ข่าวข่าวอาชญากรรม

เปิดหน้า-ชื่อ กลุ่มวัยรุ่น คดีฆ่าป้ากบ เพจดังเตือนระวังผิด พ.ร.บ.คอมฯ

เพจดังเตือน โพสต์รูปใบหน้า เยาวชนผู้ต้องหา ชื่อจริง นามสกุลจริง เผยแพร่ลงโซเชียล เพจดังเตือนเสี่ยงโทษหนัก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หลังชาวเน็ตแห่แชร์ภาพ 5 ทรชนในร่างเด็กเกลื่อนโลกออนไลน์

จากกรณีบนโลกโซเชียลต่างพากันแชร์เนื้อหา-ตลอดจนรูปของกลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 13-16 ปีที่ก่อเหตุรุมซ้อมทำร้าย น.ส.บัวผัน หรือ “ป้ากบ” หญิงป่วยจิตเวช อายุ 47 ปี และเป็นคนเร่ร่อน จนเสียชีวิต ในพื้นที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ตามที่มีการเสนอข่าวไปแล้วนั้น

Advertisements

ล่าสุดเฟซุ๊กแหนเพจ Drama-addict ได้ออกมาโพสต์เตือน โดยเป็นการฝากความห่วงใยไปถึงชาวเน็ตและเซียนคียร์บอร์ดทั้งหลายแหล่ให้ระวังให้ดีในการที่จะส่งต้อข้อมูลหรือการลงรูปของผู้ต้องหาที่ยังเป็นเยาวชน เนื่องจากตรงนี้ยังมีข้อกฏหมายที่คุ้มครองเยาชนโดยตรงอยู่ หากใครฝ่าฝืนด้วยการลงรูปของเด็ก ๆ กลุ่มนี้ ไปด้วยความมันมือก็อาจสุ่มเสี่ยงจะถูกดำเนินคดีเอาได้ง่าย ๆ เช่นกัน

ข้อความจากเพจจ่าพิชิต ระบุ “พ่อแม่พี่น้องชาวเน็ทที่เอาภาพและข้อมูลก๊วนลูกตำรวจไปเผยแพร่ ระวังกันด้วย พวกนี้มีกฏหมายคุ้มครองสิทธิเยาวชน โปรดระมัดระวัง”

ข่าววันนี้ คดีป้าบัวผันวัยรุ่นซ้อมทำร้าย
ภาพ Facebook @DramaAdd

ประเด็นนี้ ยังลุกลามไปถึงเพจข่าวชื่อดังอย่าง สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ด้วย หลังจากตรวจสอบในเทรนด์เอ็กซ์ (X.) พบว่ามีแอคเคาต์แอบอ้างใช้ชื่อเดียวกันกับกรรมกรข่าวคนดัง ทำการลงรูปของกลุ่มเยาวชนที่ก่อคดีโหด พร้อมกับมีการะบุ ชื่อ-นามสกุลจริง จนทางเพจสรยุทธ กรรมกรข่าวตัวจริงเสียงจริง ต้องนำเรื่องดังกล่าว ไปชี้แจงด้วยการโพสต์ผ่านบัญชีเฟซบุ๊ก ระบุ “ปลอมลามไปทวิตเตอร์แล้วครับ พวกxxxนี่”

ข่าววันนี้

Advertisements

อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) “กฎหมายสิทธิเด็ก” มีที่มาจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้กำหนดสิทธิพื้นฐานของเด็ก โดยในส่วนของบุคคลทั่วไป กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม คือ

  1. กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
  2. จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิต หรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่อยู่ในความดูแลของตน จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
  3. บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร หรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด
  4. โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการ หรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว
  5. บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทาน หรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก
  6. ใช้ จ้าง หรือวานเด็กให้ทำงาน หรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก
  7. บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬา หรือให้กระทำการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการของเด็ก หรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก
  8. ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใด หรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า
  9. บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด
  10. จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์
  11. ห้ามโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ.

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button