัณฑกะเดินทางร่วมกัน จากนั้นพระองค์ได้ตัดผมด้วยพระขรรค์ และเปลี่ยนชุด ก่อนจะเดินทางไปยังแคว้นมคธ เพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์
ในช่วงแรกพระองค์ได้ศึกษาธรรมหลายรูปแบบ และบำเพ็ญทุกรกริยา ก่อนจะพบกับทางสายกลาง เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” ซึ่งเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การพ้นทุกข์ได้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เวลารุ่งเช้า ในวันเพ็ญเดือน 6 (เดือนวิสาขะ) ปีระกา ขณะอายุ 35 พรรษา พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ณ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ เมืองพาราณสี โดยพระธรรมที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ปรินิพพาน
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หรือ วันอาสาฬหบูชา พระองค์เสด็จไปแสดงธรรมชื่อว่า “ธัมมะจักกัปปวัตสูตร” แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ซึ่งพระอัญญาโกณฑัญญะ เกิดความเลื่อมใสและขออุปสมบทเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพุทธศาสนา พระองค์แสดงธรรมให้กับสาวก ตลอดระยะเวลา 45 ปี จนกระทั่ง พระองค์ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ และเป็นการเริ่มต้นพุทธศักราช
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- แสงบนพระเศียรพระพุทธเจ้า คืออะไร เปล่งรัศมีตลอดเวลาหรือไม่
- หมอเฉลย ‘พระพุทธเจ้า’ หลังประสูติ เดินได้ 7 ก้าว มีดอกบัวผุด จริงหรือไม่
อ้างอิง : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ